การ์ตูนสิทธิมนุษยชน ตอนที่ 3 “AICHR คณะกรรมมาธิการระหว่างอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน”

มารู้จัก AICHR (ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights) หรือคณะกรรมาธิการระหว่างอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน นอกจากการก่อตั้งความร่วมมือระดับรัฐบาลในอาเซียนแล้ว ตามกฎบัตรอาเซียนยังมีข้อตกลงในการก่อตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนระดับอาเซียนขึ้นมา โดยจุดประสงค์เพื่อทำงานรณรงค์และคุ้มครองสิทธิมนุษยชนระดับอาเซียน

AICHR ทำงานอย่างไร? มีบทบาทอย่างไร? มารู้จัก AICHR ผ่านการ์ตูนสิทธิมนุษยชนตอนที่ 3 “AICHR คณะกรรมาธิการระหว่างอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน”

#AICHR #PEF #peoplesempowermentfoundation #มูลนิธิศักยภาพชุมชน

อาเซียนนั้นถูกก่อตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อปี 1967 โดยเริ่มก่อตั้งในประเทศไทย ณ วังสราญรมย์ เริ่มก่อตั้งโดยห้าประเทศสมาชิกที่สำคัญ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์และสิงคโปร์

โดยมีจุดประสงค์สำคัญคือการสร้างความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การศึกษาและศาสตร์ต่างๆ รวมถึงการสร้างสันติภาพและความมั่นคง     

ในช่วงแรกอาเซียนจะมีการประชุมกันเฉพาะช่วงเวลาที่จำเป็นหรือเวลาที่เกิดข้อขัดแย้งระหว่างกัน ไม่มีการประชุมประจำปีจะเจอกันเป็นครั้งคราวเท่านั้น บทบาทของเซียนในช่วงแรกนี้คือการลดความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลในภูมิภาค

หลังจากอาเซียนเดินทางมาได้กว่า 41 ปี ก็ได้มีการตกลงเขียนรัฐธรรมนูญของอาเซียนขึ้น เรียกว่า “กฎบัตรอาเซียน” (ASEAN Charter) เป็นการกำหนดถึงอำนาจของรัฐในการทำงานระดับอาเซียน สิ่งสำคัญคือทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างรัฐบาล การกำหนดให้มีการประชุมอาเซียนทุกปีในหลายๆระดับ อย่างไรก็ดีปัญหาของอาเซียนคือการไม่มีกลไกรัฐสภาและกลไกศาล

มาตรา 14 ของกฎบัตรอาเซียนมีการกำหนดว่าต้องมีสถาบันสิทธิมนุษยชนระดับภูมิภาค เพื่อทำหน้าที่ให้การรณรงค์และคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในอาเซียน

หลังจากการก่อตั้ง AICHR ขึ้นมาแล้ว ก็ได้มีการกำหนด TOR เพื่อระบุถึงขอบเขตการทำงานของ AICHR อย่างชัดเจน แต่อย่างไรก็ดียังมีปัญหาในการทำงานขับเคลื่อนสิทธิฯหลายอย่าง เช่นการคุ้มครองสิทธิ รวมถึงหากภาคประชาชนจะทำงานกับ AICHR ก็ต้องทำการลงทะเบียนและให้ได้รับการยอมรับจาก AICHR ก่อน ในการที่จะทำงานร่วมกัน AICHR

AICHR คือระบบตัวแทนที่แต่งตั้งโดยรัฐ มาเพื่อทำงานขับเคลื่อนประเด็นสิทธิมนุษยชนในระดับภูมิภาค

ตั้งแต่ก่อตั้ง AICHR ในปี 2009 จนถึงปี 2021 ประเทศไทยมีตัวแทน AICHR มาแล้วทั้งหมด 3 คนใน 5 วาระ ได้แก่ ดร.ศรีประภา เพชรมีศรี (1 วาระ) ดร.เสรี นนทสูติ (2 วาระ) และอาจารย์อมรา พงศาพิชญ์ (2 วาระ)

ในแต่ละประเทศจะมีกระบวนการคัดเลือกที่แตกต่างกันไป ในส่วนของประเทศกระบวนการคัดเลือกตัวแทน AICHR กระทรวงการต่างประเทศจะแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาเพื่อคัดเลือกผู้แทนไทย ประกอบด้วยผู้แทนจากภาครัฐ นักวิชาการ ภาคประชาสังคม และสื่อมวลชน จำนวน 9 คน เพื่อร่วมกันกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ และคัดเลือกผู้แทนไทยฯ

