การ์ตูนสิทธิมนุษยชน ตอนที่ 1: กลไก UPR (Universal Periodic Review) คืออะไร? [Thai Version]

กลไก UPR (Universal Periodic Review) คืออะไร?

 ทุกๆ 4-5 ปี ทุกรัฐบาลทั่วโลกจำเป็นจะต้องเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนที่คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพื่อเข้าสู่กระบวนการ UPR ที่เป็นหนึ่งในกลไกการติดตามและตรวจสอบสถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่สำคัญ กลไก UPR มีที่มาอย่างไร? ทำงานอย่างไร? ประชาชนอย่างเรามีส่วนรวมได้อย่างไรมา? มูลนิธิศักยภาพชุมชนขอเชิญทุกคนมาร่วมเรียนรู้ไปด้วยกันผ่านซี่รีย์การ์ตูนสิทธิมนุษยชนตอนที่ 1 “กลไกตรวจสอบสิทธิมนุษยชน UPR”  

Tip

คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ = United Nation Human Rights Council

UPR = Universal Periodic Review

กลไกสิทธิมนุษยชน UPR (Universal Periodic Review) คือกลไก ”ติดตามและตรวจสอบ” สถานการณ์สิทธิมนุษยชนระหว่างรัฐบาลที่เป็นสมาชิกสหประชาชาติทั้งหมด 193 ประเทศ ทุกรัฐบาลจะต้องเป็นผู้ร่วมตรวจสอบและถูกตรวจสอบในทุกๆ 4 ปีครึ่งจากประเทศสมาชิก (peer to peer) การตรวจสอบจะจัดขึ้นที่คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิซเซอร์แลนด์

กลไก UPR ถูกออกแบบอยู่ภายใต้หลักการ “ความเป็นสากล” “ความเป็นธรรมและเท่าเทียม” “ความเป็นรูปธรรม” “ไม่เลือกปฏิบัติ” และ “ความร่วมมือ” โดยมีจุดประสงค์เพื่อทำงานประเด็นสิทธิมนุษยชนอย่างสร้างสรรค์ ไม่ได้มีจุดประสงค์ไว้เพื่อโจมตีรัฐบาล และต้องมีข้อมูลที่เชื่อถือได้ ไม่ใช้เวลานานเกินไป

UPR มีที่มาอย่างไร?

หลังจากการเกิดขึ้นของปฏิญญาสิทธิมนุษยชนในปี 1945 ทางยูเอ็นได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ โดยมีหน้าที่ให้ข้อเสนอแนะแก่ สภาเศรษฐกิจและสังคม (ECOSOC) หลังผ่านมา 60 ปี คณะกรรมการธิการสิทธิฯ ไม่สามารถแก้ไขปัญหาสิทธิมนุษยชนได้ และผู้ละเมิดในหลายครั้งคือรัฐบาล

โคฟี่ อนันต์เลขาธิการยูเอ็นในขณะนั้นได้ออกแถลงการณ์ “In Larger Freedom” ได้วิจารณ์กลไกของยูเอ็นที่ไม่มีประสิทธิภาพและได้เสนอให้มีการตั้งคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และปรับเปลี่ยนโครงสร้างของยูเอ็น ในท้ายที่สุดคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้ถูกรับรองผ่านการลงมติสมัชชาใหญ่สหประชาชาติฉบับที่ 60/251 ในวันที่ 15 มีนาคม 2006

การเกิดขึ้นของสภาสิทธิมนุษยชน ทำให้มีการเกิดขึ้นของกลไกของ UPR ขึ้นมาด้วยภายใต้คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

ประเทศไทยเพิ่งผ่านการทบทวนรอบที่ 3 ไปเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2021

Tip

คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ = Commission on Human Rights
สภาเศรษฐกิจและสังคม =  Economic and Social Council (ECOSOC) มติสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ = General Assembly Resolution

