People’s Empowerment Foundation
  • Home
  • About Us
  • News and Activities
  • Reports and Documents
  • Contact
  • Home
  • About Us
  • News and Activities
  • Reports and Documents
  • Contact

การสู้รบยังคงไม่หยุดยั้ง แม้ว่ากลุ่มกองทัพสภาทหารและกลุ่มพันธมิตรทั้ง 3 กลุ่ม ตกลงการหยุดยิง

pefthailand2024-02-15T05:43:57+00:00
pefthailand Thailand 0 Comments

(ฐานข้อมูลข่าวพม่าฉบับแปลไทย ฉบับที่ 3)

แปลโดย นางสาวพัชรพร เมืองแก่น

12 มกราคม 2024 By The Irrawaddy

ทราบจากแหล่งข่าวท้องถิ่นว่า แม้ว่าช่วงเมื่อวานซืน จะมีการลงนามในการประชุมเรื่องข้อตกลงการหยุดยิงระหว่างกองกำลังติดอาวุธกลุ่มชาติพันธุ์ทั้ง 3 กลุ่มของพันธมิตรภาคเหนือ กับกองทัพสภาทหาร แต่ในบางพื้นที่ของรัฐฉาน ยังคงมีการสู้รบอย่างต่อเนื่องจนถึงวันนี้

กลุ่มพันธมิตรทั้ง 3 กลุ่มได้ประกาศในเย็นวันนี้ว่าการประชุมครั้งที่ 3 ระหว่างผู้แทนกลุ่มพันธมิตรทั้ง 3 กลุ่มและผู้แทนสภาทหาร ได้เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 10 มกราคม ณ เมืองคุนหมิง มณฑลยูนนาน ประเทศจีน โดยมีข้อตกลงร่วมกันว่าให้มีการแก้ไขข้อพิพาทผ่านการเจรจาโดยสันติเพื่อตอบข้อเรียกร้องและแก้ไขข้อพิพาท รวมถึงการยุติการปะทะและหยุดยิงทั้งสองฝ่ายโดยทันที

นอกจากนี้ พวกเขายังระบุว่า จะต้องทำตามคำสัญญาเพื่อให้ประชาชนชาวจีน และนักลงทุนชาวจีนที่อาศัยอยู่ในประเทศพม่าได้รับความปลอดภัยจากภัยอันตรายแก่ชีวิต

ตามข้อตกลงข้างต้น กองทัพสภาทหารกับกองทัพของกลุ่มพันธมิตรทั้ง 3 กลุ่ม กองทัพสภาทหารจะต้องยุติการเคลื่อนกำลังพลและจะต้องหยุดยั้งการสู้รบด้วยปืนใหญ่และการโจมตีทางอากาศเพื่อยุติการยิง ขณะเดียวกัน ทางฝ่ายของกลุ่มพันธมิตรทั้ง 3 กลุ่ม ก็จะต้องหยุดยั้งการโจมตียึดเมืองและฐานที่มั่นของทหารด้วยเช่นกัน

พลเอก ซอมิง ทูน ซึ่งได้รับอนุญาตให้ออกมากล่าวในนามของสภาทหาร ได้ระบุว่า “ในการดำเนินการต่อรองระหว่างประเทศจีน – กลุ่มพันธมิตรภาคเหนือทั้ง 3 กลุ่ม และกลุ่มต่อรองสันติสุขของประเทศพม่านั้น หลังจากที่ได้มีการประชุมข้อตกลงการหยุดยิงชั่วคราวร่วมกัน ที่เมืองคุนหมิงแล้ว ก็บรรลุข้อตกลงหยุดยิงร่วมกัน และจะมีการหารือร่วมกันต่อไปเพื่อให้การหยุดยิงนี้ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน”

นอกจากนี้ พวกเขายังบอกอีกว่ามีการหารือเรื่องการกลับมาเปิดด่านตามชายแดนด้วยเช่นกัน

