Thailand Archives - People’s Empowerment Foundation https://pefthailand.org/category/activities/thailand/ We believes a world where democracy and human rights are achieved for all, and local communities are respected and included in policy-making processes. Sun, 06 Oct 2024 12:06:19 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.6.2 https://pefthailand.org/wp-content/uploads/2023/07/Logo-3-85x85.png Thailand Archives - People’s Empowerment Foundation https://pefthailand.org/category/activities/thailand/ 32 32 Fight to Decriminalization on Sex Work in Thailand & the Systemic Corruption https://pefthailand.org/fight-to-decriminalization-on-sex-work-in-thailand-the-systemic-corruption/ https://pefthailand.org/fight-to-decriminalization-on-sex-work-in-thailand-the-systemic-corruption/#respond Tue, 01 Oct 2024 03:56:16 +0000 https://pefthailand.org/?p=9211 “We are not wrong. It is the law that is wrong. It is the law that forced us to be illegal workers.” This statement captures how sex workers perceive corruption in their daily lives. This article seeks to amplify their voices, delving into their experiences with corruption. Readers will gain insight into how systemic bribery […]

The post Fight to Decriminalization on Sex Work in Thailand & the Systemic Corruption appeared first on People’s Empowerment Foundation.

]]>
“We are not wrong. It is the law that is wrong. It is the law that forced us to be illegal workers.”

This statement captures how sex workers perceive corruption in their daily lives. This article seeks to amplify their voices, delving into their experiences with corruption. Readers will gain insight into how systemic bribery and discriminatory laws intersect to exploit and impact the lives of sex workers in Thailand.

The post Fight to Decriminalization on Sex Work in Thailand & the Systemic Corruption appeared first on People’s Empowerment Foundation.

]]>
https://pefthailand.org/fight-to-decriminalization-on-sex-work-in-thailand-the-systemic-corruption/feed/ 0 9211
Fact-Finding Humanitarian Report https://pefthailand.org/fact-finding-humanitarian-report/ https://pefthailand.org/fact-finding-humanitarian-report/#respond Wed, 01 May 2024 04:04:01 +0000 https://pefthailand.org/?p=9145 “1,000 – 3,000 is the number of people who have fled to the IDP camps” “Canvas, Tarpaulin and Tents are urgently needs for upcoming rainy season” “The medicines for congenital disease symptoms and the Oral Rehydration Salt (ORD) are needed” Fact-finding humanitarian report, PEF visited the field for donations and monitored the situation of IDPs […]

The post Fact-Finding Humanitarian Report appeared first on People’s Empowerment Foundation.

]]>
“1,000 – 3,000 is the number of people who have fled to the IDP camps” “Canvas, Tarpaulin and Tents are urgently needs for upcoming rainy season” “The medicines for congenital disease symptoms and the Oral Rehydration Salt (ORD) are needed”

Fact-finding humanitarian report, PEF visited the field for donations and monitored the situation of IDPs after the recent massive fight in the Myawaddy area, investigating the condition of IDPs. This report essentially reviews the needs of IDPs after impacted by armed conflict.

Please access to the full report: https://drive.google.com/file/d/1C9V8P1wRqSfPLG5VJNtgSd0kDGu-e5By/view?usp=sharing

The post Fact-Finding Humanitarian Report appeared first on People’s Empowerment Foundation.

]]>
https://pefthailand.org/fact-finding-humanitarian-report/feed/ 0 9145
Open Joint Statement of Condemnation against Min Aung Hlaing’s Act of Using Aung San Suu Kyi as Human Shield from Attacks by Ethnic Military Forces (Thai language inside) https://pefthailand.org/open-joint-statement-of-condemnation-against-min-aung-hlaings-act-of-using-aung-san-suu-kyi-as-human-shield-from-attacks-by-ethnic-military-forces-thai-language-inside/ https://pefthailand.org/open-joint-statement-of-condemnation-against-min-aung-hlaings-act-of-using-aung-san-suu-kyi-as-human-shield-from-attacks-by-ethnic-military-forces-thai-language-inside/#respond Sat, 27 Apr 2024 07:05:33 +0000 https://pefthailand.org/?p=9141 25 Organizations and 44 Individuals signed joint-statement of Condemnation against Min Aung Hlaing’s Act of Using Aung San Suu Kyi as Human Shield from Attacks by Ethnic Military Forces The key statement demands 25 องค์กรและ 44 บุคคลร่วมลงนามในแถลงการณ์ร่วมประณาม มิน อ่อง ลายที่จะใช้นางออง ซานซู จี เป็นโลห์มนุษย์ป้องกันการโจมตีเนปิดอว์จากกองกำลังต่อต้านชาติพันธ์ุ พวกเราเรียกร้องให้ Access full statement: https://drive.google.com/file/d/1wFPR3i4IifAycfUCr7nLF9byI9dPqn1Q/view?usp=sharing

The post Open Joint Statement of Condemnation against Min Aung Hlaing’s Act of Using Aung San Suu Kyi as Human Shield from Attacks by Ethnic Military Forces (Thai language inside) appeared first on People’s Empowerment Foundation.

]]>

25 Organizations and 44 Individuals signed joint-statement of Condemnation against Min Aung Hlaing’s Act of Using Aung San Suu Kyi as Human Shield from Attacks by Ethnic Military Forces

The key statement demands

  1. Min Aung Hlaing and the State Administration Council (SAC) must immediately reveal the conditions and whereabouts of Aung San Suu Kyi and U Win Myin without any condition for the sake of transparency and expressing intentions to release them following humanitarian principles, and for their health as was announced to the international society.
  2. Kim Aris should be granted permission to see his mother as a family member according to humanitarian principles.
  3. The international society, ASEAN and Thailand should condemn and protest against this action, without acknowledging legitimacy in the government led by Min Aung Hliang from now on.
  4. The international society, ASEAN and Thailand, abiding to international humanitarian principles, should revise their foreign policies with Myanmar in order to cause positive changes in the region.
  5. The international society, ASEAN and Thailand should support people in Myanmar in restoration of and transition to sustainable democracy in the country.

25 องค์กรและ 44 บุคคลร่วมลงนามในแถลงการณ์ร่วมประณาม มิน อ่อง ลายที่จะใช้นางออง ซานซู จี เป็นโลห์มนุษย์ป้องกันการโจมตีเนปิดอว์จากกองกำลังต่อต้านชาติพันธ์ุ

พวกเราเรียกร้องให้

  1. มินอองลายและกองทพัพม่าต้องเปิดเผยสถานภาพและสถานที่กักขังของออง ซาน ซูจี และอู วิน มิน โดยททันทีอย่างไม่มีเงื่อนไข
  2. คิม อีริค ควรได้รับอนุญาตในการเข้าพบแม่ของเธอในฐานะที่เป็นสมาชิกครอบครัวให้เป็นไปตามหลักมนุษยธรรม
  3. ประชาคมโลก อาเซียนและประเทศไทย ต้องประณามและคัดค้านการกระทำนี้ ทั้งไม่ยอมรับความชอบธรรมในการปกครองประเทศพม่าของ มิน ออง ลายอีกต่อไป
  4. ประชาคมโลก อาเซียนและประเทศไทยต้องมีการทบทวนท่าที นโยบายต่างประเทศต่อประเทศเมียนมาร์ ซึ่งจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในภูมิภาคและต้องยึดมั่นในหลักการมนุษยธรรมสากล
  5. ประชาคมโลก อาเซียนและประเทศไทยต้องช่วยเหลือประชาชนพม่าในการฟื้นฟูประเทศชาติ สนับสนุนการเปลี่ยนผ่านประชาธิปไตยของ เมียนมาร์อย่างยั่งยืน

Access full statement: https://drive.google.com/file/d/1wFPR3i4IifAycfUCr7nLF9byI9dPqn1Q/view?usp=sharing

The post Open Joint Statement of Condemnation against Min Aung Hlaing’s Act of Using Aung San Suu Kyi as Human Shield from Attacks by Ethnic Military Forces (Thai language inside) appeared first on People’s Empowerment Foundation.

]]>
https://pefthailand.org/open-joint-statement-of-condemnation-against-min-aung-hlaings-act-of-using-aung-san-suu-kyi-as-human-shield-from-attacks-by-ethnic-military-forces-thai-language-inside/feed/ 0 9141
ใครคอร์รัปมากกว่ากัน? https://pefthailand.org/%e0%b9%83%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%84%e0%b8%ad%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%9b%e0%b8%a1%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%81%e0%b8%a7%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%99/ https://pefthailand.org/%e0%b9%83%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%84%e0%b8%ad%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%9b%e0%b8%a1%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%81%e0%b8%a7%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%99/#respond Thu, 21 Mar 2024 01:10:07 +0000 https://pefthailand.org/?p=9049 ใครคอร์รัปมากกว่ากัน? คำถามนี้คงเป็นคำถามที่ตอบได้ยาก เพราะปัญหาคอร์รัปชั่นนั้นอยู่คู่กับสังคมไทยมาโดยตลอด ทุกสถาบันในสังคมไทยล้วนมีประวัติที่เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชั่นทั้งนั้น แต่การคอร์รัปชั่นจะส่งผลเลวร้ายที่สุดเมื่อผู้มีอำนาจสูงสุดของรัฐเป็นผู้ทำการคอร์รัป คำถามต่อมาที่สำคัญก็คือรัฐบาลประเภทไหนที่คอร์รัปมากกว่ากัน ในบทความนี้จะเป็นผลสรุปของการศึกษาการคอร์รัปชั่นของรัฐบาลโดยเปรียบเทียบผลลัพธ์ระหว่างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งและรัฐบาลเผด็จการที่ได้อำนาจมาจากการรัฐประหาร “การเสียชีวิตของจอมพล สู่การเปิดเผยคอร์รัปชั่น” การเสียชีวิตของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชในปี 1963 ได้นำไปสู่การเปิดเผยทรัพย์สินที่ถูกถือครองอยู่จำนวน 2,800 ล้านบาท ซึ่งได้พบว่ามีการใช้เงินของรัฐบาลในการนำไปต่อยอดลงทุนทรัพย์สินเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวและคนใกล้ชิด จอมพลสฤษดิ์และภรรยานั้นมีทรัพย์สินอยู่ในกว่า 45 บริษัทเอกชน มีการถือครองบัญชีธนาคารมากมายและครอบครองที่ดินกว่า 9,000 ไร่ จากการตรวจสอบพบว่า เงินกว่า 394 ล้านบาทนั้นมาจากงบลับของกองทุนตรวจสอบความมั่นคงภายใต้อำนาจของนายกรัฐมนตรี 240 ล้านบาทหน่วยงานสลากกินแบ่งรัฐบาล และประมาณ 100 ล้านบาทจากส่วนแบ่งกำไรยอดขายของสลากกินแบ่งรัฐบาล โดยรัฐบาลต่อมาสามารถยึดทรัพย์สินคืนได้เพียง 604 ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งเป็นประมาณเพียง 20% ของทรัพย์สินทั้งหมดที่สามารถยึดคืนได้เท่านั้น   “การคอร์รัปชั่นภายใต้รัฐบาลชาติชายและการรัฐประหาร” จนกระทั่งในปี 1988 ประเด็นคอร์รัปชั่นได้กลับมาถูกพูดถึงอีกครั้งในยุคของรัฐบาลชาติชาย ชุนหะวัน ซึ่งเป็นยุคที่เศรษฐกิจเติบโต มีโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานมากมายจากรัฐบาล แต่ละโปรเจคนั้นมีงบการพัฒนาสูงถึงหลายพันล้านบาท ซึ่งมีข่าวลือและการคาดการณ์ว่ามีการรับ “สินบน” ในโครงการพัฒนาเหล่านั้น  เจ้าหน้าที่รัฐบางคนที่ถูกแต่งตั้งโดยนายกชาติชายนั้นถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการเหล่านี้ ขอบเขตของการคอร์รัปชั่นนั้นยังถูกขยายไปถึงงบสนับสนุนด้านมนุษยธรรมจากต่างประเทศในการช่วยเหลือผู้ลี้ภัย ทหารและกองทัพก็มีข่าวลือในด้านลบจากการรับ “เงินทอน” จากการซื้อขายอาวุธ และในท้ายที่สุดรัฐบาลชาติชายก็ถูกรัฐประหารจากข้อกล่าวหาเรื่องคอร์รัปชั่น […]