ขั้นตอนการทบทวนสถานการณ์สิทธิ UPR สามารถแบ่งได้เป็น 3 ช่วงสำคัญคือ​

1. ช่วงก่อนการทบทวน UPR
เป็นช่วงที่รายงานทุกฉบับที่มีความเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์สิทธิในประเทศนั้นๆ จะส่งไปให้กับ สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR) รายงานทั้งหมดจะถูกอัพโหลดสู่เว็ปไซต์ OHCHR

ทุกคนสามารถเข้าไปอ่านได้ก่อนถึงวันทบทวนจริง

2. ช่วงการทบทวน UPR
รัฐที่ถูกทบทวนสถานการณ์สิทธิฯ ต้องไปที่กรุงเจนีวาเพื่อเข้ารับฟังข้อเสนอจากรัฐบาลประเทศอื่นๆ เพื่อนำไปพิจารณาสถานการณ์สิทธิ และจำเป็นจะต้องให้คำตอบกับข้อเสนอ ว่าจะรับหรือไม่รับข้อเสนอเหล่านั้นมาปฏิบัติในประเทศ

3. ช่วงการนำไปปฏิบัติ
รัฐบาลที่ถูกทบทวนจะต้องนำข้อเสนอเหล่านั้นไปปฏิบัติ พัฒนาและแก้ไขภายในประเทศเช่นการออกนโยบาย ออกกฎหมายคุ้มครอง โดยยูเอ็น ภาคประชาสังคม และองค์กรอื่นๆสามารถทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล และรัฐบาลจำเป็นต้องกลับมาเวทีทบทวนอีกครั้งในเวลา 4 ปีครึ่ง

ใครสามารถส่งรายงานได้บ้าง? แบ่งได้เป็นกี่กลุ่ม

การส่งรายงานสามารถแบ่งได้เป็น 3 รูปของรายงาน

1. รายงานรัฐบาล
รัฐบาลทุกรัฐบาลจำเป็นจะต้องต้องรายงาน UPR

2. รายงานขององค์กรยูเอ็น
องค์กรยูเอ็นในหลายๆหน่วยงานสามารถส่งรายงานได้

3. รายงานของภาคประชาชน 

องค์กรภาคประชาชนทั้งหมดสามารถส่งรายงาน เพื่อให้หลายๆประเทศสามารถเข้ามาอ่านรายงานและนำไปเป็นข้อเสนอแนะให้แก่รัฐบาลได้

Tip
สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ = The United Nations High Commissioner for Human Rights (OHCHR)  

การทำงาน UPR จะแบ่งเป็นรอบ Cycle และ session

ในทุกๆรอบ Cycle จะใช้เวลาประมาณ 4 ปีครึ่ง เพื่อทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนทุกประเทศทั่วโลก

ใน 1 cycle จะแบ่ง รอบการทบทวนเป็นรอบเล็กๆเรียกว่า “Session” ประมาณ 12-13 session ต่อ 1 Cycle
โดยใน 1 session จะมีการทบทวนประมาณ 14-16 ประเทศ

ประธานและคณะทำงานจะถูกเปลี่ยนทุกๆ session

***ปัจจุบัน UPR อยู่ในรอบการทำงานของ Cycle ที่ 4 ประเทศไทยจะเข้าสู่กระบวนการทบทวนใน session ที่ 53 ช่วงประมาณเดือน ตุลาคม-พฤศจิกายน 2026  

โดยระหว่างการกระบวนการ UPR รัฐบาลสามารถตอบรับข้อเสนอได้ 3 รูปแบบ

1. ตอบรับข้อเสนอ (Accept) คือการให้คำมั่นสัญญานว่าจะไปปฏิบัติ

2. ชี้แจงรับทราบ (Note) เพื่อชี้แจงรับทราบข้อเสนอแนะ (ไม่ทั้งปฏิเสธและตอบรับ)

