มารู้จัก AICHR (ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights) หรือคณะกรรมาธิการระหว่างอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน นอกจากการก่อตั้งความร่วมมือระดับรัฐบาลในอาเซียนแล้ว ตามกฎบัตรอาเซียนยังมีข้อตกลงในการก่อตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนระดับอาเซียนขึ้นมา โดยจุดประสงค์เพื่อทำงานรณรงค์และคุ้มครองสิทธิมนุษยชนระดับอาเซียน
AICHR ทำงานอย่างไร? มีบทบาทอย่างไร? มารู้จัก AICHR ผ่านการ์ตูนสิทธิมนุษยชนตอนที่ 3 “AICHR คณะกรรมาธิการระหว่างอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน”
#AICHR #PEF #peoplesempowermentfoundation #มูลนิธิศักยภาพชุมชน
อาเซียนนั้นถูกก่อตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อปี 1967 โดยเริ่มก่อตั้งในประเทศไทย ณ วังสราญรมย์ เริ่มก่อตั้งโดยห้าประเทศสมาชิกที่สำคัญ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์และสิงคโปร์
โดยมีจุดประสงค์สำคัญคือการสร้างความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การศึกษาและศาสตร์ต่างๆ รวมถึงการสร้างสันติภาพและความมั่นคง
ในช่วงแรกอาเซียนจะมีการประชุมกันเฉพาะช่วงเวลาที่จำเป็นหรือเวลาที่เกิดข้อขัดแย้งระหว่างกัน ไม่มีการประชุมประจำปีจะเจอกันเป็นครั้งคราวเท่านั้น บทบาทของเซียนในช่วงแรกนี้คือการลดความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลในภูมิภาค
หลังจากอาเซียนเดินทางมาได้กว่า 41 ปี ก็ได้มีการตกลงเขียนรัฐธรรมนูญของอาเซียนขึ้น เรียกว่า “กฎบัตรอาเซียน” (ASEAN Charter) เป็นการกำหนดถึงอำนาจของรัฐในการทำงานระดับอาเซียน สิ่งสำคัญคือทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างรัฐบาล การกำหนดให้มีการประชุมอาเซียนทุกปีในหลายๆระดับ อย่างไรก็ดีปัญหาของอาเซียนคือการไม่มีกลไกรัฐสภาและกลไกศาล
มาตรา 14 ของกฎบัตรอาเซียนมีการกำหนดว่าต้องมีสถาบันสิทธิมนุษยชนระดับภูมิภาค เพื่อทำหน้าที่ให้การรณรงค์และคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในอาเซียน
หลังจากการก่อตั้ง AICHR ขึ้นมาแล้ว ก็ได้มีการกำหนด TOR เพื่อระบุถึงขอบเขตการทำงานของ AICHR อย่างชัดเจน แต่อย่างไรก็ดียังมีปัญหาในการทำงานขับเคลื่อนสิทธิฯหลายอย่าง เช่นการคุ้มครองสิทธิ รวมถึงหากภาคประชาชนจะทำงานกับ AICHR ก็ต้องทำการลงทะเบียนและให้ได้รับการยอมรับจาก AICHR ก่อน ในการที่จะทำงานร่วมกัน AICHR
AICHR คือระบบตัวแทนที่แต่งตั้งโดยรัฐ มาเพื่อทำงานขับเคลื่อนประเด็นสิทธิมนุษยชนในระดับภูมิภาค
ตั้งแต่ก่อตั้ง AICHR ในปี 2009 จนถึงปี 2021 ประเทศไทยมีตัวแทน AICHR มาแล้วทั้งหมด 3 คนใน 5 วาระ ได้แก่ ดร.ศรีประภา เพชรมีศรี (1 วาระ) ดร.เสรี นนทสูติ (2 วาระ) และอาจารย์อมรา พงศาพิชญ์ (2 วาระ)
ในแต่ละประเทศจะมีกระบวนการคัดเลือกที่แตกต่างกันไป ในส่วนของประเทศกระบวนการคัดเลือกตัวแทน AICHR กระทรวงการต่างประเทศจะแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาเพื่อคัดเลือกผู้แทนไทย ประกอบด้วยผู้แทนจากภาครัฐ นักวิชาการ ภาคประชาสังคม และสื่อมวลชน จำนวน 9 คน เพื่อร่วมกันกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ และคัดเลือกผู้แทนไทยฯ
โดยสรุป AICHR นั้นถูกแต่งตั้งตามกฎบัตรของอาเซียนในปี 2008 เป็นกลไกที่แต่ละรัฐบาลในอาเซียนจะแต่งตั้งตัวแทนมาเพื่อทำงานขับเคลื่อนสิทธิมนุษยชน โดย AICHR ยังมีข้อจำกัดในการสร้างกระบวนการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ผลงานส่วนใหญ่จะเป็นการจัดประชุมสัมมนาและการจัดฝึกอบรมเรื่องสิทธิมนุษยชน