ใครคอร์รัปมากกว่ากัน?

ใครคอร์รัปมากกว่ากัน?

คำถามนี้คงเป็นคำถามที่ตอบได้ยาก เพราะปัญหาคอร์รัปชั่นนั้นอยู่คู่กับสังคมไทยมาโดยตลอด ทุกสถาบันในสังคมไทยล้วนมีประวัติที่เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชั่นทั้งนั้น แต่การคอร์รัปชั่นจะส่งผลเลวร้ายที่สุดเมื่อผู้มีอำนาจสูงสุดของรัฐเป็นผู้ทำการคอร์รัป คำถามต่อมาที่สำคัญก็คือรัฐบาลประเภทไหนที่คอร์รัปมากกว่ากัน ในบทความนี้จะเป็นผลสรุปของการศึกษาการคอร์รัปชั่นของรัฐบาลโดยเปรียบเทียบผลลัพธ์ระหว่างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งและรัฐบาลเผด็จการที่ได้อำนาจมาจากการรัฐประหาร

“การเสียชีวิตของจอมพล สู่การเปิดเผยคอร์รัปชั่น”

การเสียชีวิตของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชในปี 1963 ได้นำไปสู่การเปิดเผยทรัพย์สินที่ถูกถือครองอยู่จำนวน 2,800 ล้านบาท ซึ่งได้พบว่ามีการใช้เงินของรัฐบาลในการนำไปต่อยอดลงทุนทรัพย์สินเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวและคนใกล้ชิด จอมพลสฤษดิ์และภรรยานั้นมีทรัพย์สินอยู่ในกว่า 45 บริษัทเอกชน มีการถือครองบัญชีธนาคารมากมายและครอบครองที่ดินกว่า 9,000 ไร่ จากการตรวจสอบพบว่า เงินกว่า 394 ล้านบาทนั้นมาจากงบลับของกองทุนตรวจสอบความมั่นคงภายใต้อำนาจของนายกรัฐมนตรี 240 ล้านบาทหน่วยงานสลากกินแบ่งรัฐบาล และประมาณ 100 ล้านบาทจากส่วนแบ่งกำไรยอดขายของสลากกินแบ่งรัฐบาล โดยรัฐบาลต่อมาสามารถยึดทรัพย์สินคืนได้เพียง 604 ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งเป็นประมาณเพียง 20% ของทรัพย์สินทั้งหมดที่สามารถยึดคืนได้เท่านั้น  

“การคอร์รัปชั่นภายใต้รัฐบาลชาติชายและการรัฐประหาร”

จนกระทั่งในปี 1988 ประเด็นคอร์รัปชั่นได้กลับมาถูกพูดถึงอีกครั้งในยุคของรัฐบาลชาติชาย ชุนหะวัน ซึ่งเป็นยุคที่เศรษฐกิจเติบโต มีโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานมากมายจากรัฐบาล แต่ละโปรเจคนั้นมีงบการพัฒนาสูงถึงหลายพันล้านบาท ซึ่งมีข่าวลือและการคาดการณ์ว่ามีการรับ “สินบน” ในโครงการพัฒนาเหล่านั้น  เจ้าหน้าที่รัฐบางคนที่ถูกแต่งตั้งโดยนายกชาติชายนั้นถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการเหล่านี้ ขอบเขตของการคอร์รัปชั่นนั้นยังถูกขยายไปถึงงบสนับสนุนด้านมนุษยธรรมจากต่างประเทศในการช่วยเหลือผู้ลี้ภัย ทหารและกองทัพก็มีข่าวลือในด้านลบจากการรับ “เงินทอน” จากการซื้อขายอาวุธ และในท้ายที่สุดรัฐบาลชาติชายก็ถูกรัฐประหารจากข้อกล่าวหาเรื่องคอร์รัปชั่น ภายหลังจากการรัฐประหาร เกิดการพยายามสร้างข่าวให้เห็นว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งมีความชั่วร้ายมากกว่าในการคอร์รัปชั่น

“งบประมาณของรัฐที่สูญเสียไปกับการคอร์รัปชั่น”

รูปแบบการคอร์รัปชั่นที่มาจากอำนาจรัฐส่วนใหญ่จะมีลักษณะของการได้รับส่วนแบ่ง (kickback) หรือการโกงจากงบโครงการพัฒนาระดับใหญ่ๆของรัฐ ยิ่งโครงการยิ่งใหญ่ยิ่งได้รับเปอร์เซ็นต์หรือเงินทอนที่มากขึ้น หลังจากนั้นไทยได้มีการแต่งตั้งองค์กรที่มีหน้าที่ตรวจสอบคอร์รัปชั่นขึ้นมาได้แก่ คณะป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (the Counter Corruption Commission: CCC) และสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (the Office of Auditor General: OAG) ทั้งสองคณะได้มีการตรวจสอบรูปแบบของโครงการพัฒนาของรัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชั่นได้หลายลักษณะ โดยเฉพาะในช่วงก่อน ปี 1976