โดยสรุป AICHR นั้นถูกแต่งตั้งตามกฎบัตรของอาเซียนในปี 2008 เป็นกลไกที่แต่ละรัฐบาลในอาเซียนจะแต่งตั้งตัวแทนมาเพื่อทำงานขับเคลื่อนสิทธิมนุษยชน โดย AICHR ยังมีข้อจำกัดในการสร้างกระบวนการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ผลงานส่วนใหญ่จะเป็นการจัดประชุมสัมมนาและการจัดฝึกอบรมเรื่องสิทธิมนุษยชน

RELATED POSTS

Fight to Decriminalization on Sex Work in Thailand & the Systemic Corruption

“We are not wrong. It is the law that is... read more

Fact-Finding Humanitarian Report

"1,000 - 3,000 is the number of people who have... read more

Open Joint Statement of Condemnation against Min Aung Hlaing’s Act of Using Aung San Suu Kyi as Human Shield from Attacks by Ethnic Military Forces (Thai language inside)

25 Organizations and 44 Individuals signed joint-statement of Condemnation against... read more

ใครคอร์รัปมากกว่ากัน?

ใครคอร์รัปมากกว่ากัน? คำถามนี้คงเป็นคำถามที่ตอบได้ยาก เพราะปัญหาคอร์รัปชั่นนั้นอยู่คู่กับสังคมไทยมาโดยตลอด ทุกสถาบันในสังคมไทยล้วนมีประวัติที่เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชั่นทั้งนั้น แต่การคอร์รัปชั่นจะส่งผลเลวร้ายที่สุดเมื่อผู้มีอำนาจสูงสุดของรัฐเป็นผู้ทำการคอร์รัป คำถามต่อมาที่สำคัญก็คือรัฐบาลประเภทไหนที่คอร์รัปมากกว่ากัน ในบทความนี้จะเป็นผลสรุปของการศึกษาการคอร์รัปชั่นของรัฐบาลโดยเปรียบเทียบผลลัพธ์ระหว่างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งและรัฐบาลเผด็จการที่ได้อำนาจมาจากการรัฐประหาร “การเสียชีวิตของจอมพล สู่การเปิดเผยคอร์รัปชั่น” การเสียชีวิตของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชในปี 1963 ได้นำไปสู่การเปิดเผยทรัพย์สินที่ถูกถือครองอยู่จำนวน... read more

การ์ตูนสิทธิมนุษยชน ตอนที่ 4 “คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน”

การ์ตูนสิทธิมนุษยชน ตอนที่ 4 “คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน” หลายคนอาจจะเคยได้ยินคำว่า “กสม” หรือคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนบ้าง แต่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ถึงหลักการพื้นฐานและที่มาของ กสม และเหตุผลของการตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนในประเทศ โดยคำนิยามของ GANHRI... read more

Recommendations from “Closed Door Workshop on Advancing the Thai-Foreign Policy on Ethnic Groups Along the Thai-Myanmar Border”

Recommendations from “Closed Door Workshop on Advancing the Thai-Foreign Policy... read more

Human Rights Cartoon, Chapter 3 “AICHR, Inter-ASEAN Commission on Human Rights”

Get to know AICHR (ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights),... read more

รากเหง้าปัญหาคอร์รัปชั่นของประเทศไทย

ปัญหาคอร์รัปชั่นเป็นปัญหาที่มักจะได้ยินมาโดยตลอดคู่ขนานกับบริบทการเมืองของไทยทุกยุคทุกสมัย ไม่ว่าในรัฐสภา ตามสื่อ หรือในหลายครั้งนั้นปัญหาคอร์รัปชั่นมักถูกอ้างให้นำไปสู่การรัฐประหารหรือยึดอำนาจ ก็ยังเป็นเรื่องยากที่จะทำความเข้าใจปัญหาบริบทคอร์รัปชั่น การเข้าใจปัญหาคอร์รัปชั่นของไทย จึงจำเป็นจะต้องย้อนไปเข้าใจถึงประวัติศาสตร์ที่มาของรากเหง้าทางวัฒนธรรมของไทย โดยผลการศึกษาหลายฉบับได้อธิบายว่าปรากฏการณ์คอร์รัปชั่นของประเทศไทยแท้จริงแล้วเกิดมาจากรากเหง้าของระบบอุปภัมภ์ ในช่วงของระบอบศักดินา (Feudal System)... read more