3. ปฏิเสธ (Reject) ปฏิเสธอข้อเสนอ

อย่างไรก็ดีรัฐบาลสามารถให้คำมั่นสัญญาเพิ่มเติมได้ แม้ไม่มีข้อเสนอมาจากรัฐบาลอื่น เรียกว่า “การให้คำมั่นสัญญาโดยสมัครใจ”

นอกจากนี้รัฐบาลยังสามารถส่งรายงานกลางปีได้ โดยสมัครใจเพื่อรายงานผลการทำงานของรัฐบาลในช่วงระหว่างรอบการทบทวน UPR

Tip
การให้คำมั่นสัญญาโดยสมัครใจ = Volunteer Pledges
รายงานฉบับกลาง = Mid-Term Report

ในภาพนี้พยายามแสดงให้เห็นถึงภาพรวมที่เกิดขึ้นของรัฐบาลอาเซียนในช่วง Cycle ที่ 1 และสามารถเห็นการตอบรับข้อเสนอของรัฐบาลอาเซียน ว่าแต่ละรัฐบาลรับไปกี่ข้อเสนอและปฏิเสธไปกี่ข้อเสนอ

ภาพข้างบนนี้ คือภาพแสดงผลการตอบรับข้อเสนอของรัฐบาลอาเซียนในช่วง Cycle ที่ 2 ในช่วงนี้เป็นช่วงรัฐบาลหลายรัฐบาลเลือกเลี่ยงที่จะใช้คำว่า “ปฏิเสธ” โดยเปลี่ยนมาใช้คำว่า “รับทราบ” แทน

ภาพแสดงผลการตอบรับข้อเสนอของรัฐบาลอาเซียนในช่วง Cycle ที่ 3  เนื่องจากประเทศเมียนมาเข้าสู่กระบวนการ UPR ก่อนวันรัฐประหาร (1 กุมภาพันธ์ 2021) จึงทำให้ไม่มีข้อเสนอเกี่ยวกับการรัฐประหารของเมียนม่าในเวที UPR

ในหน้านี้ทางทีมงานพยายามรวบรวมข้อเสนอแนะที่ประเทศอาเซียนประกาศ “ไม่รับ” ข้อเสนอแนะในเวที UPR ในรอบ Cycle ที่ 3 จากข้อมูลตรงนี้จะพอทำให้เราสามารถเข้าใจถึงหลักคิดของรัฐต่อการต่อต้านปฏิเสธแนวคิดด้านสิทธิมนุษยชนในบางประเด็น อย่างไรก็ดีหากดูในภาพรวมรัฐบาลอาเซียนมีแนวคิดและแนวทางเป็นไปในทางอำนาจนิยมมากขึ้น

Tip
อำนาจนิยม = Authoritarianism

โดยสรุปแล้ว

กลไก UPR คือกลไกตรวจสอบสิทธิมนุษยชนในระดับสหประชาชาติ โดยมีลักษณะที่รัฐบาลมีสิทธิตรวจสอบระหว่างกัน (Peer to Peer) แต่อย่างไรก็ดี ภาคประชาชนและประชาชนทั่วไปสามารถมีส่วนร่วมโดยการส่งรายงานสถานการณ์สิทธิฯให้กับยูเอ็น เพื่อให้รัฐบาลต่างๆได้ศึกษาก่อนได้

แม้รัฐบาลจะเป็นตัวแสดงหลักในกระบวนการ UPR มูลนิธิศักยภาพชุมชนอยากขอเชิญชวนให้ประชาชนทุกคนทั้งไทยและอาเซียนมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกลไกนี้ เพื่อให้ทุกคนสามารถเป็นส่วนร่วมของกลไกเพื่อร่วมพัฒนาสิทธิมนุษยชนร่วมกัน

หากคนต้องการติดต่อเพื่อขอความรู้เพิ่มเติม หรือต้องการจัดฝึกอบรมในระดับภาคประชาชน สามารถติดต่อมูลนิธิศักยภาพชุมชนได้ ผ่านทางข้อความของมูลนิธิฯ  

