กองทัพพม่าไม่ฟื้นตัวเป็นระยะเวลานานนับเดือน หลังปฏิบัติการ 1027 อัพเดทสถานการณ์ในพม่า (25 ธันวาคม 2023)

(ฐานข้อมูลข่าวพม่าฉบับแปลไทย ฉบับที่ 1)
1 ธันวาคม 2023 By The Irrawaddy

เป็นเวลาครบรอบเดือน เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน สภาทหารต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายครั้งยิ่งใหญ่ที่สุด หลังจากทำการรัฐประหารในปี 2021 ความท้าทายดังกล่าว เป็นยุทธการของกลุ่มปฏิบัติการ 1027 ที่ได้ใช้การศึกโจมตีที่มีการต่อรองที่ใหญ่ที่สุดของกลุ่มต่อต้าน ส่งผลให้สูญเสียกองกำลังสภาทหาร และการควบคุมดินแดนอย่างมากมาย กลุ่มพันธมิตรภาคเหนือประกอบด้วยกองทัพอารกัน (AA) กองทัพตะเอาง์ (TNLA) และกองทัพสัมพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติเมียนมา (กองทัพโกก้าง) (MNDAA) ซึ่งได้รวมตัวกันในปฏิบัติการต่อต้านกองทัพ โดยได้ทำการบุกโจมตีฐานที่มั่นของทหารหลายๆแห่งและเมืองหลายเมืองตั้งแต่ตอนบนของเมืองมัณฑะเลย์ เขตสะกาย รัฐยะไข่ รัฐกะฉิ่น และรัฐฉาน

ในตอนนี้ได้มีการดำเนินการในการประสานงานกันของกลุ่มปฏิวัติหลายกลุ่ม ประกอบด้วยกองกำลังพิทักษ์ประชาชน (PDF) ภายใต้รัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ (NUG) กองกำลังคะเรนนี (KNDP) และกองทัพเอกราชกะฉิ่น (KIA) ปัจจุบันการระดมเข้าร่วมกลุ่มปฏิบัติการคาดว่ามีกำลังพลประมาณ 20,000 นาย กลุ่มปฏิบัติการนี้ถือเป็นกองกำลังที่มีประสิทธิภาพและใหญ่ที่สุดในการเข้าโจมตีสภาทหารหลังการรัฐประหาร

หลังจากที่กลุ่มพันธมิตรภาคเหนือได้รับชัยชนะหลังเข้ายึดฐานของกองทัพสภาทหารหลายๆ จุดได้ในระยะเวลาอันสั้นนั้น  กลุ่มพันธมิตรภาคเหนือจึงได้รับการสนับสนุนจากประชากรและชาวพม่าทั้งประเทศที่ต้องเผชิญกับปัญหาอุปสรรค ภายใต้การปกครองของกองทัพทหาร

ภายในระยะเวลาหนึ่งเดือน พวกเขาได้ยึดครองพื้นที่ทางฝั่งตอนบนของรัฐฉานที่เป็นเส้นทางการค้าสำคัญ จีน – พม่า และฐานของกองทัพ 224 แห่ง รวมทั้ง เมืองอีกจำนวน 7 เมืองจากสภาทหาร ภายหลังการเริ่มปฏิบัติการ บรรดากลุ่มต่อต้านได้ปิดกั้นเส้นทางการค้าสำคัญของประเทศจำนวน 2 เส้นทาง คือ ถนนสายมัณฑะเลย์ – ลาโช – มูแส่ กับ ถนนสายมัณฑะเลย์ – ลาโช – ชิน-ชเว ฮอ ตัดผ่านตอนบนของรัฐฉาน

ในช่วงแรกของการปฏิบัติการ กองกำลังติดอาวุธชาติพันธุ์ได้เข้ายึดศูนย์กลางการค้าชิน-ชเว-ฮอ ติดชายแดนจีน หลังจากนั้น พวกเขาได้ใช้ยุทธวิธีในการเข้ายึดเมืองต่าน์นีที่เป็นยุทธศาสตร์สำคัญ และเป็นเมืองที่บรรจบกันของถนน ลาโช – มูแส่ กับ ลาโช – ชินชเหว่ฮอ กองกำลังชาติพันธุ์ติดอาวุธได้เข้ายึดจินซานเจ้าะ ซึ่งเป็นด่านชายแดนการค้าสำคัญชายแดนจีนที่ตั้งอยู่เมืองมูแส่

