บรรดากลุ่มพันธมิตรทั้ง 3 กลุ่ม และกองทัพ จะทำการหยุดยิง

(ฐานข้อมูลข่าวพม่าฉบับแปลไทย ฉบับที่ 2)

แปลโดย นางสาวพัชรพร เมืองแก่น

12 มกราคม 2024 By The Irrawaddy

สำนักข่าวเอยาวดี ได้ตรวจสอบทราบว่า มีการตกลงหยุดยิงระหว่างกลุ่มติดอาวุธชาติพันธุ์ พันธมิตรภาคเหนือทั้ง 3 กลุ่ม และกองทัพสภาทหาร

แหล่งข่าวรายงานว่า ในการประชุมหารือกันระหว่างผู้แทนสภาทหารและผู้แทนกลุ่มพันธมิตรทั้ง 3 กลุ่ม ที่เริ่มขึ้นวันที่ 10 มกราคมที่ผ่านมา ณ เมืองคุนหมิง มณฑลยูนนาน ประเทศจีนนั้น มีมติร่วมกันให้มีการหยุดยิงดังกล่าว

กองทัพสภาทหาร และกองทัพของกลุ่มพันธมิตรภาคเหนือทั้ง 3 กลุ่ม ได้ตกลงให้หยุดยิง และหยุดชะงักไว้ในพื้นที่ของการหยุดยิง

ตามข้อตกลงดังกล่าว กองทัพสภาทหารจะต้องหยุดยั้งการยิงด้วยปืนใหญ่ และการโจมตีทางอากาศ ในขณะเดียวกันทางฝั่งของกลุ่มพันธมิตรทั้ง 3 กลุ่ม ก็จะต้องหยุดยั้งการโจมตียึดเมืองและฐานที่มั่นของทหารด้วยเช่นกัน

ในการประชุมหารือดังกล่าว ทางฝั่งของกองทัพทหาร มี พลโท. มิง ไนน์ จากคณะกรรมการเจรจาสันติภาพแห่งชาติ (NSPNC) เป็นผู้นำเข้าร่วมการประชุม ส่วนทางฝั่งของกลุ่มชาติพันธุ์ มีบรรดาเลขานุการของกองทัพสัมพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติเมียนมา (กองทัพโกก้าง) (MNDAA) กองทัพตะเอาง์ (TNLA) และ กองทัพอารกัน (AA) เป็นผู้นำเข้าร่วมการประชุม

ฝั่งของประเทศจีนนั้น มีนาย Deng Xijun ผู้แทนพิเศษประจำประเทศพม่า ได้เข้าร่วมในการประชุมหารือในครั้งนี้ด้วย

แหล่งข่าวที่ทราบเกี่ยวกับการประชุมระบุว่า การประชุมหารือ เรื่องการหยุดยิงที่ตัวแทนทั้ง 2 ฝ่าย ได้ลงนามจะมีผลบังคับใช้นับตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม เป็นต้นไป

ในการประชุมหารือดังกล่าวนี้ แม้ว่าทั้งสองฝ่ายจะเห็นด้วยเกี่ยวกับการกลับมาเปิดการค้าชายแดนอีกครั้ง  แต่ตัวแทนของจีนและสภาทหาร รวมถึงตัวแทนของพันธมิตรทั้ง 3 กลุ่ม ได้หารือกันเรื่องการเปิดการค้าชายแดนจะเปิดได้ก็ต่อเมื่อมีการหยุดยิงที่แท้จริงเท่านั้น

อ้างอิงจากผู้เกี่ยวข้องใกล้ชิดทราบว่า ทางฝั่งของกลุ่มพันธมิตรทั้ง 3 กลุ่ม ได้ออกประกาศหนึ่งฉบับเกี่ยวกับการประชุมครั้งที่สาม ที่เมืองคุนหมิง


RELATED POSTS

Fight to Decriminalization on Sex Work in Thailand & the Systemic Corruption

“We are not wrong. It is the law that is... read more

Fact-Finding Humanitarian Report

"1,000 - 3,000 is the number of people who have... read more

Open Joint Statement of Condemnation against Min Aung Hlaing’s Act of Using Aung San Suu Kyi as Human Shield from Attacks by Ethnic Military Forces (Thai language inside)

25 Organizations and 44 Individuals signed joint-statement of Condemnation against... read more

ใครคอร์รัปมากกว่ากัน?

ใครคอร์รัปมากกว่ากัน? คำถามนี้คงเป็นคำถามที่ตอบได้ยาก เพราะปัญหาคอร์รัปชั่นนั้นอยู่คู่กับสังคมไทยมาโดยตลอด ทุกสถาบันในสังคมไทยล้วนมีประวัติที่เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชั่นทั้งนั้น แต่การคอร์รัปชั่นจะส่งผลเลวร้ายที่สุดเมื่อผู้มีอำนาจสูงสุดของรัฐเป็นผู้ทำการคอร์รัป คำถามต่อมาที่สำคัญก็คือรัฐบาลประเภทไหนที่คอร์รัปมากกว่ากัน ในบทความนี้จะเป็นผลสรุปของการศึกษาการคอร์รัปชั่นของรัฐบาลโดยเปรียบเทียบผลลัพธ์ระหว่างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งและรัฐบาลเผด็จการที่ได้อำนาจมาจากการรัฐประหาร “การเสียชีวิตของจอมพล สู่การเปิดเผยคอร์รัปชั่น” การเสียชีวิตของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชในปี 1963 ได้นำไปสู่การเปิดเผยทรัพย์สินที่ถูกถือครองอยู่จำนวน... read more

การ์ตูนสิทธิมนุษยชน ตอนที่ 4 “คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน”

การ์ตูนสิทธิมนุษยชน ตอนที่ 4 “คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน” หลายคนอาจจะเคยได้ยินคำว่า “กสม” หรือคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนบ้าง แต่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ถึงหลักการพื้นฐานและที่มาของ กสม และเหตุผลของการตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนในประเทศ โดยคำนิยามของ GANHRI... read more

Recommendations from “Closed Door Workshop on Advancing the Thai-Foreign Policy on Ethnic Groups Along the Thai-Myanmar Border”

Recommendations from “Closed Door Workshop on Advancing the Thai-Foreign Policy... read more

Human Rights Cartoon, Chapter 3 “AICHR, Inter-ASEAN Commission on Human Rights”

Get to know AICHR (ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights),... read more

รากเหง้าปัญหาคอร์รัปชั่นของประเทศไทย

ปัญหาคอร์รัปชั่นเป็นปัญหาที่มักจะได้ยินมาโดยตลอดคู่ขนานกับบริบทการเมืองของไทยทุกยุคทุกสมัย ไม่ว่าในรัฐสภา ตามสื่อ หรือในหลายครั้งนั้นปัญหาคอร์รัปชั่นมักถูกอ้างให้นำไปสู่การรัฐประหารหรือยึดอำนาจ ก็ยังเป็นเรื่องยากที่จะทำความเข้าใจปัญหาบริบทคอร์รัปชั่น การเข้าใจปัญหาคอร์รัปชั่นของไทย จึงจำเป็นจะต้องย้อนไปเข้าใจถึงประวัติศาสตร์ที่มาของรากเหง้าทางวัฒนธรรมของไทย โดยผลการศึกษาหลายฉบับได้อธิบายว่าปรากฏการณ์คอร์รัปชั่นของประเทศไทยแท้จริงแล้วเกิดมาจากรากเหง้าของระบบอุปภัมภ์ ในช่วงของระบอบศักดินา (Feudal System)... read more