The post ใครคอร์รัปมากกว่ากัน? appeared first on People’s Empowerment Foundation.

]]>
ใครคอร์รัปมากกว่ากัน?

คำถามนี้คงเป็นคำถามที่ตอบได้ยาก เพราะปัญหาคอร์รัปชั่นนั้นอยู่คู่กับสังคมไทยมาโดยตลอด ทุกสถาบันในสังคมไทยล้วนมีประวัติที่เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชั่นทั้งนั้น แต่การคอร์รัปชั่นจะส่งผลเลวร้ายที่สุดเมื่อผู้มีอำนาจสูงสุดของรัฐเป็นผู้ทำการคอร์รัป คำถามต่อมาที่สำคัญก็คือรัฐบาลประเภทไหนที่คอร์รัปมากกว่ากัน ในบทความนี้จะเป็นผลสรุปของการศึกษาการคอร์รัปชั่นของรัฐบาลโดยเปรียบเทียบผลลัพธ์ระหว่างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งและรัฐบาลเผด็จการที่ได้อำนาจมาจากการรัฐประหาร

“การเสียชีวิตของจอมพล สู่การเปิดเผยคอร์รัปชั่น”

การเสียชีวิตของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชในปี 1963 ได้นำไปสู่การเปิดเผยทรัพย์สินที่ถูกถือครองอยู่จำนวน 2,800 ล้านบาท ซึ่งได้พบว่ามีการใช้เงินของรัฐบาลในการนำไปต่อยอดลงทุนทรัพย์สินเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวและคนใกล้ชิด จอมพลสฤษดิ์และภรรยานั้นมีทรัพย์สินอยู่ในกว่า 45 บริษัทเอกชน มีการถือครองบัญชีธนาคารมากมายและครอบครองที่ดินกว่า 9,000 ไร่ จากการตรวจสอบพบว่า เงินกว่า 394 ล้านบาทนั้นมาจากงบลับของกองทุนตรวจสอบความมั่นคงภายใต้อำนาจของนายกรัฐมนตรี 240 ล้านบาทหน่วยงานสลากกินแบ่งรัฐบาล และประมาณ 100 ล้านบาทจากส่วนแบ่งกำไรยอดขายของสลากกินแบ่งรัฐบาล โดยรัฐบาลต่อมาสามารถยึดทรัพย์สินคืนได้เพียง 604 ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งเป็นประมาณเพียง 20% ของทรัพย์สินทั้งหมดที่สามารถยึดคืนได้เท่านั้น  

“การคอร์รัปชั่นภายใต้รัฐบาลชาติชายและการรัฐประหาร”

จนกระทั่งในปี 1988 ประเด็นคอร์รัปชั่นได้กลับมาถูกพูดถึงอีกครั้งในยุคของรัฐบาลชาติชาย ชุนหะวัน ซึ่งเป็นยุคที่เศรษฐกิจเติบโต มีโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานมากมายจากรัฐบาล แต่ละโปรเจคนั้นมีงบการพัฒนาสูงถึงหลายพันล้านบาท ซึ่งมีข่าวลือและการคาดการณ์ว่ามีการรับ “สินบน” ในโครงการพัฒนาเหล่านั้น  เจ้าหน้าที่รัฐบางคนที่ถูกแต่งตั้งโดยนายกชาติชายนั้นถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการเหล่านี้ ขอบเขตของการคอร์รัปชั่นนั้นยังถูกขยายไปถึงงบสนับสนุนด้านมนุษยธรรมจากต่างประเทศในการช่วยเหลือผู้ลี้ภัย ทหารและกองทัพก็มีข่าวลือในด้านลบจากการรับ “เงินทอน” จากการซื้อขายอาวุธ และในท้ายที่สุดรัฐบาลชาติชายก็ถูกรัฐประหารจากข้อกล่าวหาเรื่องคอร์รัปชั่น ภายหลังจากการรัฐประหาร เกิดการพยายามสร้างข่าวให้เห็นว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งมีความชั่วร้ายมากกว่าในการคอร์รัปชั่น

“งบประมาณของรัฐที่สูญเสียไปกับการคอร์รัปชั่น”

รูปแบบการคอร์รัปชั่นที่มาจากอำนาจรัฐส่วนใหญ่จะมีลักษณะของการได้รับส่วนแบ่ง (kickback) หรือการโกงจากงบโครงการพัฒนาระดับใหญ่ๆของรัฐ ยิ่งโครงการยิ่งใหญ่ยิ่งได้รับเปอร์เซ็นต์หรือเงินทอนที่มากขึ้น หลังจากนั้นไทยได้มีการแต่งตั้งองค์กรที่มีหน้าที่ตรวจสอบคอร์รัปชั่นขึ้นมาได้แก่ คณะป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (the Counter Corruption Commission: CCC) และสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (the Office of Auditor General: OAG) ทั้งสองคณะได้มีการตรวจสอบรูปแบบของโครงการพัฒนาของรัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชั่นได้หลายลักษณะ โดยเฉพาะในช่วงก่อน ปี 1976

  • การซื้อที่ดินเกินราคาประเมิน: ในปี 1972 มีการค้นพบเคสกรณีที่กรมตำรวจซื้อที่ดินเกินราคาประเมิน โดยครั้งนั้นรัฐจ่ายเงินเกินไปโดยประมาณ 23.4 ล้านบาทโดยมีราคาสูงกว่าราคาประเมินถึง 52 เปอร์เซ็นต์จากงบโครงการ
  • การร่วมลงทุนในโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของรัฐ: ในช่วงปี 1968-1972 มีการพบว่ามีความไม่โปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างภายใต้โครงการของรัฐ เช่น การซื้อวัสดุก่อสร้างเกินราคา การใช้จ่ายที่ไม่สมเหตุสมผล โดยงบที่ใช้จ่ายเป็นเงินมาจากงบของรัฐบาล มีการประเมินว่าในหนึ่งโครงการมีการจัดซื้อเกินราคาประมาณอย่างต่ำที่สุดคือ 13.4 เปอร์เซ็นต์จากงบของโครงการ
  • สิ่งปลูกสร้างที่ไม่ได้มาตราฐาน: ในช่วงปี 1968 มีการค้นพบการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างของรัฐที่ไม่ได้มาตรฐาน ตัวสิ่งปลูกสร้างมีอาการพังทลายซึ่งมีเหตุมาจากการรับน้ำหนักไม่ไหว จากการสืบสวนพบว่ามีการใช้วัสดุที่ไม่เป็นไปตามมาตราฐานก่อสร้าง ในเคสหนึ่งจากเสียหายจากการก่อสร้างโรงเรียนของรัฐ พบว่ามีการโกงจากงบประมาณ 42-50 เปอร์เซ็นต์จากงบก่อสร้างทั้งหมด
  • การจัดซื้อจัดจ้าง: ในปี 1970 โครงการก่อสร้างเขื่อนชลประทาน มีการพบการโกงการซื้อขายจำนวนปูนซีเมนส์ในการผลิตแต่ละวัน ซึ่งมีจำนวนซีเมนส์ที่ได้มาน้อยกว่าที่ตกลงกันตามใบสัญญาจัดซื้อจัดจ้าง
  • การปลอมแปลงใบเสร็จ: ในช่วงปี 1973 มีการค้นพบว่าเทศบาลอยุธยาได้ปลอมใบเสร็จจากโครงการซ่อมถนน และจากการสืบสวนตรวจสอบพบว่าไม่ได้มีการซ่อมถนนจริง ถือว่าเป็นการคอร์รัปชั่นทั้งหมด 100% จากงบประมาณของโครงการ และมีการตรวจพบการปลอมแปลงใบเสร็จอีกในหลายโครงการ
  • การคอร์รัปชั่นการซื้อที่ดินจากโครงการปลูกป่า: มีการค้นพบการคอร์รัปชั่นภายใต้โครงการปลูกป่าของรัฐ โดยการใช้พื้นที่ปลูกป่าใหม่จำนวน 3,000 ไร่ โดยมีต้นทุนอยู่ที่  700 บาทต่อไร่ แต่พอถึงเวลาจริงมีการค้นพบว่ามีการปลูกพื้นป่าจริงเพียงแค่ 2,400 ไร่

ยังมีการค้นพบถึงการคอร์รัปชั่นอีกมากที่มาจากโครงการภายใต้รัฐบาล เช่น การร่ำรวยผิดปกติของเจ้าหน้าระดับสูง การลักขโมยและยักยอกทรัพย์สินของรัฐเป็นของส่วนตน และภายใต้รัฐบาลทหารมีการพบเจอประเด็นคอร์รัปชั่นเกี่ยวกับการซื้ออาวุธของกองทัพด้วย การคอร์รัปชั่นภายใต้โครงการพัฒนาของรัฐทำให้ประเทศชาติล้วนสูญเสียทรัพยากรที่ควรจะนำไปพัฒนาให้กับประชาชนจำนวนมาก ซึ่งล้วนเป็นหน้าที่รับผิดชอบของรัฐบาลและผู้มีอำนาจในแต่ละยุคสมัย

“เปรียบเทียบความรุนแรงจากการคอร์รัปชั่นระหว่างรัฐบาลเลือกตั้งและรัฐบาลเผด็จการ”