หลังจากเสร็จสิ้นการโจมตีกองอำนวยการทหารสำคัญและฐานทหารอีกหลายแห่งเป็นระยะเวลา 12 วัน  ในวันที่ 12 พฤศจิกายน กองกำลังต่อต้านได้เข้ายึดเมืองกูนโลงซึ่งเป็นเมืองยุทธศาสตร์ของกองทัพทหารบนถนนล่าเสี้ยว-ชิน-ชเว-ฮอ ที่เป็นทางเข้าพื้นที่ปกครองตนเองโกก้างหรือที่เรียกว่าเขตพื้นที่พิเศษของรัฐฉานที่ 1 กลุ่มต่อต้านยังคงรวมกำลังเข้ายึดฐานของทหารหลายๆแห่งทางตอนบนของรัฐฉานอย่างต่อเนื่อง ด้านกองทัพทหารได้โจมตีด้วยเครื่องบินรบและปืนใหญ่บ่อยครั้ง แต่ก็ไม่สามารถยึดฐานต่างๆกลับคืนมาได้และไม่สามารถส่งกองทัพเข้ามาช่วยเหลือในพื้นที่ดังกล่าวได้

ในเวลาเดียวกัน กลุ่มต่อต้านเผด็จการ กลุ่มกองกำลังติดอาวุธจำนวนหลายกลุ่ม (EAOs) ร่วมกับกลุ่มปฏิบัติการ 1027 ได้เร่งโจมตีเป้าหมายต่อกองทัพทหารในรัฐชิน กองกำลังต่อต้านต่างๆซึ่งประกอบด้วยกลุ่มต่อต้านชิน รวมถึงกองทัพแห่งชาติชิน (CNA) ที่เป็นกองกำลังติดอาวุธของแนวร่วมแห่งชาติชิน (CNF) ได้เร่งการโจมตีเป้าหมายและค่ายทหารในเมืองผะลันน์และตีเต่งน์ และเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน ยังเข้ายึดเมืองเรกข่อดาในอำเภอผะลันน์ ชายแดนอินเดียได้อย่างสมบูรณ์ จากนั้นเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายนพวกเขาได้เข้ายึดตั้งแต่เมืองมะตูปี่ ในอำเภอไลลิง์ปี่อีกด้วย

ในช่วงอาทิตย์แรกของเดือนพฤศจิกายน กองกำลังต่าง ๆ ซึ่งประกอบด้วย KIA, AA, PDFs และ กลุ่มกองกำลังต่อต้านชินได้ร่วมกันเข้ายึดครอง ตั้งแต่เมืองก่านแป้ะก์แล้ะก์และกอลิง์ในเขตสะกาย หลังจากการสู้รบกับกองทัพที่ยึดเยื้อหลายวัน

วันที่ 11 พฤศจิกายน กองทัพกะเรนนี (KA), แนวร่วมปลดปล่อยประชาชนแห่งชาติคะเรนนี (KNPLF); กลุ่ม KNDF และ PDF ร่วมกับปฏิบัติการ 1027 ได้ร่วมกันรุกครั้งใหญ่ในปฏิบัติการ 1111 เพื่อต่อต้านสภาทหาร พวกเขาโจมตีและยึดค่ายทหารมากกว่า 20 แห่ง ในอำเภอดีเมาะโซ และเมืองลอยก่อ รัฐกะยา รวมถึงเมืองแผ่โข่งทางตอนใต้ของรัฐฉาน

ในช่วง 10 วันแรกของปฏิบัติการต่อต้าน กำลังพลกองทัพทหารจำนวนกว่า 200 นายและกำลังพลต่อต้านไม่น้อยกว่า 45 คนได้เสียชีวิต ทำให้กองทัพทหารรวมหลายสิบนายได้วางอาวุธยอมจำนนต่อกลุ่มต่อต้านเหตุเพราะแนวร่วมกองกำลังกลุ่มต่อต้านพยายามอย่างหนักเพื่อเข้ายึดเมืองลอยก่อ เมืองหลวงของรัฐกะยา  จึงเกิดการสู้รบกันอย่างรุนแรงและต่อเนื่องภายในรัฐกะยา