  • การซื้อที่ดินเกินราคาประเมิน: ในปี 1972 มีการค้นพบเคสกรณีที่กรมตำรวจซื้อที่ดินเกินราคาประเมิน โดยครั้งนั้นรัฐจ่ายเงินเกินไปโดยประมาณ 23.4 ล้านบาทโดยมีราคาสูงกว่าราคาประเมินถึง 52 เปอร์เซ็นต์จากงบโครงการ
  • การร่วมลงทุนในโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของรัฐ: ในช่วงปี 1968-1972 มีการพบว่ามีความไม่โปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างภายใต้โครงการของรัฐ เช่น การซื้อวัสดุก่อสร้างเกินราคา การใช้จ่ายที่ไม่สมเหตุสมผล โดยงบที่ใช้จ่ายเป็นเงินมาจากงบของรัฐบาล มีการประเมินว่าในหนึ่งโครงการมีการจัดซื้อเกินราคาประมาณอย่างต่ำที่สุดคือ 13.4 เปอร์เซ็นต์จากงบของโครงการ
  • สิ่งปลูกสร้างที่ไม่ได้มาตราฐาน: ในช่วงปี 1968 มีการค้นพบการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างของรัฐที่ไม่ได้มาตรฐาน ตัวสิ่งปลูกสร้างมีอาการพังทลายซึ่งมีเหตุมาจากการรับน้ำหนักไม่ไหว จากการสืบสวนพบว่ามีการใช้วัสดุที่ไม่เป็นไปตามมาตราฐานก่อสร้าง ในเคสหนึ่งจากเสียหายจากการก่อสร้างโรงเรียนของรัฐ พบว่ามีการโกงจากงบประมาณ 42-50 เปอร์เซ็นต์จากงบก่อสร้างทั้งหมด
  • การจัดซื้อจัดจ้าง: ในปี 1970 โครงการก่อสร้างเขื่อนชลประทาน มีการพบการโกงการซื้อขายจำนวนปูนซีเมนส์ในการผลิตแต่ละวัน ซึ่งมีจำนวนซีเมนส์ที่ได้มาน้อยกว่าที่ตกลงกันตามใบสัญญาจัดซื้อจัดจ้าง
  • การปลอมแปลงใบเสร็จ: ในช่วงปี 1973 มีการค้นพบว่าเทศบาลอยุธยาได้ปลอมใบเสร็จจากโครงการซ่อมถนน และจากการสืบสวนตรวจสอบพบว่าไม่ได้มีการซ่อมถนนจริง ถือว่าเป็นการคอร์รัปชั่นทั้งหมด 100% จากงบประมาณของโครงการ และมีการตรวจพบการปลอมแปลงใบเสร็จอีกในหลายโครงการ
  • การคอร์รัปชั่นการซื้อที่ดินจากโครงการปลูกป่า: มีการค้นพบการคอร์รัปชั่นภายใต้โครงการปลูกป่าของรัฐ โดยการใช้พื้นที่ปลูกป่าใหม่จำนวน 3,000 ไร่ โดยมีต้นทุนอยู่ที่  700 บาทต่อไร่ แต่พอถึงเวลาจริงมีการค้นพบว่ามีการปลูกพื้นป่าจริงเพียงแค่ 2,400 ไร่

ยังมีการค้นพบถึงการคอร์รัปชั่นอีกมากที่มาจากโครงการภายใต้รัฐบาล เช่น การร่ำรวยผิดปกติของเจ้าหน้าระดับสูง การลักขโมยและยักยอกทรัพย์สินของรัฐเป็นของส่วนตน และภายใต้รัฐบาลทหารมีการพบเจอประเด็นคอร์รัปชั่นเกี่ยวกับการซื้ออาวุธของกองทัพด้วย การคอร์รัปชั่นภายใต้โครงการพัฒนาของรัฐทำให้ประเทศชาติล้วนสูญเสียทรัพยากรที่ควรจะนำไปพัฒนาให้กับประชาชนจำนวนมาก ซึ่งล้วนเป็นหน้าที่รับผิดชอบของรัฐบาลและผู้มีอำนาจในแต่ละยุคสมัย