จากการศึกษาเปรียบเทียบเรื่องความรุนแรงจากการคอร์รัปชั่นระหว่างรัฐบาลที่มาจากเลือกตั้งและการรัฐประหาร โดยเปรียบเทียบระหว่างสองรัฐบาลคือรัฐบาลทหารยุคของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชและรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของรัฐบาลชาติชาย ชุนหะวัน พบว่าสัดส่วนการคอร์รัปชั่นจากรัฐบาลทหารมีจำนวนมากกว่า โดยประเมินว่าในแต่ละปีจำนวนงบประมาณที่ถูกคอร์รัปชั่นภายใต้จอมพลสฤษดิ์คือประมาณ 0.14 % ของ GDP ซึ่งในช่วงรัฐบาลชาติชายมีสัดส่วนประมาณ 0.04 % ­ของ GDP จากตัวเลขจะเห็นได้ว่าคอร์รัปชั่นภายใต้รัฐบาลเผด็จทหารนั้นมีสัดส่วนที่ ”มากกว่า” การคอร์รัปชั่นภายใต้รัฐบาลพลเรือน
(การศึกษาครั้งนี้ สามารถตรวจสอบทรัพย์สินของจอมพลสฤษดิ์ได้เพียงบางส่วนเท่านั้น ยังมีทรัพย์สินอีกบางส่วนที่ไม่สามารถตรวจสอบได้)

อย่างไรก็ดีการตรวจสอบคอร์รัปชั่นจากสองรัฐบาลก็ยังมีข้อจำกัดอีกมากในการตรวจสอบทั้งหมด ยิ่งการเข้าถึงหลักฐานข้อมูลจากรัฐบาลเผด็จการนั้นก็ทำได้ยากมาก มีเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินได้อธิบายว่าการตรวจสอบคอร์รัปชั่นภายใต้รัฐบาลเผด็จการนั้นทำได้ยาก เพราะการรวมศูนย์อำนาจและไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ ในส่วนของรัฐบาลพลเรือนนั้นแม้ว่าจะมีการพบเจอการคอร์รัปชั่นเช่นกัน แต่ก็เป็นการคอร์รัปชั่นที่ถูกตรวจสอบได้ง่ายกว่าและมีกลไกตรวจสอบ

กล่าวโดยสรุป อำนาจทางการเมืองทางปกครองมีความสัมพันธ์โดยตรงกับการคอร์รัปชั่น แม้ว่าการคอร์รัปชั่นสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งและรัฐบาลเผด็จการ แต่โดยผลลัพธ์แล้วรัฐบาลเผด็จการมีโอกาสที่จะเกิดการคอร์รัปชั่นได้มากกว่าเนื่องจากการรวมศูนย์ของอำนาจเบ็ดเสร็จและยากในการตรวจสอบ เพราะฉะนั้นหนึ่งในการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชั่นที่ดีคือการสร้างระบบรัฐที่มีความโปร่งใส มีการคานอำนาจการตรวจสอบระหว่างกัน ระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยจึงมีความสำคัญมากในการสร้างกลไกตรวจสอบและป้องกันคอร์รัปชั่น ภาคประชาชนทุกคนจึงควรให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง การร่วมตรวจสอบและต่อต้านการรัฐประหารหรือรูปแบบของอำนาจเผด็จการนิยมทุกรูปแบบ และที่สำคัญการรัฐประหารไม่ใช่วิธีการที่ถูกต้องในการแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น

Key Point

*การแก้ปัญหาการคอร์รัปชั่นด้วยการรัฐประหารเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง

*การตรวจสอบคอร์รัปชั่นของรัฐบาลเผด็จการทหาร ทำได้ยากมาก เพราะการรวมศูนย์ของอำนาจ

*รัฐบาลสฤษดิ์ (1957-1963) พบว่ามีทรัพย์สินทั้งหมด 2,874 ล้านบาท (ถูกตัดสินยึดคืนแก่แผ่นดิน 604 ล้านบาท)

*รัฐบาลชาติชาย (1988-1990) ถูกค้นพบว่ามีนักการเมือง 10 คน ที่ถูกยึดทรัพย์สินรวมกัน 1,900 ล้านบาท (โดยนายกชาติชายถูกยึดทรัพย์จำนวน 284 ล้านบาท)

* 2,874,000,000 บาทในปี 1963 มีมูลค่าเท่ากับ 12,961,000,000 บาทในปัจจุบันปี 2024 (คิดอัตราเงินเฟ้อ 2.5% ต่อปี)

* 1,900,000,000 บาทในปี 1990 มีมูลค่าเท่ากับ 4,399,000,000 บาท (คิดอัตราเงินเฟ้อ 2.5% ต่อปี)

*** เนื้อหน้าจากหนังสือ Corruption and Democracy in Thailand บทที่ 2 โดยอาจารย์ผาสุก พงษ์ไพจิตรและอาจารย์สังศิต พิริยะรังสรรค์ ***

#PEF #peoplesempowermentfoundation #มูลนิธิศักยภาพชุมชน #anticorruption

The post ใครคอร์รัปมากกว่ากัน? appeared first on People’s Empowerment Foundation.

]]>
https://pefthailand.org/%e0%b9%83%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%84%e0%b8%ad%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%9b%e0%b8%a1%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%81%e0%b8%a7%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%99/feed/ 0 9049
การ์ตูนสิทธิมนุษยชน ตอนที่ 4 “คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน” https://pefthailand.org/%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%95%e0%b8%b9%e0%b8%99%e0%b8%aa%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%98%e0%b8%b4%e0%b8%a1%e0%b8%99%e0%b8%b8%e0%b8%a9%e0%b8%a2%e0%b8%8a%e0%b8%99-%e0%b8%95%e0%b8%ad-3/ https://pefthailand.org/%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%95%e0%b8%b9%e0%b8%99%e0%b8%aa%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%98%e0%b8%b4%e0%b8%a1%e0%b8%99%e0%b8%b8%e0%b8%a9%e0%b8%a2%e0%b8%8a%e0%b8%99-%e0%b8%95%e0%b8%ad-3/#respond Mon, 18 Mar 2024 05:56:52 +0000 https://pefthailand.org/?p=9039 การ์ตูนสิทธิมนุษยชน ตอนที่ 4 “คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน” หลายคนอาจจะเคยได้ยินคำว่า “กสม” หรือคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนบ้าง แต่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ถึงหลักการพื้นฐานและที่มาของ กสม และเหตุผลของการตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนในประเทศ โดยคำนิยามของ GANHRI (Global Alliance of National Human Rights Institutions) สถาบันสิทธิมนุษยชนจะต้องทำหน้าที่สำคัญในการรณรงค์และคุ้มครองสิทธิมนุษยชนแก่ทุกคนภายใต้อธิปไตยของประเทศนั้น สถาบันสิทธิฯควรถูกก่อตั้งโดยถูกรับรองจากรัฐธรรมนูญและรัฐบาล โดยมีอำนาจในการทำงานตรวจสอบและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนแก่คนทุกคน  สถาบันสิทธิฯควรจะได้รับงบประมาณที่เหมาะสมจากรัฐในการทำงาน และควรมีความเป็นอิสระในการทำงาน ไม่ควรถูกครอบงำโดยอำนาจของรัฐหรืออำนาจใดๆ บทบาทหนึ่งที่สำคัญคือการที่มีอำนาจในการนำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนแก่รัฐบาลในประเทศนั้นๆ และสถาบันสิทธิฯควรยึดถือหลักการสิทธิฯสากลเพื่อพัฒนาให้ประเทศเหล่านี้มีการพัฒนาด้านสิทธิฯให้เป็นไปตามหลักการสากล ตามหลักการสากล “ทุกประเทศ” ควรมีสถาบันสิทธิมนุษยชนเพื่อคอยทำหน้าที่ตรวจสอบและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในตอนนี้ขอเชิญทุกคนมาร่วมเรียนรู้ด้วยกันถึงกลไกสิทธิมนุษยชนระดับชาติ ถึงที่มา บทบาทและความสำคัญของสถาบันสิทธิมนุษยชนด้วยกัน #NHRI #NHRCT #PEF #humanrights หลักการการก่อตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนในระดับประเทศนั้นจริงๆ เป็นหลักการสากลที่มาจากที่ประชุมในเวทีของสหประชาชาติ ซึ่งถูกพูดถึงครั้งแรกในปี 1946 โดยมีข้อเสนอจาก สภาเศรษฐกิจและสังคมของสหประชาชาติได้เสนอให้แต่ละรัฐบาลก่อตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนระดับประเทศ เพื่อทำงานรณรงค์และคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในแต่ละประเทศ ซึ่งข้อเสนอนี้มีการก่อนการเกิดขึ้นของปฏิญญาสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ 2 ปี จากนั้นใช้เวลาอีกหลายปีจนถึงปี 1978 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ ได้ผลักดันประเด็นนี้อีกครั้งในที่ประชุมใหญ่ของสหประชาชาติ (General Assembly) อีกครั้ง จนในปี 1991 […]

The post การ์ตูนสิทธิมนุษยชน ตอนที่ 4 “คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน” appeared first on People’s Empowerment Foundation.

]]>
การ์ตูนสิทธิมนุษยชน ตอนที่ 4 “คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน”

หลายคนอาจจะเคยได้ยินคำว่า “กสม” หรือคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนบ้าง แต่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ถึงหลักการพื้นฐานและที่มาของ กสม และเหตุผลของการตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนในประเทศ

โดยคำนิยามของ GANHRI (Global Alliance of National Human Rights Institutions) สถาบันสิทธิมนุษยชนจะต้องทำหน้าที่สำคัญในการรณรงค์และคุ้มครองสิทธิมนุษยชนแก่ทุกคนภายใต้อธิปไตยของประเทศนั้น สถาบันสิทธิฯควรถูกก่อตั้งโดยถูกรับรองจากรัฐธรรมนูญและรัฐบาล โดยมีอำนาจในการทำงานตรวจสอบและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนแก่คนทุกคน  สถาบันสิทธิฯควรจะได้รับงบประมาณที่เหมาะสมจากรัฐในการทำงาน และควรมีความเป็นอิสระในการทำงาน ไม่ควรถูกครอบงำโดยอำนาจของรัฐหรืออำนาจใดๆ บทบาทหนึ่งที่สำคัญคือการที่มีอำนาจในการนำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนแก่รัฐบาลในประเทศนั้นๆ และสถาบันสิทธิฯควรยึดถือหลักการสิทธิฯสากลเพื่อพัฒนาให้ประเทศเหล่านี้มีการพัฒนาด้านสิทธิฯให้เป็นไปตามหลักการสากล

ตามหลักการสากล “ทุกประเทศ” ควรมีสถาบันสิทธิมนุษยชนเพื่อคอยทำหน้าที่ตรวจสอบและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในตอนนี้ขอเชิญทุกคนมาร่วมเรียนรู้ด้วยกันถึงกลไกสิทธิมนุษยชนระดับชาติ ถึงที่มา บทบาทและความสำคัญของสถาบันสิทธิมนุษยชนด้วยกัน