ในวันที่ 13 พฤศจิกายน กองทัพ AA ได้โจมตีเป้าทหารทางตอนเหนือของรัฐยะไข่ เหตุการณ์ดังกล่าวจึงถือเป็นเป็นจุดสิ้นสุดของข้อตกลงหยุดยิงที่ได้มติร่วมกันกับกองทัพพม่าเมื่อปีที่ผ่านมา นอกจากนี้กองทัพ AA ได้ประกาศว่า หลังจากโจมตีเข้ายึดฐานทหาร 4 แห่งแล้ว จะเข้ายึดฐานทหารที่กองทัพสละทิ้งและหลบหนีไปด้วยความหวาดกลัวต่อการโจมตีของกลุ่มต่อต้านอีก 40 แห่ง เนื่องด้วย AAพยายามยึดครองเมืองเป้าก์ตอ ที่อยู่ไม่ไกลจากเมืองซิตเตว่อันเป็นเมืองหลวงของรัฐยะไข่ง์ การสู้รบในพื้นที่ดังกล่าวจึงยังคงมีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง

ณ วันที่ 23 พฤศจิกายน สำนักงานเพื่อการประสานงานกิจการด้านมนุษยธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNOCHA) ระบุว่า ผู้คนร่วม 335,000 คนในหลายรัฐและเขตต่าง ๆ ต้องกลายเป็นผู้พลัดถิ่น เนื่องจากหลังวันที่ 26 ตุลาคม เกิดการสู้รบที่รุนแรงขึ้น สำนักงานบรรเทาทุกข์และการทำงานของสหประชาชาติ ได้ระบุว่าเหตุเพราะสงครามและความไม่สงบอันเนื่องด้วยสงครามดังกล่าว ทำให้ชาวบ้านร่วม 200 คนเสียชีวิต และชาวบ้านอีก 263 คนได้รับบาดเจ็บ จำนวนประชาชนที่บาดเจ็บและเสียชีวิตนั้นน่าจะมีจำนวนมากกว่ายอดประกาศอย่างเป็นทางการ เนื่องจากกองทัพทหารได้ใช้ปืนใหญ่และการโจมตีทางอากาศที่เพิ่มขึ้นในรัฐชิน รัฐยะไข่ และตอนเหนือของรัฐฉาน

นับตั้งแต่วันที่ 27 ตุลาคมเป็นต้นมา มีการคาดการณ์ว่าทหารของกองทัพรวมแล้วกว่า 100 นายได้เสียชีวิตจากการสู้รบที่รุนแรงของกลุ่มต่อต้าน หลังจากได้ข่าวทหารและสมาชิกในครอบครัวมากกว่า 200 นาย รวมถึงกองพันทหารกว่า 500 นาย ต้องวางอาวุธต่อกองกำลังต่อต้าน หรือออกจากฐานของพวกเขา เนื่องจากการสู้รบของกลุ่มต่อต้านได้เพิ่มและได้เริ่มกระจายไปทั่วทั้งประเทศ กองทัพทหารจึงได้เรียกกองกำลังทหารกว่า 14,000 นาย รวมถึงหน่วยคอมมาโด 4,000 นาย เพื่อป้องกันกองอำนวยการในเมืองเนปีดอว์ ซึ่งเป็นที่นายพลและครอบครัวของพวกเขาอาศัยอยู่ เจ้าหน้าที่ของรัฐจากเมืองเนปีดอว์ได้รับคำสั่งให้จัดตั้งยามกองทัพและให้เปลี่ยนการป้องกันของค่ายทหารและค่ายตำรวจที่มีป้อมปราการที่แข็งแกร่งเพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉิน


หลังการรัฐประหารในปี 2021 นอกจากกลุ่มต่อต้านที่รุนแรงแล้ว สภาทหารยังคงถูกโจมตีบ่อยครั้งจาก PDFs และ EAOs ในทุกรัฐ และเขตต่าง ๆ ของประเทศ นอกจากเขตอิระวดี จากการประเมินผลกระทบของกลุ่มปฏิบัติการต่อต้านและต่อสู้กับสภาทหารอย่างดุเดือด ปะโด่ ซอตอนี โฆษกสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) ซึ่งเป็นกองกำลังติดอาวุธชาติพันธุ์ที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศ กล่าวว่า ตั้งแต่การรัฐประหารในปี 2021  “การปฏิวัติของประชาชนหลังจากปฏิบัติการ 1027 ได้เริ่มต้นก่อตัวขึ้นจากการปฏิวัติของประชาชน ก็ได้รับแรงผลักดันเรื่อยมา นี่แสดงให้เห็นถึงจุดจบของสภาทหาร”