“เปรียบเทียบความรุนแรงจากการคอร์รัปชั่นระหว่างรัฐบาลเลือกตั้งและรัฐบาลเผด็จการ”

จากการศึกษาเปรียบเทียบเรื่องความรุนแรงจากการคอร์รัปชั่นระหว่างรัฐบาลที่มาจากเลือกตั้งและการรัฐประหาร โดยเปรียบเทียบระหว่างสองรัฐบาลคือรัฐบาลทหารยุคของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชและรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของรัฐบาลชาติชาย ชุนหะวัน พบว่าสัดส่วนการคอร์รัปชั่นจากรัฐบาลทหารมีจำนวนมากกว่า โดยประเมินว่าในแต่ละปีจำนวนงบประมาณที่ถูกคอร์รัปชั่นภายใต้จอมพลสฤษดิ์คือประมาณ 0.14 % ของ GDP ซึ่งในช่วงรัฐบาลชาติชายมีสัดส่วนประมาณ 0.04 % ­ของ GDP จากตัวเลขจะเห็นได้ว่าคอร์รัปชั่นภายใต้รัฐบาลเผด็จทหารนั้นมีสัดส่วนที่ ”มากกว่า” การคอร์รัปชั่นภายใต้รัฐบาลพลเรือน
(การศึกษาครั้งนี้ สามารถตรวจสอบทรัพย์สินของจอมพลสฤษดิ์ได้เพียงบางส่วนเท่านั้น ยังมีทรัพย์สินอีกบางส่วนที่ไม่สามารถตรวจสอบได้)

อย่างไรก็ดีการตรวจสอบคอร์รัปชั่นจากสองรัฐบาลก็ยังมีข้อจำกัดอีกมากในการตรวจสอบทั้งหมด ยิ่งการเข้าถึงหลักฐานข้อมูลจากรัฐบาลเผด็จการนั้นก็ทำได้ยากมาก มีเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินได้อธิบายว่าการตรวจสอบคอร์รัปชั่นภายใต้รัฐบาลเผด็จการนั้นทำได้ยาก เพราะการรวมศูนย์อำนาจและไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ ในส่วนของรัฐบาลพลเรือนนั้นแม้ว่าจะมีการพบเจอการคอร์รัปชั่นเช่นกัน แต่ก็เป็นการคอร์รัปชั่นที่ถูกตรวจสอบได้ง่ายกว่าและมีกลไกตรวจสอบ

กล่าวโดยสรุป อำนาจทางการเมืองทางปกครองมีความสัมพันธ์โดยตรงกับการคอร์รัปชั่น แม้ว่าการคอร์รัปชั่นสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งและรัฐบาลเผด็จการ แต่โดยผลลัพธ์แล้วรัฐบาลเผด็จการมีโอกาสที่จะเกิดการคอร์รัปชั่นได้มากกว่าเนื่องจากการรวมศูนย์ของอำนาจเบ็ดเสร็จและยากในการตรวจสอบ เพราะฉะนั้นหนึ่งในการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชั่นที่ดีคือการสร้างระบบรัฐที่มีความโปร่งใส มีการคานอำนาจการตรวจสอบระหว่างกัน ระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยจึงมีความสำคัญมากในการสร้างกลไกตรวจสอบและป้องกันคอร์รัปชั่น ภาคประชาชนทุกคนจึงควรให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง การร่วมตรวจสอบและต่อต้านการรัฐประหารหรือรูปแบบของอำนาจเผด็จการนิยมทุกรูปแบบ และที่สำคัญการรัฐประหารไม่ใช่วิธีการที่ถูกต้องในการแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น

Key Point

*การแก้ปัญหาการคอร์รัปชั่นด้วยการรัฐประหารเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง

*การตรวจสอบคอร์รัปชั่นของรัฐบาลเผด็จการทหาร ทำได้ยากมาก เพราะการรวมศูนย์ของอำนาจ

*รัฐบาลสฤษดิ์ (1957-1963) พบว่ามีทรัพย์สินทั้งหมด 2,874 ล้านบาท (ถูกตัดสินยึดคืนแก่แผ่นดิน 604 ล้านบาท)

*รัฐบาลชาติชาย (1988-1990) ถูกค้นพบว่ามีนักการเมือง 10 คน ที่ถูกยึดทรัพย์สินรวมกัน 1,900 ล้านบาท (โดยนายกชาติชายถูกยึดทรัพย์จำนวน 284 ล้านบาท)