#NHRI #NHRCT #PEF #humanrights

หลักการการก่อตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนในระดับประเทศนั้นจริงๆ เป็นหลักการสากลที่มาจากที่ประชุมในเวทีของสหประชาชาติ ซึ่งถูกพูดถึงครั้งแรกในปี 1946 โดยมีข้อเสนอจาก สภาเศรษฐกิจและสังคมของสหประชาชาติได้เสนอให้แต่ละรัฐบาลก่อตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนระดับประเทศ เพื่อทำงานรณรงค์และคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในแต่ละประเทศ ซึ่งข้อเสนอนี้มีการก่อนการเกิดขึ้นของปฏิญญาสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ 2 ปี

จากนั้นใช้เวลาอีกหลายปีจนถึงปี 1978 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ ได้ผลักดันประเด็นนี้อีกครั้งในที่ประชุมใหญ่ของสหประชาชาติ (General Assembly) อีกครั้ง

จนในปี 1991 ได้เกิดการฝึกอบรมครั้งแรกเกี่ยวกับการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนระดับประเทศ ในประเทศฝรั่งเศส จึงเกิดหลักการพื้นฐานของสถาบันสิทธิมนุษยชนขึ้น เรียกว่า “หลักการปารีส” (Paris Principle) ซึ่งสถาบันสิทธิฯในทุกประเทศจำเป็นต้องยึดตามหลักการปารีสนี้ เป็นคุณลักษณะพื้นฐานของสถาบันสิทธิมนุษยชนในทุกประเทศ

ในปี 1993 ได้มีการก่อตั้งองค์กรสากลที่คอยตรวจสอบสถานการณ์ทำงานของสถาบันสิทธิฯระดับชาติทั่วโลก (ตอนนั้นใช้ชื่อว่า the International Coordinating Committee of the National Institute: ICC) ซึ่งในภายหลังในปี 2016 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น Global Alliance of National Human Rights Institutions (GANHRI) โดยมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนสถาบันสิทธิฯในทุกประเทศ และให้การรับรองสถานะของสถาบันสิทธิฯในแต่ละประเทศว่าเป็นไปตามหลักการปารีสหรือไม่

TIP: ประเทศแรกที่ตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนได้แก่ ออสแตเรีย ซึ่งก่อตั้งในปี 1970 ซึ่งต่อมาประเทศนิวซีแลนด์และฟิลิปปินส์ได้ก่อตั้งตามมา  

หลักการปารีส (Paris Principle) ถือเป็นหลักการสำคัญพื้นฐานของสถาบันสิทธิมนุษยชนระดับชาติ โดยรัฐบาลทุกรัฐจะต้องให้บทบาทและอำนาจพื้นฐานในการทำงานด้านสิทธิมนุษยชนดังนี้

1. มีเป้าหมาย ในการทำงานรณรงค์และคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

2. มีอำนาจและหน้าที่ ในการให้ข้อเสนอแนะและติดตามสถานการณ์สิทธิฯที่ถูกร้องเรียน รวมถึงการให้การศึกษาสิทธิมนุษยชน

3. มีความเป็นอิสระจากรัฐบาล สถาบันสิทธิฯต้องมีอิสระจากรัฐ โดยต้องถูกรับรองโดยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ

4. มีความหลากหลาย คณะกรรมการสิทธิฯควรประกอบด้วยตัวแทนที่มาจากความหลากหลายทางสังคม

5. มีอำนาจในการตรวจสอบ ต้องอำนาจในการตรวจสอบและสามารถเข้าถึงเอกสาร หลักฐานต่างๆในการตรวจสอบ

6. มีทรัพยากรที่เพียงพอและเหมาะสม ต้องได้รับเงินสนับสนุน เจ้าหน้าที่ ในการทำงานด้านมนุษยชนอย่างเพียงพอและเหมาะสมในการดำเนินงาน

7. มีความร่วมมือ ต้องทำงานร่วมกับสถาบันด้านสิทธิฯประเทศอื่นๆ รวมถึงองค์กรภาคประชาสังคม

8. ร่วมมือกับกลไกระหว่างประเทศ ต้องทำงานร่วมกับกลไกสิทธิฯระหว่างประเทศระดับสากลและภูมิภาค  

GANHRI จะมีบทบาทในการประเมินตามหลักเกณฑ์สถาบันสิทธิฯในแต่ละประเทศ ตามหลักการปารีส โดยแบ่งเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่

  • สถานะ A – สถาบันสิทธิฯที่ทำงานตามหลักการปารีส
  • สถานะ B – สถาบันสิทธิฯที่ทำงานตามหลักการปารีสได้เพียงบางส่วน
  • สถานะ C –  สถาบันสิทธิฯที่ไม่ได้ทำงานตามหลักการปารีส

อย่างไรก็ดีสถาบันสิทธิฯระดับประเทศนั้น ต้องมีการทำงานร่วมกันในระดับภูมิภาคจนถึงระดับสากลโลกด้วย ในแต่ละภูมิภาคได้มีการสร้างรูปแบบการทำงานระหว่างภูมิภาคเพื่อประชุมและหารือในประเด็นสิทธิฯ ระหว่างภูมิภาค โดยแบ่งเป็น 4 ภูมิภาคได้แก่

  • The Network of African National Human Rights Institutions มีสมาชิกร่วม 33 ประเทศ
  • The Network of National Institutions for the Promotion and Protection of Human Rights in the Americas มีสมาชิกร่วม 18 ประเทศ
  • The Asia-Pacific Forum of National Human Rights Institutions มีสมาชิกร่วม 28 ประเทศ
  • The European Group of National Institutions for the Promotion and Protection of Human Rights มีสมาชิกร่วม 37 ประเทศ

ปัจจุบันในภูมิภาคอาเซียนมีสมาบันสิทธิมนุษยชนแค่เพียง 5 ประเทศเท่านั้น ได้แก่ พม่า ไทย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซียและมาเลเซีย

ในส่วนของสถาบันสิทธิมนุษยชนของไทยนั้น ได้เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2004 และมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า “คณะกรรมการสถาบันสิทธิมนุษยชนประเทศไทย: กสม” (The National Human Rights Commission Thailand: NHRCT) โดย กสม ของไทยคณะปัจจุบันนั้นได้ถูกรับรองโดยรัฐธรรมนูญปี 2560 มาตรา 246 และ 247 และได้มี พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พรป) ว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งประชาติ 2560 ประกอบคู่กันอีกฉบับ ซึ่งมีอำนาจในการกำหนดบทบาทของ กสม ไทยในปัจจุบัน

โดย พรป ว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งประชาติ 2560 ได้กำหนดกระบวนการคัดสรร กสม ซึ่งมาจากการแต่งตั้งทีมคัดสรรและต้องได้รับการรับรองโดยวุฒิสภา (สว)

กสม ของไทยเคยถูกลดสถานะให้เป็น B ครั้งหนึ่งในปี 2015 และได้กลับมาเลื่อนสถานะเป็น A อีกครั้งในปี 2022

ตามรัฐธรรมนูญ 2560 กสม มีจำนวนคณะกรรมการ 7 คน ในปี 2563 มีงบประมาณในการทำงาน 222 ล้านบาท และมีเจ้าหน้าที่ทั้งหมด 276 คน รวมถึงปัจจุบันมีศูนย์ประสานงานทั่วประเทศไทย 12 ศูนย์

กล่าวโดยสรุป สถาบันสิทธิมนุษยชนนั้นเป็นหลักการสากลในการผลักดันและสนับสนุนให้สมาชิกของยูเอ็นมีการก่อตั้งสถาบันสิทธิฯในประเทศ โดยควรยืนอยู่บนหลักการปารีส (Paris Principle) ที่ยึดถือเป็นหลักการพื้นฐานของสถาบันสิทธิฯ เพื่อทำงานสนับสนุนและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนภายใต้ขอบเขตอำนาจของรัฐบาลไทย และต้องมีความเป็นอิสระจากรัฐบาล

การทำงานของสถาบันสิทธิฯเหล่านี้ จะถูกทบทวนและตรวจสอบโดย Global Alliance of National Human Rights Institutions (GANHRI) ซึ่งจะทำงานคอยตรวจสอบว่าสถาบันสิทธิฯเหล่านี้ทำงานตามหลักการปารีสหรือไม่ และคอยกำหนดให้การรับรองสถานะคุณของสถาบันสิทธิฯในแต่ละประเทศ

ในอาเซียนปัจจุบันมีสถาบันสิทธิฯเพียงห้าประเทศเท่านั้น ได้แก่ เมียนม่า ไทย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซียและมาเลเซีย ซึ่งมีเพียงประเทศเมียนม่าเท่านั้นที่มีสถานะ B

The post การ์ตูนสิทธิมนุษยชน ตอนที่ 4 “คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน” appeared first on People’s Empowerment Foundation.

]]>
https://pefthailand.org/%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%95%e0%b8%b9%e0%b8%99%e0%b8%aa%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%98%e0%b8%b4%e0%b8%a1%e0%b8%99%e0%b8%b8%e0%b8%a9%e0%b8%a2%e0%b8%8a%e0%b8%99-%e0%b8%95%e0%b8%ad-3/feed/ 0 9039
Recommendations from “Closed Door Workshop on Advancing the Thai-Foreign Policy on Ethnic Groups Along the Thai-Myanmar Border” https://pefthailand.org/recommendations-from-closed-door-workshop-on-advancing-the-thai-foreign-policy-on-ethnic-groups-along-the-thai-myanmar-border/ https://pefthailand.org/recommendations-from-closed-door-workshop-on-advancing-the-thai-foreign-policy-on-ethnic-groups-along-the-thai-myanmar-border/#respond Mon, 18 Mar 2024 05:24:00 +0000 https://pefthailand.org/?p=9030 Recommendations from “Closed Door Workshop on Advancing the Thai-Foreign Policy on Ethnic Groups Along the Thai-Myanmar Border” On 24-25 February 2024, PEF co-organized a closed-door meeting with the Regional Center for Social Science and Sustainable Development (RCSD), Chiang Mai University, and The Institute of Security and International Studies (Thai ISIS). The meeting aims to strengthen […]

The post Recommendations from “Closed Door Workshop on Advancing the Thai-Foreign Policy on Ethnic Groups Along the Thai-Myanmar Border” appeared first on People’s Empowerment Foundation.

]]>
Recommendations from “Closed Door Workshop on Advancing the Thai-Foreign Policy on Ethnic Groups Along the Thai-Myanmar Border”

On 24-25 February 2024, PEF co-organized a closed-door meeting with the Regional Center for Social Science and Sustainable Development (RCSD), Chiang Mai University, and The Institute of Security and International Studies (Thai ISIS). The meeting aims to strengthen security measures, address the humanitarian needs of ethnic groups along the border, and enhance collaboration among Thailand and other ethnic groups. 56 participants actively participated in the meeting.

