มูลนิธิศักยภาพชุมชนประกาศมอบรางวัล “สิทธิมนุษยชนคนธรรมดา” (People’s Human Rights Defenders Award) ประจำปี 2566 แก่ ป้าน้อย ปราณี ด่านวัฒนานุสรณ์ และ แกป ทะลุแก๊ส จิรภาส กอรัมย์ (English Version)

ในโอกาส 47 ปี รําลึกเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 มูลนิธิศักยภาพชุมชนขอเสนอ “รางวัลสิทธิมนุษยชนคน ธรรมดา” เป็นเกียรติเชิดชูให้กับนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน ผู้ซึงอุทิศตนในการต่อสู้ทั้งในด้านการปกป้องสิทธิเสรีภาพของตนเองและคนอื่น ผู้ที่เป็นคนธรรมดาแต่ได้ยืนหยัดต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน โดยไม่ท้อถอย ไม่กลัวความยากลําบาก หนักแน่นในจุดยืนประชาธิปไตยต่อสู้เพื่อสังคมใหม่ที่ดีงาม

โดยรางวัลแรกขอมอบให้กับ

คุณปราณี ด่านวัฒนานุสรณ์ หรือป้าน้อย ภรรยาคู่ชีวิตของสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ นักต่อสู้ประชาธิปไตยผู้ยึดมั่นต่ออุดมการณ์ การปฏิวัติตลอดกาล ระหว่างปี 2516-2519 และภายหลัง 6 ตุลาคม 2519 เข้าป่าจับปืนต่อสู้กับรัฐเผด็จการกว่า 6 ปี ออกจากป่า เป็นตัวแทนหวังเจรจากับฝ่ายรัฐแต่ถูกหักหลังจนถูกคุมขังเป็นนักโทษการเมืองยาวนานถึง 16 ปี ได้รับการปล่อยตัวออกมาเป็น แกนนํากลุ่มคนเสื้อแดงทีต่อสู้กับการรัฐประหารปี 2549 ถูกคุมขังครั้งที 2 อีก 2 ปี ปล่อยตัวออกมาแล้วแต่ก็ต้องลี้ภัยการเมืองที่ประเทศลาวจนถูกบังคับสูญหายไป ป้าน้อยยืนหยัดต่อสู้เคียงข้างกับสุรชัยมาโดยตลอดระหว่างที่ถูกจองจําและระหว่างที่ลี้ภัยการเมือง หรือแม้แต่สุรชัยถูกอุ้มหายไปในปี 2561 ส่งผลกระทบต่อครอบครัวด้วยภาระหนี้สิน ป้าน้อยยืนหยัดต่อสู้ทวงคืนความยุติธรรมให้กับสุรชัย และผู้ลี้ภัยการเมืองที่ถูกอุ้มหายเป็นจํานวน 9 คนด้วยกัน จนมีการออกพรบ.ป้องกันการทรมานและการบังคับสูญหายในที่สุด

และรางวัลที่สองขอมอบให้กับ

คุณจิรภาส กอรัมย์ หรือ(แกป) ชายหนุ่มวัย 28 ปี เลี้ยงชีพด้วยการเปิดร้านขายของ ในขณะที่เป็นนักเรียนอาชีวะที่ราชมงคลเทคนิค กรุงเทพ ได้เข้าร่วมการชุมนุมของคนเสื้อแดงที่ราชมังคลากีฬาสถาน จึงได้เห็นความรุนแรงการเมืองที่รัฐกระทําต่อคนเสื้อแดง ในปี 2563 เมื่อเกิดการชุมนุมใหญ่ของคณะราษฎร เรียกร้องการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ แกปเข้าร่วมการเคลื่อนไหวทุกครั้ง จนกระทั่งรัฐบาลเผด็จการใช้ตํารวจปราบปรามจราจลสลายการชุมนุมอย่างรุนแรงโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การชุมนุมขับไล่รัฐบาลประยุทธ์ ที่สามเหลี่ยมดินแดง ในเดือนกันยายน 2564 ตํารวจใช้ยิงแก๊สน้ำตาและกระสุนยางกระหน่ำยิงใส่ผู้ชุมนุมจนเกิดการบาดเจ็บ โดยที่นักเรียนอาชีวะ เยาวชน ยังคงเข้าร่วมการชุมนุมตอบโต้ความรุนแรงของตํารวจปราบปรามจราจลเป็นเวลาหลายเดือนด้วยกัน จนได้ชื่อกลุ่ม “ทะลุแก๊ส” เมื่อทางการรัฐบาลจับกุมคุมขังพวกเขากลุ่มทะลุแก๊ส แกปยังคงรวมกลุ่มเพื่อนๆในการเรียกร้องให้ปล่อยตัวนักโทษการเมือง อย่างแข็งขันต่อเนื่อง เพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชนของเยาวชน จนแกปถูกดําเนินคดีด้วยข้อหาต่างๆกว่า 10 คดีด้วยกัน