* 2,874,000,000 บาทในปี 1963 มีมูลค่าเท่ากับ 12,961,000,000 บาทในปัจจุบันปี 2024 (คิดอัตราเงินเฟ้อ 2.5% ต่อปี)

* 1,900,000,000 บาทในปี 1990 มีมูลค่าเท่ากับ 4,399,000,000 บาท (คิดอัตราเงินเฟ้อ 2.5% ต่อปี)

*** เนื้อหน้าจากหนังสือ Corruption and Democracy in Thailand บทที่ 2 โดยอาจารย์ผาสุก พงษ์ไพจิตรและอาจารย์สังศิต พิริยะรังสรรค์ ***

#PEF #peoplesempowermentfoundation #มูลนิธิศักยภาพชุมชน #anticorruption

RELATED POSTS

Fight to Decriminalization on Sex Work in Thailand & the Systemic Corruption

“We are not wrong. It is the law that is... read more

Fact-Finding Humanitarian Report

"1,000 - 3,000 is the number of people who have... read more

Open Joint Statement of Condemnation against Min Aung Hlaing’s Act of Using Aung San Suu Kyi as Human Shield from Attacks by Ethnic Military Forces (Thai language inside)

25 Organizations and 44 Individuals signed joint-statement of Condemnation against... read more

ใครคอร์รัปมากกว่ากัน?

ใครคอร์รัปมากกว่ากัน? คำถามนี้คงเป็นคำถามที่ตอบได้ยาก เพราะปัญหาคอร์รัปชั่นนั้นอยู่คู่กับสังคมไทยมาโดยตลอด ทุกสถาบันในสังคมไทยล้วนมีประวัติที่เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชั่นทั้งนั้น แต่การคอร์รัปชั่นจะส่งผลเลวร้ายที่สุดเมื่อผู้มีอำนาจสูงสุดของรัฐเป็นผู้ทำการคอร์รัป คำถามต่อมาที่สำคัญก็คือรัฐบาลประเภทไหนที่คอร์รัปมากกว่ากัน ในบทความนี้จะเป็นผลสรุปของการศึกษาการคอร์รัปชั่นของรัฐบาลโดยเปรียบเทียบผลลัพธ์ระหว่างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งและรัฐบาลเผด็จการที่ได้อำนาจมาจากการรัฐประหาร “การเสียชีวิตของจอมพล สู่การเปิดเผยคอร์รัปชั่น” การเสียชีวิตของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชในปี 1963 ได้นำไปสู่การเปิดเผยทรัพย์สินที่ถูกถือครองอยู่จำนวน... read more

การ์ตูนสิทธิมนุษยชน ตอนที่ 4 “คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน”

การ์ตูนสิทธิมนุษยชน ตอนที่ 4 “คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน” หลายคนอาจจะเคยได้ยินคำว่า “กสม” หรือคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนบ้าง แต่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ถึงหลักการพื้นฐานและที่มาของ กสม และเหตุผลของการตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนในประเทศ โดยคำนิยามของ GANHRI... read more

Recommendations from “Closed Door Workshop on Advancing the Thai-Foreign Policy on Ethnic Groups Along the Thai-Myanmar Border”

Recommendations from “Closed Door Workshop on Advancing the Thai-Foreign Policy... read more

Human Rights Cartoon, Chapter 3 “AICHR, Inter-ASEAN Commission on Human Rights”

Get to know AICHR (ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights),... read more

รากเหง้าปัญหาคอร์รัปชั่นของประเทศไทย

ปัญหาคอร์รัปชั่นเป็นปัญหาที่มักจะได้ยินมาโดยตลอดคู่ขนานกับบริบทการเมืองของไทยทุกยุคทุกสมัย ไม่ว่าในรัฐสภา ตามสื่อ หรือในหลายครั้งนั้นปัญหาคอร์รัปชั่นมักถูกอ้างให้นำไปสู่การรัฐประหารหรือยึดอำนาจ ก็ยังเป็นเรื่องยากที่จะทำความเข้าใจปัญหาบริบทคอร์รัปชั่น การเข้าใจปัญหาคอร์รัปชั่นของไทย จึงจำเป็นจะต้องย้อนไปเข้าใจถึงประวัติศาสตร์ที่มาของรากเหง้าทางวัฒนธรรมของไทย โดยผลการศึกษาหลายฉบับได้อธิบายว่าปรากฏการณ์คอร์รัปชั่นของประเทศไทยแท้จริงแล้วเกิดมาจากรากเหง้าของระบบอุปภัมภ์ ในช่วงของระบอบศักดินา (Feudal System)... read more