The meeting produced 11 recommendations within three thematic topics: humanitarian aid, enhanced engagement, and displaced persons, refugees, and migrants.

The post Recommendations from “Closed Door Workshop on Advancing the Thai-Foreign Policy on Ethnic Groups Along the Thai-Myanmar Border” appeared first on People’s Empowerment Foundation.

]]>
https://pefthailand.org/recommendations-from-closed-door-workshop-on-advancing-the-thai-foreign-policy-on-ethnic-groups-along-the-thai-myanmar-border/feed/ 0 9030
Human Rights Cartoon, Chapter 3 “AICHR, Inter-ASEAN Commission on Human Rights” https://pefthailand.org/human-rights-cartoon-chapter-3-aichr-inter-asean-commission-on-human-rights/ https://pefthailand.org/human-rights-cartoon-chapter-3-aichr-inter-asean-commission-on-human-rights/#respond Mon, 26 Feb 2024 13:35:19 +0000 https://pefthailand.org/?p=9021 Get to know AICHR (ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights), the ASEAN’s intergovernmental cooperation on human rights. According to the ASEAN Charter, there is also an agreement to establish an ASEAN human rights institution, which is later called “AICHR” (Inter-ASEAN Commission on Human Rights), to work to promote and protect human rights at the ASEAN […]

The post Human Rights Cartoon, Chapter 3 “AICHR, Inter-ASEAN Commission on Human Rights” appeared first on People’s Empowerment Foundation.

]]>
Get to know AICHR (ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights), the ASEAN’s intergovernmental cooperation on human rights. According to the ASEAN Charter, there is also an agreement to establish an ASEAN human rights institution, which is later called “AICHR” (Inter-ASEAN Commission on Human Rights), to work to promote and protect human rights at the ASEAN level.


How does AICHR work? What is the role of AICHR? Get to know AICHR through the human rights cartoon chapter 3 “AICHR, Inter-ASEAN Commission on Human Rights.”

ASEAN was officially established in 1967 at Saranrom Palace in Thailand. It was first started by five key member countries: Thailand, Malaysia, Indonesia, Philippines, and Singapore. Its main objective is to create cooperation in economics, society, culture, education, and various sciences, including promoting peace and stability.

In the beginning, ASEAN would meet only during times of necessity or when international conflicts occurred in Southeast Asia. There was no official annual meeting; the meetings were occasionally held.  The role of the ASEAN during its initial period was to reduce conflict between governments in the region.

After ASEAN had traveled for more than 41 years, it was agreed to write an ASEAN constitution called the “ASEAN Charter,” which systemizes the ASEAN States to create strong cooperation between governments.  

The ASEAN Charter establishes ASEAN meetings yearly at various levels, such as the ASEAN Summit, ministerial meetings, sectoral body meetings and others. However, the problem of the ASEAN Charter is the lack of a parliamentary and judicial mechanism, which excludes the role of the ASEAN people to engage with.

Essentially, Article 14 of the ASEAN Charter requires the existence of regional human rights institutions carrying out the duties of promoting and protecting human rights in ASEAN.

After establishing the AICHR, the TOR was created to specify the scope of the AICHR’s work. But there are still many restrictions on people’s participation. Anyone wanting to work with AICHR must go through the accreditation process approved by AICHR to work with AICHR. In summary, the AICHR is an intergovernmental body as a representative system appointed by the ASEAN member states to promote human rights issues in the region. 

Since the founding of AICHR in 2009 until 2021, Thailand has already had a total of three AICHR representatives during five terms: Dr. Sriprapa Phetchameesri (1 term), Dr. Seri Nonthasut (2 terms), and Professor Amara Phongsapitch (2 terms).

Each country has a different AICHR selection process. Regarding Thailand, the Ministry of Foreign Affairs appoints the selection committees to select Thai representatives of AICHR, consisting of nine representatives from the government, academics, civil society, and the media, to determine criteria and procedures for jointly selecting Thai representatives.

In summary, the AICHR was established in accordance with the ASEAN Charter in 2008. It is the regional mechanism through which each government in ASEAN appoints representatives to promote human rights. However, AICHR still has limitations on human rights protection, and most of its work could be done only by organizing regional seminars and human rights training.

The post Human Rights Cartoon, Chapter 3 “AICHR, Inter-ASEAN Commission on Human Rights” appeared first on People’s Empowerment Foundation.

]]>
https://pefthailand.org/human-rights-cartoon-chapter-3-aichr-inter-asean-commission-on-human-rights/feed/ 0 9021
รากเหง้าปัญหาคอร์รัปชั่นของประเทศไทย https://pefthailand.org/%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b8%87%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%9b%e0%b8%b1%e0%b8%8d%e0%b8%ab%e0%b8%b2%e0%b8%84%e0%b8%ad%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%9b%e0%b8%8a%e0%b8%b1/ https://pefthailand.org/%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b8%87%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%9b%e0%b8%b1%e0%b8%8d%e0%b8%ab%e0%b8%b2%e0%b8%84%e0%b8%ad%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%9b%e0%b8%8a%e0%b8%b1/#respond Wed, 21 Feb 2024 14:54:15 +0000 https://pefthailand.org/?p=9016 ปัญหาคอร์รัปชั่นเป็นปัญหาที่มักจะได้ยินมาโดยตลอดคู่ขนานกับบริบทการเมืองของไทยทุกยุคทุกสมัย ไม่ว่าในรัฐสภา ตามสื่อ หรือในหลายครั้งนั้นปัญหาคอร์รัปชั่นมักถูกอ้างให้นำไปสู่การรัฐประหารหรือยึดอำนาจ ก็ยังเป็นเรื่องยากที่จะทำความเข้าใจปัญหาบริบทคอร์รัปชั่น การเข้าใจปัญหาคอร์รัปชั่นของไทย จึงจำเป็นจะต้องย้อนไปเข้าใจถึงประวัติศาสตร์ที่มาของรากเหง้าทางวัฒนธรรมของไทย โดยผลการศึกษาหลายฉบับได้อธิบายว่าปรากฏการณ์คอร์รัปชั่นของประเทศไทยแท้จริงแล้วเกิดมาจากรากเหง้าของระบบอุปภัมภ์ ในช่วงของระบอบศักดินา (Feudal System) ซึ่งเป็นประเพณีพื้นฐานของคนไทยที่มักจะมอบสินน้ำใจ(ของขวัญ)ให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ ซึ่งจะรับสินน้ำใจเหล่านั้นแลกเปลี่ยนกับการให้ช่วยเหลือ เจ้าหน้าที่รับสินน้ำใจนั้นก็จะหักส่วนแบ่งของจนก่อนส่งให้กับรัฐ ประเพณีและวัฒนธรรมเหล่านี้เกิดเป็นปัญหาขึ้นภายหลังจากไทยเริ่มรับแนวคิดการปกครองของตะวันตกสู่ประเทศไทย อย่างไรก็ดี แม้ว่าไทยจะเริ่มเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองโดยนำเอาแนวคิดตามหลักของตะวันตกเข้ามาสู่ระบบการปกครองของไทย โดยระบบการปกครองแบบนี้กลับส่งผลให้เกิดการเติบโตของระบบอุปถัมภ์ในระบบราชการไทย สิ่งที่ทำให้ระบบอุปถัมภ์มีอิทธิพลมากก็เพราะความอ่อนแอของสถาบันที่ยึดโยงกับประชาชน เช่น รัฐสภาและพรรคการเมือง ระบบอุปถัมภ์เข้าไปอยู่ในระบบสถาบันทางการเมืองซึ่งส่งผลให้เกิดการรับผลประโยชน์ ระบบอุปถัมภ์นั้นมักจะเติบโตในสังคมที่มีความเหลื่อมล้ำทางด้านทรัพย์สิน สถานะและอำนาจทางการเมือง คนที่ไม่มีอำนาจในสังคมจะเข้าหาระบบอุปถัมภ์ผ่านการให้การเคารพ สินน้ำใจ เมื่อต้องการอำนาจความชอบธรรมและความปลอดภัยทางสังคม ในส่วนของผู้อำนาจจะพยายามขยายเครือข่ายของตนเพื่อขยายอำนาจในการรับสินน้ำใจและทรัพย์สิน และผู้มีอำนาจก็จำเป็นที่จะต้องบริหารเงินและทรัพยากรในการดูแลและคุ้มครองในกลุ่มคนของตน เพื่อให้มีอำนาจแข่งขันเหนือกลุ่มอำนาจอื่นๆ ระบบเหล่านี้ได้นำไปสู่การเกิดการแลกเปลี่ยนระหว่าง “เงิน” กับ “อำนาจของรัฐ” ซึ่งได้นำไปสู่รูปแบบการคอร์รัปชั่นต่างๆ อาทิเช่น การให้สินบน ค่ายักยอกเงิน การดำเนินการธุรกิจผิดกฎหมายโดยใช้อำนาจทางการเมือง   การแลกเปลี่ยนระหว่าง “เงิน” และ “อำนาจของรัฐ” ได้นำสู่การแข่งขันเพื่อแย่งชิงอำนาจทางการเมืองแบบสุดโต่ง คือการนำไปสู่การรัฐประหาร มีเหตุการณ์การรัฐประหารโดยทหารหลายครั้งเพื่อแย่งชิงอำนาจเพราะว่ารัฐบาลพลเมืองปฏิเสธการให้กองทัพเข้าถึงเงินทุนของรัฐ เช่นการรัฐประหารรัฐบาลควง อภัยวงศ์ในปี 1947 และ รัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงครามในปี 1957 […]

The post รากเหง้าปัญหาคอร์รัปชั่นของประเทศไทย appeared first on People’s Empowerment Foundation.