ในการประชุมหารือดังกล่าว ทางฝั่งของกองทัพทหาร มีพลโท. มิง ไนน์ จากคณะกรรมการเจรจาสันติภาพแห่งชาติ (NSPNC) เป็นผู้นำในการประชุม ในขณะที่ทางกลุ่มชาติพันธุ์ มีเลขานุการของกองทัพสัมพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติเมียนมา (กองทัพโกก้าง) (MNDAA) กองทัพตะเอาง์ (TNLA) และ กองทัพอารกัน (AA) เป็นผู้นำในการประชุม

ในฝั่งของประเทศจีนนั้น มีนาย เติ้ง ซี จวิน ผู้แทนพิเศษประจำประเทศพม่า ได้เข้าร่วมในการประชุมหารือในครั้งนี้ด้วย

อย่างไรก็ดี แม้ว่าจะมีการลงนามข้อตกลงเพื่อการหยุดยิงก็ตาม เมื่อวันที่ 11 มกราคม จนถึงวันนี้ ยังคงมีการสู้รบอย่างต่อเนื่อง ในอำเภอโมเม็ก อำเภอน้ำสั่น เมืองลาโช ตอบบนของรัฐฉาน

มีรายงานคนในพื้นที่ว่า ในวันนี้มีการสู้รบด้วยระเบิด และการโจมตีทางอากาศ ระหว่างสภาทหาร และกองทัพ TNLA บริเวณหมู่บ้าน กิง์ ชอง์ ยหว่า อำเภอโมเม็ก

ชาวบ้านเมืองลาโชคนหนึ่งได้บอกกับอิรวดีว่า “เมื่อก่อนชาวบ้านต้องหลบซ่อนกัน ตอนนี้คนที่เหลืออยู่ในเมืองนั้นหลงเหลืออยู่เพียงเล็กน้อย ทางฝั่งของกองทัพทหารได้เข้มงวดต่อการออกนอกเมืองของคนที่หลงเหลืออยู่ในเมือง โดยอนุญาติให้เข้าเมืองได้เท่านั้นและออกเมืองได้ยากขึ้น ส่วนในวันนี้ แม้ว่าจะไม่ได้ยินเสียงการยิงสู้รบกัน แต่หมู่บ้านพื้นที่ใกล้เคียง ยังได้ยินเสียงการยิงสู้รบอยู่ตลอด

เมื่อวันที่ 11 มกราคม  ในอำเภอน้ำสั่น สภาทหารได้โจมตีหมู่บ้านกู่น แฮทางอากาศและได้ทำลายสะพานแห่งหนึ่ง จากถนนสะพานอี่ไหน่ง์ หมู่บ้านนากูนที่เชื่อมต่อถนนสายนัมมะตู่ – ล่าเสี้ยว

ในวันนี้ ถือเป็นวันต่อต้านแห่งชาติครั้งที่ 61 โดยกลุ่มพันธมิตรได้เขียนสารถึงการเฉลิมฉลองในครั้งนี้ว่า จะต้องมีความพยายามทำงานให้หนักยิ่งขึ้น เพื่อเป็นกลุ่มที่ประชาชนสามารถพึ่งพาได้นั้น และตราบใดที่เผด็จการทหารยังเป็นเป้าหมายร่วมกันที่ประชาชนต่อต้านอยู่ ประชาชนทั้งหมดถือเป็นสายเลือดเดียวกัน

กลุ่มต่อต้านพันธมิตร 3 กลุ่ม หรือในนามปฏิบัติการ 1027 ได้เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2023 ในพื้นที่ตอนบนของรัฐฉาน โดยเข้ายึดครองเมืองแล้ว รวมกว่า 17 เมือง และค่ายฐานที่มั่นราว 500 แห่ง


[1] https://burma.irrawaddy.com/news/2024/01/12/378388.html

Share this post

Facebook Twitter LinkedIn Google + Email

Leave a Reply Cancel reply

You must be logged in to post a comment.


Related Posts

09DecDecember 9, 2024

ทำความเข้าใจคอร์รัปชันในอาเซียน ฉบับรวบรัด 101 “คอร์รัปชันคืออะไร ?”