—————————————————————————

รางวัลสิทธิมนุษยชนคนธรรมมีจุดประสงค์คือ?
เพื่อสดุดีความดีงามที่คนตัวเล็กๆธรรมดาๆ ร่วมต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน ให้เขาทราบว่ามีคนเห็นสิ่งที่เขาทำและเพื่อเป็นกำลังใจให้กับคนเหล่านั้น เพื่อขอบคุณสิ่งที่เขาได้ทำให้กับสังคมประเทศไทยของเราทุกคน

คุณสมบัติผู้ได้รับรางวัล
เป็นคนธรรมดาทั่วไปที่ต่อสู้เรียกร้องเพื่อความถูกต้องเป็นธรรมทางสังคม ไม่มีผลปะโยชน์ทางการเมืองแอบแฝง มีความยากลำบากในการดำเนินชีวิต

ทุกปีในงานรำลึก 6 ตุลาคม มูลนิธิฯจะมอบปีละสองรางวัล รางวัลละ 15,000 บาท

ผู้ได้รับรางวัลปี 2565 (2022)
ป้าสาคร (สาคร คำแถลง)
ป้านก (นภัสสร บุญรีย์)

————————————————————————————

(English Version)

Announcing for the recipients of the People’s Human Rights Defenders Award for the year 2023, to

“Pa Noi (Pranee Danwattananusorn)” and “Gap Thalut-Gas (Jirapas Korum)”

On the the 47th Memorial Day of commemorating the events of October 6, 1976, the People’s Empowerment Foundation (PEF) is pleased to present “The People’s Human Rights Defender Award” for the honor given to human rights defenders. To any ordinary people who are dedicated to fighting for protecting the rights and freedoms of themselves and others. People who are ordinary people but have stood up and fought for human rights without giving up or being afraid of hardship, firm in the democratic stance, fighting for a good society.

For the first prize is given to

Ms. Pranee Danwattananusorn or Pa Noi, Surachai’s lifelong wife, a democracy fighter who adhered to the ideology of revolution between 1973-1976 and after October 6, 1976, went into the forest to take guns and fight against the totalitarian state for more than 6 years. He came out of the forest as a representative to negotiate with the government but was eventually imprisoned as a political prisoner for 16 years. After he got released, he turned to Red Shirt leaders who fought against the 2006 coup and were imprisoned for the second time in over 2 years. He was again released but had to take political refuge in Laos until he was forcibly disappeared. Pa Noi stood by Surachai’s side throughout his imprisonment and political exile. Even Surachai was enforced disappeared in 2018, affecting the family with a debt burden. Pa Noi stands up and fights for the justice of Surachai and the justice for other nine political refugees who were abducted and disappeared until the Act to Prevent Torture and Enforced Disappearance was finally issued.

And for the second prize is given to

Mr. Jirapas Korum or (Gap), a 28-year-old young man, earns a living by opening grocery store. While a vocational student at Rajamangala Technical College, Bangkok, he participated in a red shirt rally at Rajamangala Stadium. Therefore, we saw the political violence that the state committed against the Red Shirts in 2020.

When there was a large gathering of the People’s Party assembly, Gap joined every movement. Until the dictatorial government used the riot control police to suppress protesters and violently dispersed the demonstrations, especially the protest to oust the Prayut government at Din Daeng Triangle in September 2021. police fired tear gas and rubber bullets at protesters, causing many injuries. As vocational students and youth continued to participate in demonstrations in response to police violence in suppressing protesters for several months together until the group named “Thalut-Gas” was established.

When the government officials arrested and imprisoned the group “Thalut-Gas”. Gap still joins with friends calling for the release of political prisoners continuously to protect the rights of youth. Gap was prosecuted on political charges in more than 10 lawsuit cases.

————————————————————————————

What is the purpose of the People’s Human Rights Defender Award?
To praise the goodness that ordinary people who are involved in the fight for democracy and human rights. To give an honor to everyone for what he has done for a good society.