]]>
ปัญหาคอร์รัปชั่นเป็นปัญหาที่มักจะได้ยินมาโดยตลอดคู่ขนานกับบริบทการเมืองของไทยทุกยุคทุกสมัย ไม่ว่าในรัฐสภา ตามสื่อ หรือในหลายครั้งนั้นปัญหาคอร์รัปชั่นมักถูกอ้างให้นำไปสู่การรัฐประหารหรือยึดอำนาจ ก็ยังเป็นเรื่องยากที่จะทำความเข้าใจปัญหาบริบทคอร์รัปชั่น

การเข้าใจปัญหาคอร์รัปชั่นของไทย จึงจำเป็นจะต้องย้อนไปเข้าใจถึงประวัติศาสตร์ที่มาของรากเหง้าทางวัฒนธรรมของไทย โดยผลการศึกษาหลายฉบับได้อธิบายว่าปรากฏการณ์คอร์รัปชั่นของประเทศไทยแท้จริงแล้วเกิดมาจากรากเหง้าของระบบอุปภัมภ์ ในช่วงของระบอบศักดินา (Feudal System) ซึ่งเป็นประเพณีพื้นฐานของคนไทยที่มักจะมอบสินน้ำใจ(ของขวัญ)ให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ ซึ่งจะรับสินน้ำใจเหล่านั้นแลกเปลี่ยนกับการให้ช่วยเหลือ เจ้าหน้าที่รับสินน้ำใจนั้นก็จะหักส่วนแบ่งของจนก่อนส่งให้กับรัฐ ประเพณีและวัฒนธรรมเหล่านี้เกิดเป็นปัญหาขึ้นภายหลังจากไทยเริ่มรับแนวคิดการปกครองของตะวันตกสู่ประเทศไทย

อย่างไรก็ดี แม้ว่าไทยจะเริ่มเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองโดยนำเอาแนวคิดตามหลักของตะวันตกเข้ามาสู่ระบบการปกครองของไทย โดยระบบการปกครองแบบนี้กลับส่งผลให้เกิดการเติบโตของระบบอุปถัมภ์ในระบบราชการไทย สิ่งที่ทำให้ระบบอุปถัมภ์มีอิทธิพลมากก็เพราะความอ่อนแอของสถาบันที่ยึดโยงกับประชาชน เช่น รัฐสภาและพรรคการเมือง ระบบอุปถัมภ์เข้าไปอยู่ในระบบสถาบันทางการเมืองซึ่งส่งผลให้เกิดการรับผลประโยชน์ ระบบอุปถัมภ์นั้นมักจะเติบโตในสังคมที่มีความเหลื่อมล้ำทางด้านทรัพย์สิน สถานะและอำนาจทางการเมือง คนที่ไม่มีอำนาจในสังคมจะเข้าหาระบบอุปถัมภ์ผ่านการให้การเคารพ สินน้ำใจ เมื่อต้องการอำนาจความชอบธรรมและความปลอดภัยทางสังคม ในส่วนของผู้อำนาจจะพยายามขยายเครือข่ายของตนเพื่อขยายอำนาจในการรับสินน้ำใจและทรัพย์สิน และผู้มีอำนาจก็จำเป็นที่จะต้องบริหารเงินและทรัพยากรในการดูแลและคุ้มครองในกลุ่มคนของตน เพื่อให้มีอำนาจแข่งขันเหนือกลุ่มอำนาจอื่นๆ ระบบเหล่านี้ได้นำไปสู่การเกิดการแลกเปลี่ยนระหว่าง เงิน กับ อำนาจของรัฐ ซึ่งได้นำไปสู่รูปแบบการคอร์รัปชั่นต่างๆ อาทิเช่น การให้สินบน ค่ายักยอกเงิน การดำเนินการธุรกิจผิดกฎหมายโดยใช้อำนาจทางการเมือง  

การแลกเปลี่ยนระหว่าง “เงิน” และ “อำนาจของรัฐ” ได้นำสู่การแข่งขันเพื่อแย่งชิงอำนาจทางการเมืองแบบสุดโต่ง คือการนำไปสู่การรัฐประหาร มีเหตุการณ์การรัฐประหารโดยทหารหลายครั้งเพื่อแย่งชิงอำนาจเพราะว่ารัฐบาลพลเมืองปฏิเสธการให้กองทัพเข้าถึงเงินทุนของรัฐ เช่นการรัฐประหารรัฐบาลควง อภัยวงศ์ในปี 1947 และ รัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงครามในปี 1957 โดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัช

การคงอยู่ของระบบศักดินาและการคอร์รัปชั่นของไทย

เจ้าหน้าที่ของไทยในยุคสมัยที่ไทยอยู่ในระบบศักดินา แม้ว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐในขณะนั้นทำงานภายใต้คำสั่งของผู้บังคับบัญชา แต่เจ้าหน้าที่นั้นไม่ได้รับค่าจ้างหรือรายได้จากรัฐ เจ้าหน้าที่เหล่านี้จะได้รับค่าจ้างจากส่วนแบ่งที่ได้สัดส่วนจากภาษีที่เก็บได้หรือการได้รับค่าตอบแทนจากการให้บริการรัฐช่วยเหลือ ภายใต้ระบบนี้แนวคิดของการคอร์รัปชั่นจะถูกเรียกว่า “การช่อราษฎร์บังหลวง” ใช้เรียกเจ้าหน้าที่รัฐที่เก็บส่วนแบ่งที่มากเกินพอดีเจ้ากระเป๋าตัวเอง ส่วนคำว่า “กินเมือง” หมายถึงเจ้าหน้าที่รัฐที่มีลักษณะของความร่ำรวยที่มากกว่าปกติ โดยการใช้อำนาจของตัวเองในทางที่ผิด  

ในช่วงเปลี่ยนผ่านการปกครองเข้าสู่ระบบราชการ (Bureaucracy) ยังคงเป็นการรวมแนวคิดการปกครองที่ยังยึดติดกับแนวคิดของระบบศักดินาตามข้อสังเกตดังนี้  ประเด็นแรกระบบราชการแบบใหม่ยังคงถูกครอบงำโดยชนชั้นนำ ประเด็นที่สองผู้มีอำนาจสูงสุดในระบบการปกครองคือสถาบันพระมหากษัตริย์แสดงให้เห็นถึงว่าระบบราชการแบบใหม่ยังคงมีสิ่งยึดโยงกับวัฒนธรรมศักดินา ประเด็นที่สาม เงินเดือนที่น้อยของเจ้าหน้าที่ราชการที่ทำให้เจ้าหน้าที่ระดับสูงมีอำนาจเหนือเจ้าหน้าที่ระดับล่างในการสั่งหาให้จัดหาเงินโดยมิชอบ

ในช่วงการเปลี่ยนผ่านการปกครองเข้าสู่ระบบประชาธิปไตย 1932 (พ.ศ. 2475) ก็ได้ส่งผลในการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครอง เช่น การแยกรายได้ของสถาบันพระมหากษัตริย์ออกจากรายได้ของรัฐบาล และในช่วงนี้ก็ได้ปรับเปลี่ยนระเบียบระบบราชการโดยมีการระบุคำว่า “ฉ้อราษฎร์บังหลวง” เป็นคำที่มีนัยยะเกี่ยวกับพฤติการณ์ที่นำไปสู่การคอร์รัปชั่น มีการระบุรูปแบบพฤติกรรมเช่น การขู่เข็ญ บีบบังคับเพื่อทรัพย์สิน การรับสินบน รวมถึงการใช้อำนาจรัฐเพื่อผลประโยชน์ส่วนตน

จนกระทั่งในปี 1975 ได้เกิดการตั้ง ”คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในราชการ (the Counter Corruption Commissions, CCC)” ขึ้น โดยมีจุดประสงค์แรก เพื่อตรวจสอบเจ้าหน้าที่รัฐที่ใช้อำนาจในทางที่ผิดหรือละเลยการปฏิบัติหน้าที่ และจุดประสงค์ที่สองคือการตรวจสอบพฤติการณ์ของเจ้าหน้าที่รัฐที่จะนำไปสู่การเอื้อให้เกิดการใช้เงินของรัฐผิดวัตถุประสงค์ รวมถึงการเอื้อให้กลุ่มบุคคลอื่นๆ (third party) สามารถเข้ามามีผลประโยชน์ภายใต้อำนาจของรัฐ โดยได้ถูกให้คำนิยามได้ว่า “การประพฤติมิชอบ” ในช่วงนี้แม้ว่าจะมีการพยายามปราบปรามคอร์รัปชั่น แต่สังคมส่วนใหญ่ยังคงยอมรับพฤติการณ์คอร์รัปชั่นตามที่ได้ถูกกำหนดคำนิยามไว้ เช่นการให้สินน้ำใจเจ้าหน้าที่รัฐ พฤติกรรมเหล่านี้ได้นำไปสู่การเกิดของวัฒนธรรมการคอร์รัปชั่นจากระบบเก่าสู่รูปแบบระบบราชการใหม่

การเกิดวัฒนธรรมรูปแบบใหม่กับการคอร์รัปชั่น

การพัฒนาและรัฐสมัยใหม่นั้นเติบโตขึ้นพร้อมกับอำนาจของทหารและกองทัพ ซึ่งต่อมากองทัพได้มีความข้องเกี่ยวกับกลางเมืองไทยมาโดยตลอด ทั้งการเข้าไปมีอำนาจในรัฐสภาผ่านการรัฐประหาร การมีตำแหน่งในบอร์ดผู้บริหารของภาคธุรกิจ การมีอำนาจในช่วงระหว่างความไม่แน่นอนทางการเมืองเพื่อจัดการผลประโยชน์ผ่านงบประมาณของรัฐ หนึ่งในเหตุผลที่กองทัพมีอำนาจมากนั้นมาจากในช่วงปี 1960 ที่มีงบประมาณมหาศาลให้แก่กองทัพเนื่องจากปัญหาในคาบสมุทรอินโดจีนและการก่อตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์ โดยในช่วงแรกกองทัพได้รับเงินสนับสนุนจากประเทศอเมริกา และหลังจากปี 1975 ที่อเมริกาหยุดการสนับสนุน งบส่วนนี้จึงได้รับมาจากงบประมาณของประเทศแทน มีข้อถกเถียงและข้อสังเกตว่างบในการซื้ออาวุธของกองทัพนั้นมักมีเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกองทัพมีส่วนเกี่ยวข้องด้วยเสมอ

การเกิดรูปแบบของการรับสินบนจากโครงการพัฒนาของรัฐ ซึ่งเปิดให้ภาคเอกชนสามารถเข้าไปรับงานโครงการของรัฐได้ โดยนโยบายเหล่านี้นำไปสู่การเกิดรูปแบบการจ่ายและรับสินบน (kickback) เพื่อได้รับโอกาสได้การรับงานของรัฐ 

การเกิดขึ้นของเจ้าพ่อหรือผู้มีอำนาจในบริบทการเมืองท้องถิ่น มีการศึกษาถึงบทบาทของกลุ่มเจ้าพ่อว่ามีความซับซ้อนมากในบริบทการเมืองไทย เจ้าพ่อเหล่านี้มักมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟนกับประชาชนท้องถิ่นรวมถึงกลุ่มนักธุรกิจ และเจ้าพ่อส่วนใหญ่มักมีอิทธิพลที่นำไปสู่เส้นสายความสัมพันธ์และความสำเร็จทางธุรกิจ มีหลายกรณีที่เจ้าพ่อท้องถิ่นต่างให้การสนับสนุนกลุ่มการเมืองต่างๆเพื่อให้ตนมีอำนาจในเชิงบริหารและนิติบัญญัติเพื่อต่อรองและต่อยอดผลประโยชน์ท้องถิ่นของตนและกลุ่มเครือข่าย