พวกเขายังได้กล่าวอีกว่า “สภาทหาร กำลังจะสูญพันธ์”

เว็ปไซต์ต้นทางภาษาอังกฤษ https://www.irrawaddy.com/news/war-against-the-junta/myanmar-junta-continues-to-suffer-defeats-a-month-into-operation-1027.html “Myanmar Junta Continues to Suffer Defeats a Month into Operation 1027” (Irrawaddy)

RELATED POSTS

Fight to Decriminalization on Sex Work in Thailand & the Systemic Corruption

“We are not wrong. It is the law that is... read more

Fact-Finding Humanitarian Report

"1,000 - 3,000 is the number of people who have... read more

Open Joint Statement of Condemnation against Min Aung Hlaing’s Act of Using Aung San Suu Kyi as Human Shield from Attacks by Ethnic Military Forces (Thai language inside)

25 Organizations and 44 Individuals signed joint-statement of Condemnation against... read more

ใครคอร์รัปมากกว่ากัน?

ใครคอร์รัปมากกว่ากัน? คำถามนี้คงเป็นคำถามที่ตอบได้ยาก เพราะปัญหาคอร์รัปชั่นนั้นอยู่คู่กับสังคมไทยมาโดยตลอด ทุกสถาบันในสังคมไทยล้วนมีประวัติที่เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชั่นทั้งนั้น แต่การคอร์รัปชั่นจะส่งผลเลวร้ายที่สุดเมื่อผู้มีอำนาจสูงสุดของรัฐเป็นผู้ทำการคอร์รัป คำถามต่อมาที่สำคัญก็คือรัฐบาลประเภทไหนที่คอร์รัปมากกว่ากัน ในบทความนี้จะเป็นผลสรุปของการศึกษาการคอร์รัปชั่นของรัฐบาลโดยเปรียบเทียบผลลัพธ์ระหว่างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งและรัฐบาลเผด็จการที่ได้อำนาจมาจากการรัฐประหาร “การเสียชีวิตของจอมพล สู่การเปิดเผยคอร์รัปชั่น” การเสียชีวิตของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชในปี 1963 ได้นำไปสู่การเปิดเผยทรัพย์สินที่ถูกถือครองอยู่จำนวน... read more

การ์ตูนสิทธิมนุษยชน ตอนที่ 4 “คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน”

การ์ตูนสิทธิมนุษยชน ตอนที่ 4 “คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน” หลายคนอาจจะเคยได้ยินคำว่า “กสม” หรือคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนบ้าง แต่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ถึงหลักการพื้นฐานและที่มาของ กสม และเหตุผลของการตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนในประเทศ โดยคำนิยามของ GANHRI... read more

Recommendations from “Closed Door Workshop on Advancing the Thai-Foreign Policy on Ethnic Groups Along the Thai-Myanmar Border”

Recommendations from “Closed Door Workshop on Advancing the Thai-Foreign Policy... read more

Human Rights Cartoon, Chapter 3 “AICHR, Inter-ASEAN Commission on Human Rights”

Get to know AICHR (ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights),... read more

รากเหง้าปัญหาคอร์รัปชั่นของประเทศไทย

ปัญหาคอร์รัปชั่นเป็นปัญหาที่มักจะได้ยินมาโดยตลอดคู่ขนานกับบริบทการเมืองของไทยทุกยุคทุกสมัย ไม่ว่าในรัฐสภา ตามสื่อ หรือในหลายครั้งนั้นปัญหาคอร์รัปชั่นมักถูกอ้างให้นำไปสู่การรัฐประหารหรือยึดอำนาจ ก็ยังเป็นเรื่องยากที่จะทำความเข้าใจปัญหาบริบทคอร์รัปชั่น การเข้าใจปัญหาคอร์รัปชั่นของไทย จึงจำเป็นจะต้องย้อนไปเข้าใจถึงประวัติศาสตร์ที่มาของรากเหง้าทางวัฒนธรรมของไทย โดยผลการศึกษาหลายฉบับได้อธิบายว่าปรากฏการณ์คอร์รัปชั่นของประเทศไทยแท้จริงแล้วเกิดมาจากรากเหง้าของระบบอุปภัมภ์ ในช่วงของระบอบศักดินา (Feudal System)... read more