Fight to Decriminalization on Sex Work in Thailand & the Systemic Corruption

“We are not wrong. It is the law that is wrong. It is the law... read more

People’s Empowerment Foundation Annual Report 2023

รายงานประจำปี 2023 มูลนิธิศักยภาพชุมชน  Annual Report for PublicDownload read more

การ์ตูนสิทธิมนุษยชน ตอนที่ 5 “ผู้ลี้ภัย”

โดยรายงานของสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ได้ระบุในปี 2022 ว่ามีจำนวนผู้ลี้ภัยโดยประมาณ 32.5 ล้านคนทั่วโลก แต่ทราบหรือไม่ว่าผู้ลี้ภัยเกิดขึ้นได้อย่างไร มีที่มาอย่างไรบ้าง และในบริบทของสากลโลกให้คำนิยามเรื่องผู้ลี้ภัยไว้อย่างไร  เพียงแค่เหตุการณ์การรัฐประหารสถานการณ์การสู้รบในพม่าตั้งแต่ปี 2021 ส่งผลให้มีผู้ลี้ภัยจำนวนโดยประมาณ 1,330,591 โดยส่วนมากจะลี้ภัยไปยังประเทศเพื่อนบ้านทั้งอินเดีย บังคลาเทศและไทย... read more

The Process of Marginalization and Corruption in Labour Force

The workforce of the world is the foundation of the economy and thus stimulates growth... read more

Fact-Finding Humanitarian Report

"1,000 - 3,000 is the number of people who have fled to the IDP camps"... read more

Open Joint Statement of Condemnation against Min Aung Hlaing’s Act of Using Aung San Suu Kyi as Human Shield from Attacks by Ethnic Military Forces (Thai language inside)

25 Organizations and 44 Individuals signed joint-statement of Condemnation against Min Aung Hlaing’s Act of... read more

ใครคอร์รัปมากกว่ากัน?

ใครคอร์รัปมากกว่ากัน? คำถามนี้คงเป็นคำถามที่ตอบได้ยาก เพราะปัญหาคอร์รัปชั่นนั้นอยู่คู่กับสังคมไทยมาโดยตลอด ทุกสถาบันในสังคมไทยล้วนมีประวัติที่เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชั่นทั้งนั้น แต่การคอร์รัปชั่นจะส่งผลเลวร้ายที่สุดเมื่อผู้มีอำนาจสูงสุดของรัฐเป็นผู้ทำการคอร์รัป คำถามต่อมาที่สำคัญก็คือรัฐบาลประเภทไหนที่คอร์รัปมากกว่ากัน ในบทความนี้จะเป็นผลสรุปของการศึกษาการคอร์รัปชั่นของรัฐบาลโดยเปรียบเทียบผลลัพธ์ระหว่างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งและรัฐบาลเผด็จการที่ได้อำนาจมาจากการรัฐประหาร “การเสียชีวิตของจอมพล สู่การเปิดเผยคอร์รัปชั่น” การเสียชีวิตของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชในปี 1963 ได้นำไปสู่การเปิดเผยทรัพย์สินที่ถูกถือครองอยู่จำนวน 2,800 ล้านบาท ซึ่งได้พบว่ามีการใช้เงินของรัฐบาลในการนำไปต่อยอดลงทุนทรัพย์สินเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวและคนใกล้ชิด จอมพลสฤษดิ์และภรรยานั้นมีทรัพย์สินอยู่ในกว่า 45... read more

การ์ตูนสิทธิมนุษยชน ตอนที่ 4 “คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน”

การ์ตูนสิทธิมนุษยชน ตอนที่ 4 “คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน” หลายคนอาจจะเคยได้ยินคำว่า “กสม” หรือคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนบ้าง แต่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ถึงหลักการพื้นฐานและที่มาของ กสม และเหตุผลของการตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนในประเทศ โดยคำนิยามของ GANHRI (Global Alliance of National Human... read more