Qualifications of the winner
Anyone who are ordinary people who fights for social justice without political benefit and has difficulty in living life

Every year at the October 6th memorial event, the Foundation gives out two prizes, 15,000 baht each.

2022 Award Winners
Aunt Sakorn (Sakorn Statement)
Aunt Nok (Naphatsorn Bunree)

#peopleshumanrightsdefender2023 #humanrightsdefender #PEF #peoplesempowermentfoundation #มูลนิธิศักยภาพชุมชน

RELATED POSTS

Fight to Decriminalization on Sex Work in Thailand & the Systemic Corruption

“We are not wrong. It is the law that is... read more

Fact-Finding Humanitarian Report

"1,000 - 3,000 is the number of people who have... read more

Open Joint Statement of Condemnation against Min Aung Hlaing’s Act of Using Aung San Suu Kyi as Human Shield from Attacks by Ethnic Military Forces (Thai language inside)

25 Organizations and 44 Individuals signed joint-statement of Condemnation against... read more

ใครคอร์รัปมากกว่ากัน?

ใครคอร์รัปมากกว่ากัน? คำถามนี้คงเป็นคำถามที่ตอบได้ยาก เพราะปัญหาคอร์รัปชั่นนั้นอยู่คู่กับสังคมไทยมาโดยตลอด ทุกสถาบันในสังคมไทยล้วนมีประวัติที่เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชั่นทั้งนั้น แต่การคอร์รัปชั่นจะส่งผลเลวร้ายที่สุดเมื่อผู้มีอำนาจสูงสุดของรัฐเป็นผู้ทำการคอร์รัป คำถามต่อมาที่สำคัญก็คือรัฐบาลประเภทไหนที่คอร์รัปมากกว่ากัน ในบทความนี้จะเป็นผลสรุปของการศึกษาการคอร์รัปชั่นของรัฐบาลโดยเปรียบเทียบผลลัพธ์ระหว่างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งและรัฐบาลเผด็จการที่ได้อำนาจมาจากการรัฐประหาร “การเสียชีวิตของจอมพล สู่การเปิดเผยคอร์รัปชั่น” การเสียชีวิตของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชในปี 1963 ได้นำไปสู่การเปิดเผยทรัพย์สินที่ถูกถือครองอยู่จำนวน... read more

การ์ตูนสิทธิมนุษยชน ตอนที่ 4 “คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน”

การ์ตูนสิทธิมนุษยชน ตอนที่ 4 “คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน” หลายคนอาจจะเคยได้ยินคำว่า “กสม” หรือคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนบ้าง แต่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ถึงหลักการพื้นฐานและที่มาของ กสม และเหตุผลของการตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนในประเทศ โดยคำนิยามของ GANHRI... read more

Recommendations from “Closed Door Workshop on Advancing the Thai-Foreign Policy on Ethnic Groups Along the Thai-Myanmar Border”

Recommendations from “Closed Door Workshop on Advancing the Thai-Foreign Policy... read more

Human Rights Cartoon, Chapter 3 “AICHR, Inter-ASEAN Commission on Human Rights”

Get to know AICHR (ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights),... read more

รากเหง้าปัญหาคอร์รัปชั่นของประเทศไทย

ปัญหาคอร์รัปชั่นเป็นปัญหาที่มักจะได้ยินมาโดยตลอดคู่ขนานกับบริบทการเมืองของไทยทุกยุคทุกสมัย ไม่ว่าในรัฐสภา ตามสื่อ หรือในหลายครั้งนั้นปัญหาคอร์รัปชั่นมักถูกอ้างให้นำไปสู่การรัฐประหารหรือยึดอำนาจ ก็ยังเป็นเรื่องยากที่จะทำความเข้าใจปัญหาบริบทคอร์รัปชั่น การเข้าใจปัญหาคอร์รัปชั่นของไทย จึงจำเป็นจะต้องย้อนไปเข้าใจถึงประวัติศาสตร์ที่มาของรากเหง้าทางวัฒนธรรมของไทย โดยผลการศึกษาหลายฉบับได้อธิบายว่าปรากฏการณ์คอร์รัปชั่นของประเทศไทยแท้จริงแล้วเกิดมาจากรากเหง้าของระบบอุปภัมภ์ ในช่วงของระบอบศักดินา (Feudal System)... read more