คอร์รัปชั่นได้เริ่มถูกนำมาเป็นประเด็นทางการเมืองจากการถูกทำให้เป็นเหตุผลของประรัฐประหารในปี 1991 โดยกลุ่มทหาร ภายหลังการรัฐประหารได้มีการแต่งตั้ง”คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน” ซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบรัฐมนตรีพบว่า 13 รัฐมนตรีจากทั้งหมด 25 คน นั้นมีสภาวะ “ร่ำรวย” ผิดปกติ โดยคณะกรรมการได้ทำการสั่งให้ยึดทรัพย์สินทั้งหมดกว่า 1.9 พันล้านบาท โดยหลักฐานที่พบได้ส่วนใหญ่จะเป็นการรับสินบนจากนักธุรกิจที่ยอมจ่ายสินบนเพื่อได้รับใบอนุญาติในการดำเนินธุรกิจหรือการทำสัญญาธุรกิจกับภาครัฐ

ประชาธิปไตยกับการคอร์รัปชั่น

พลวัติทางการเมืองและอำนาจนั้นมีผลโดยตรงกับคอร์รัปชั่น ในช่วงปี 1963 หลังจากการเสียชีวิตของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้พบการเกี่ยวข้องกับเงินคอร์รัปชั่นที่มาจากงบประมาณของแผ่นดินกว่า 2,784 ล้านบาท ซึ่งเป็นการคอร์รัปชั่นที่ใช้ระยะสะสมเวลาหลายปีโดยที่สาธารณชนไม่ทราบมาก่อน นั่นแสดงให้เห็นถึงอำนาจทางการเมืองภายใต้ระบบทหารที่สามารถปกปิดพฤติการณ์คอร์รัปชั่นจากการรับรู้ของสาธารณชน

ความก้าวหน้าของระบบอุตสาหกรรมและการพัฒนาเศรษฐกิจล้วนส่งผลโดยตรงถึงกระบวนการให้เกิดคอร์รัปชั่น ทั้งการเพิ่มโอกาสในการคอร์รัปชั่นผ่านงบประมาณภาษี รวมถึงการเพิ่มอัตราการแข่งขันให้การเข้าถึงทุนงบประมาณภาษีของรัฐ ผู้ที่สามารถเข้าถึงอำนาจทางการเมืองจะสามารถควบคุมงบประมาณของชาติได้  การเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้นได้ส่งผลอีกนัยยะเชิงอำนาจ คือการสร้างรูปแบบการคอร์รัปชั่นที่มีความเกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาประชาธิปไตย การเลือกตั้ง, จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและรัฐมนตรีกระทรวงต่างๆล้วนมีอำนาจในการเข้าถึงโอกาสการคอร์รัปชั่นทั้งนั้น ผลประโยชน์จากการคอร์รัปชั่นยังเป็นปัจจัยสำคัญในความเข็มแข็งของพรรคการเมืองหลายๆพรรคอีกด้วย

อำนาจในการจัดสรรงบประมาณนี้ยังส่งผลไปสู่การยึดอำนาจรัฐประหาร เช่นในปี 1991 แสดงถึงการแข่งขันในการแย่งอำนาจรัฐเพื่อการเข้าถึงงบประมาณ เมื่อก่อนการรัฐประหารนนั้นมีข่าวมากมายว่าโครงการพื้นฐานของรัฐหลายโครงการนั้นมีการจ่ายเงินสินบนจากภาคธุรกิจ ซึ่งหนึ่งวันก่อนการรัฐประหารนั้น คณะรัฐมนตรีได้มีการประกาศไม่ให้เงินสนับสนุนทหารในการอนุมัติงบซื้ออาวุธ จากนั้นหลังจากการรัฐประหารจึงมีการเข้ายึดทรัพย์สินของนักการเมืองทั้งหมดที่มีแนวโน้มเกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชั่น สิ่งเหล่านี้ล้วนแสดงให้เห็นถึงการแข่งขันทางอำนาจระหว่างทหารและนักการเมืองในการเข้าถึงทรัพยากรงบประมาณของรัฐ

การเพิ่มขึ้นของจำนวนคอร์รัปชั่นยังส่งผลไปถึงทัศนคติของสาธารณชนทั่วไปผ่านกระบวนการประชาธิปไตย เช่น ทหารที่ก่อการรัฐประหารได้สร้างวาทกรรมว่ารัฐบาลที่ผ่านการเลือกตั้งมามีพฤติกรรมที่ส่อให้เกิดการคอร์รัปชั่น เช่นการซื้อเสียงและการรับสินบน

“คอร์รัปชั่นกับโลกยุคใหม่”

มีการศึกษาโดย Huntington ได้อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการเข้าสู่ยุคสมัยใหม่และการคอร์รัปชั่นใน 4 รูปแบบคือ
1. การเปลี่ยนผ่านจากระบบอุปถัมภ์สู่ระบบราชการแบบใหม่ ซึ่งคนในสังคมยังคงยอมรับพฤติกรรมในระบบอุปถัมภ์เหล่านี้ผ่านยุคสมัยใหม่
2. กระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคสมัยใหม่ได้ก่อให้เกิดกฎเกณฑ์ หลักการและคำนิยามการคอร์รัปชั่นใหม่ที่ได้ถูกกำหนดขึ้นมา ในขณะที่หลักการปฏิบัติแบบเก่ายังคงถูกนำมาปฏิบัติอยู่ในสังคม การเกิดหลักเกณฑ์และมาตราฐานใหม่ทำให้เกิดการสามารถแยกแยะรูปแบบของคอร์รัปชั่นได้ จึงทำให้สามารถตรวจสอบคอร์รัปชั่นได้มากขึ้น
3. บุคคลผู้มีอำนาจทางการเงินสามารถใช้เงินในการเข้าถึงอำนาจ เช่นกันการให้สินบนเพื่อเข้าการถึงสิทธิพิเศษในสังคม
4. กฎระเบียบและการควบคุมที่มีความเข็มงวดมากขึ้นในยุคสมัยใหม่ภายใต้ระบบราชการของรัฐ ซึ่งการควบคุมที่มากขึ้นหมายถึงการมีโอกาสในการเกิดคอร์รัปชั่นที่มากขึ้น การใช้กฎหมายที่รุนแรงในการแทรกแซงการคอร์รัปชั่นกลับก่อนให้ก่อเกิดโอกาสในการต่อรองเพื่อให้เกิดคอร์รัปชั่นเสียเอง

ซึ่งในบริบทประเทศไทยปรากฏการณ์ทั้งสี่ล้วนเกิดขึ้นพร้อมกันในช่วงการเปลี่ยนผ่านการเมืองของประเทศไทยจนถึงยุคปัจจุบัน การศึกษาคอร์รัปชั่นของไทยยังคงมีความซับซ้อนเนื่องจากความสัมพันธ์เชิงอำนาจของคนหลายกลุ่มและมีลักษณะอำนาจที่เปลี่ยนแปลงได้ และความไม่มีเสถียรภาพของระบบประชาธิปไตยและอ่อนแอของภาคประชาชนทำให้ปัญหาคอร์รัปชั่นของไทยยังคงวนลูปเดิมๆ และยังคงหาทางแก้ไม่ได้

*** เนื้อหน้าจากหนังสือ Corruption and Democracy in Thailand บทที่ 1 โดยอาจารย์ผาสุก พงษ์ไพจิตรและอาจารย์สังศิต พิริยะรังสรรค์ ***

The post รากเหง้าปัญหาคอร์รัปชั่นของประเทศไทย appeared first on People’s Empowerment Foundation.

]]>
https://pefthailand.org/%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b8%87%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%9b%e0%b8%b1%e0%b8%8d%e0%b8%ab%e0%b8%b2%e0%b8%84%e0%b8%ad%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%9b%e0%b8%8a%e0%b8%b1/feed/ 0 9016
The Impact of Conscription Laws In Myanmar (Thai language below) https://pefthailand.org/the-impact-of-conscription-laws-in-myanmar-thai-language-below/ https://pefthailand.org/the-impact-of-conscription-laws-in-myanmar-thai-language-below/#respond Sun, 18 Feb 2024 07:34:47 +0000 https://pefthailand.org/?p=8998 Source: the Irrawaddy The detail of the recently announced Conscription Laws in Myanmar is that this law will have a strong impact on all Myanmar citizens, urging great migration to neighbouring countries currently, Myanmar people have to line up in front of the Thai Embassy every while the Thai Embassy can allow only 400 persons […]

The post The Impact of Conscription Laws In Myanmar (Thai language below) appeared first on People’s Empowerment Foundation.

]]>
Source: the Irrawaddy

The detail of the recently announced Conscription Laws in Myanmar is that this law will have a strong impact on all Myanmar citizens, urging great migration to neighbouring countries currently, Myanmar people have to line up in front of the Thai Embassy every while the Thai Embassy can allow only 400 persons per day for visa applications.

After the announcement, PDF groups also urge all Myanmar citizens to join PDF troops for Myanmar Liberation.

Let’s come to understand how this law will impact Myanmar people and communities.

ข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมารการบังคบเกณฑ์ทหารของรัฐบาลทหารเมียนม่าจะส่งผลถึงประชาชนชาวเมียนม่าทุกคน ซึ่งอาจจะส่งผลถึงการอพยพย้ายถิ่นฐานของประชากรจำนวนมาก ในทุกๆวันนี้จะมีประชากรเมียนม่าต่อแถวขอวีซ่าจำนวนมากที่สถานทูตไทย ในขณะที่สถานทูตไทยสามารถออกวีซ่าได้ให้อย่างจำกัดวันละ 400 คนเพียงเท่านั้น

ภายหลังการประกาศใช้กฎหมายฉบับนี้ กองทัพประชาชนปลดแอค PDF ได้เรียกร้องให้ประชาชนชาวเมียนม่าทุกคนมาเข้าวร่วมรบกับกลองทัพปลดแอคประเทศพม่า

มาร่วมทำความเข้าใจว่ากฎหมายฉบับนี้จะส่งผลต่อประชาชนเมียนม่าอย่างไรบ้าง

#WhathappeninginMyanmar

ภาษาไทย

The post The Impact of Conscription Laws In Myanmar (Thai language below) appeared first on People’s Empowerment Foundation.

]]>
https://pefthailand.org/the-impact-of-conscription-laws-in-myanmar-thai-language-below/feed/ 0 8998
การสู้รบยังคงไม่หยุดยั้ง แม้ว่ากลุ่มกองทัพสภาทหารและกลุ่มพันธมิตรทั้ง 3 กลุ่ม ตกลงการหยุดยิง https://pefthailand.org/%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%aa%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b8%a3%e0%b8%9a%e0%b8%a2%e0%b8%b1%e0%b8%87%e0%b8%84%e0%b8%87%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b9%88%e0%b8%ab%e0%b8%a2%e0%b8%b8%e0%b8%94%e0%b8%a2%e0%b8%b1/ https://pefthailand.org/%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%aa%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b8%a3%e0%b8%9a%e0%b8%a2%e0%b8%b1%e0%b8%87%e0%b8%84%e0%b8%87%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b9%88%e0%b8%ab%e0%b8%a2%e0%b8%b8%e0%b8%94%e0%b8%a2%e0%b8%b1/#respond Thu, 15 Feb 2024 05:43:56 +0000 https://pefthailand.org/?p=8993 (ฐานข้อมูลข่าวพม่าฉบับแปลไทย ฉบับที่ 3) แปลโดย นางสาวพัชรพร เมืองแก่น 12 มกราคม 2024 By The Irrawaddy ทราบจากแหล่งข่าวท้องถิ่นว่า แม้ว่าช่วงเมื่อวานซืน จะมีการลงนามในการประชุมเรื่องข้อตกลงการหยุดยิงระหว่างกองกำลังติดอาวุธกลุ่มชาติพันธุ์ทั้ง 3 กลุ่มของพันธมิตรภาคเหนือ กับกองทัพสภาทหาร แต่ในบางพื้นที่ของรัฐฉาน ยังคงมีการสู้รบอย่างต่อเนื่องจนถึงวันนี้ กลุ่มพันธมิตรทั้ง 3 กลุ่มได้ประกาศในเย็นวันนี้ว่าการประชุมครั้งที่ 3 ระหว่างผู้แทนกลุ่มพันธมิตรทั้ง 3 กลุ่มและผู้แทนสภาทหาร ได้เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 10 มกราคม ณ เมืองคุนหมิง มณฑลยูนนาน ประเทศจีน โดยมีข้อตกลงร่วมกันว่าให้มีการแก้ไขข้อพิพาทผ่านการเจรจาโดยสันติเพื่อตอบข้อเรียกร้องและแก้ไขข้อพิพาท รวมถึงการยุติการปะทะและหยุดยิงทั้งสองฝ่ายโดยทันที นอกจากนี้ พวกเขายังระบุว่า จะต้องทำตามคำสัญญาเพื่อให้ประชาชนชาวจีน และนักลงทุนชาวจีนที่อาศัยอยู่ในประเทศพม่าได้รับความปลอดภัยจากภัยอันตรายแก่ชีวิต ตามข้อตกลงข้างต้น กองทัพสภาทหารกับกองทัพของกลุ่มพันธมิตรทั้ง 3 กลุ่ม กองทัพสภาทหารจะต้องยุติการเคลื่อนกำลังพลและจะต้องหยุดยั้งการสู้รบด้วยปืนใหญ่และการโจมตีทางอากาศเพื่อยุติการยิง ขณะเดียวกัน ทางฝ่ายของกลุ่มพันธมิตรทั้ง 3 กลุ่ม ก็จะต้องหยุดยั้งการโจมตียึดเมืองและฐานที่มั่นของทหารด้วยเช่นกัน พลเอก ซอมิง ทูน ซึ่งได้รับอนุญาตให้ออกมากล่าวในนามของสภาทหาร ได้ระบุว่า […]

The post การสู้รบยังคงไม่หยุดยั้ง แม้ว่ากลุ่มกองทัพสภาทหารและกลุ่มพันธมิตรทั้ง 3 กลุ่ม ตกลงการหยุดยิง appeared first on People’s Empowerment Foundation.

]]>
(ฐานข้อมูลข่าวพม่าฉบับแปลไทย ฉบับที่ 3)

แปลโดย นางสาวพัชรพร เมืองแก่น

12 มกราคม 2024 By The Irrawaddy

ทราบจากแหล่งข่าวท้องถิ่นว่า แม้ว่าช่วงเมื่อวานซืน จะมีการลงนามในการประชุมเรื่องข้อตกลงการหยุดยิงระหว่างกองกำลังติดอาวุธกลุ่มชาติพันธุ์ทั้ง 3 กลุ่มของพันธมิตรภาคเหนือ กับกองทัพสภาทหาร แต่ในบางพื้นที่ของรัฐฉาน ยังคงมีการสู้รบอย่างต่อเนื่องจนถึงวันนี้

กลุ่มพันธมิตรทั้ง 3 กลุ่มได้ประกาศในเย็นวันนี้ว่าการประชุมครั้งที่ 3 ระหว่างผู้แทนกลุ่มพันธมิตรทั้ง 3 กลุ่มและผู้แทนสภาทหาร ได้เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 10 มกราคม ณ เมืองคุนหมิง มณฑลยูนนาน ประเทศจีน โดยมีข้อตกลงร่วมกันว่าให้มีการแก้ไขข้อพิพาทผ่านการเจรจาโดยสันติเพื่อตอบข้อเรียกร้องและแก้ไขข้อพิพาท รวมถึงการยุติการปะทะและหยุดยิงทั้งสองฝ่ายโดยทันที

นอกจากนี้ พวกเขายังระบุว่า จะต้องทำตามคำสัญญาเพื่อให้ประชาชนชาวจีน และนักลงทุนชาวจีนที่อาศัยอยู่ในประเทศพม่าได้รับความปลอดภัยจากภัยอันตรายแก่ชีวิต

ตามข้อตกลงข้างต้น กองทัพสภาทหารกับกองทัพของกลุ่มพันธมิตรทั้ง 3 กลุ่ม กองทัพสภาทหารจะต้องยุติการเคลื่อนกำลังพลและจะต้องหยุดยั้งการสู้รบด้วยปืนใหญ่และการโจมตีทางอากาศเพื่อยุติการยิง ขณะเดียวกัน ทางฝ่ายของกลุ่มพันธมิตรทั้ง 3 กลุ่ม ก็จะต้องหยุดยั้งการโจมตียึดเมืองและฐานที่มั่นของทหารด้วยเช่นกัน

พลเอก ซอมิง ทูน ซึ่งได้รับอนุญาตให้ออกมากล่าวในนามของสภาทหาร ได้ระบุว่า “ในการดำเนินการต่อรองระหว่างประเทศจีน – กลุ่มพันธมิตรภาคเหนือทั้ง 3 กลุ่ม และกลุ่มต่อรองสันติสุขของประเทศพม่านั้น หลังจากที่ได้มีการประชุมข้อตกลงการหยุดยิงชั่วคราวร่วมกัน ที่เมืองคุนหมิงแล้ว ก็บรรลุข้อตกลงหยุดยิงร่วมกัน และจะมีการหารือร่วมกันต่อไปเพื่อให้การหยุดยิงนี้ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน”

นอกจากนี้ พวกเขายังบอกอีกว่ามีการหารือเรื่องการกลับมาเปิดด่านตามชายแดนด้วยเช่นกัน

ในการประชุมหารือดังกล่าว ทางฝั่งของกองทัพทหาร มีพลโท. มิง ไนน์ จากคณะกรรมการเจรจาสันติภาพแห่งชาติ (NSPNC) เป็นผู้นำในการประชุม ในขณะที่ทางกลุ่มชาติพันธุ์ มีเลขานุการของกองทัพสัมพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติเมียนมา (กองทัพโกก้าง) (MNDAA) กองทัพตะเอาง์ (TNLA) และ กองทัพอารกัน (AA) เป็นผู้นำในการประชุม

ในฝั่งของประเทศจีนนั้น มีนาย เติ้ง ซี จวิน ผู้แทนพิเศษประจำประเทศพม่า ได้เข้าร่วมในการประชุมหารือในครั้งนี้ด้วย

อย่างไรก็ดี แม้ว่าจะมีการลงนามข้อตกลงเพื่อการหยุดยิงก็ตาม เมื่อวันที่ 11 มกราคม จนถึงวันนี้ ยังคงมีการสู้รบอย่างต่อเนื่อง ในอำเภอโมเม็ก อำเภอน้ำสั่น เมืองลาโช ตอบบนของรัฐฉาน

มีรายงานคนในพื้นที่ว่า ในวันนี้มีการสู้รบด้วยระเบิด และการโจมตีทางอากาศ ระหว่างสภาทหาร และกองทัพ TNLA บริเวณหมู่บ้าน กิง์ ชอง์ ยหว่า อำเภอโมเม็ก

ชาวบ้านเมืองลาโชคนหนึ่งได้บอกกับอิรวดีว่า “เมื่อก่อนชาวบ้านต้องหลบซ่อนกัน ตอนนี้คนที่เหลืออยู่ในเมืองนั้นหลงเหลืออยู่เพียงเล็กน้อย ทางฝั่งของกองทัพทหารได้เข้มงวดต่อการออกนอกเมืองของคนที่หลงเหลืออยู่ในเมือง โดยอนุญาติให้เข้าเมืองได้เท่านั้นและออกเมืองได้ยากขึ้น ส่วนในวันนี้ แม้ว่าจะไม่ได้ยินเสียงการยิงสู้รบกัน แต่หมู่บ้านพื้นที่ใกล้เคียง ยังได้ยินเสียงการยิงสู้รบอยู่ตลอด

เมื่อวันที่ 11 มกราคม  ในอำเภอน้ำสั่น สภาทหารได้โจมตีหมู่บ้านกู่น แฮทางอากาศและได้ทำลายสะพานแห่งหนึ่ง จากถนนสะพานอี่ไหน่ง์ หมู่บ้านนากูนที่เชื่อมต่อถนนสายนัมมะตู่ – ล่าเสี้ยว

ในวันนี้ ถือเป็นวันต่อต้านแห่งชาติครั้งที่ 61 โดยกลุ่มพันธมิตรได้เขียนสารถึงการเฉลิมฉลองในครั้งนี้ว่า จะต้องมีความพยายามทำงานให้หนักยิ่งขึ้น เพื่อเป็นกลุ่มที่ประชาชนสามารถพึ่งพาได้นั้น และตราบใดที่เผด็จการทหารยังเป็นเป้าหมายร่วมกันที่ประชาชนต่อต้านอยู่ ประชาชนทั้งหมดถือเป็นสายเลือดเดียวกัน

กลุ่มต่อต้านพันธมิตร 3 กลุ่ม หรือในนามปฏิบัติการ 1027 ได้เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2023 ในพื้นที่ตอนบนของรัฐฉาน โดยเข้ายึดครองเมืองแล้ว รวมกว่า 17 เมือง และค่ายฐานที่มั่นราว 500 แห่ง


[1] https://burma.irrawaddy.com/news/2024/01/12/378388.html

The post การสู้รบยังคงไม่หยุดยั้ง แม้ว่ากลุ่มกองทัพสภาทหารและกลุ่มพันธมิตรทั้ง 3 กลุ่ม ตกลงการหยุดยิง appeared first on People’s Empowerment Foundation.

]]>
https://pefthailand.org/%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%aa%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b8%a3%e0%b8%9a%e0%b8%a2%e0%b8%b1%e0%b8%87%e0%b8%84%e0%b8%87%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b9%88%e0%b8%ab%e0%b8%a2%e0%b8%b8%e0%b8%94%e0%b8%a2%e0%b8%b1/feed/ 0 8993