ทำความเข้าใจอคอร์รัปชั่นในอาเซียนฉบับรวบรัด 101 “คอร์รัปชั่นคืออะไร?”  เนื่องในวันที่ 9 ธันวาคมของทุกปีถือเป็นวันต่อต้านคอร์รัปชั่นสากลที่คอยเตือนให้ทุกประเทศในภาคีของสหประชาชาติ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการขับเคลื่อนเพื่อแก้ไขปรากฎการณ์คอร์รัปชั่นที่เกิดขึ้นทั่วโลก  เนื่องจากไม่มีคำนิยามสากลของคำว่า “คอร์รัปชั่น” ทำให้คำนี้ถูกตีความและให้ความหมายที่แตกต่างกันในแต่ละบริบทของประเทศ ภูมิศาสตร์ไปจนถึงสถานะทางสังคม ในประเทศไทยคำว่าคอร์รัปชั่นมักถูกพูดถึงในบริบททางการเมือง มักถูกอ้างไว้สำหรับโจมตีและทำลายความน่าเชื่อถือของขั้วตรงข้าม แต่จริงๆแล้วพวกเรารู้อะไรอีกบ้างเกี่ยวกับการคอร์รัปชั่น?  มาร่วมเรียนรู้ไปกับพวกเราเกี่ยวกับความเข้าใจคอร์รัปชั่น ทั้งในระดับสากลและภูมิภาคอาเซียนของพวกเรา มีอะไรที่พวกเรารู้และไม่รู้บ้าง ว่าการคอร์รัปชั่นส่งผลอย่างไรกับพวกเราทั้งทางตรงและทางอ้อม คอร์รัปชั่น ยังไม่มีคำนิยามระดับสากลที่ใช้ร่วมกัน ทำให้แต่ละรัฐบาล องค์กรใหญ่ๆ จึงได้สร้างคำนิยามคอร์รัปชั่นขึ้นมาเอง โดยคำนิยามส่วนมากมีทิศทางที่เป็นไปในลักษณะของการ”ใช้อำนาจโดยไม่ชอบ เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว... read more

18FebFebruary 18, 2024

The Impact of Conscription Laws In Myanmar (Thai language below)

Source: the Irrawaddy The detail of the recently announced Conscription Laws in Myanmar is that this law will have a strong... read more

14NovNovember 14, 2023

5 ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต  5 Key Focal Points on United Nations Convention Against Corruption: UNCAC (English Below)

5 ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต  บทที่ 2: มาตรการป้องกัน  บทที่ 2 เน้นมาตรการเชิงรุกเพื่อป้องกันการทุจริต รัฐภาคีได้รับการกระตุ้นให้ใช้นโยบายที่โปร่งใส รวมถึงการจัดซื้อจัดจ้างที่โปร่งใสและการจัดการทางการเงิน มันเน้นความสําคัญของข้าราชการตามคุณธรรมการเข้าถึงข้อมูลสาธารณะตุลาการอิสระและการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันของภาคประชาสังคม มาตรการเหล่านี้สร้างรากฐานสำหรับความซื่อสัตย์ความรับผิดชอบและการจัดการกิจการสาธารณะที่เหมาะสมซึ่งมีความสําคัญต่อการสร้างสังคมที่ปราศจากการทุจริต  บทที่ 3: การทำให้เป็นอาชญากรรมและการบังคับใช้กฎหมาย  บทที่ 3 กล่าวถึงการทุจริตเฉพาะที่รัฐภาคีต้องดำเนินการทางอาญา รวมถึงการติดสินบน การยักยอก และการขัดขวางกระบวนการยุติธรรม มันสนับสนุนบทลงโทษสำหรับความผิดเช่นการรับสินบนการละเมิดหน้าที่และการฟอกเงิน บทนี้ยังครอบคลุมถึงการบังคับใช้การดำเนินคดีการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสและการเยียวยาการทุจริต โดยมุ่งเน้นที่การบังคับใช้กฎหมายที่เข้มแข็ง... read more

10OctOctober 10, 2023

The Protest in 2019-2022 and Transitional Justice of Thailand

The Transitional Justice Report on Thailand's National Context of Transitional Justice in 2023. The report aims to make readers understand... read more

Archives

  • March 2025
  • February 2025
  • December 2024
  • October 2024
  • August 2024
  • June 2024
  • May 2024
  • April 2024
  • March 2024
  • February 2024
  • January 2024
  • December 2023
  • November 2023
  • October 2023
  • September 2023
  • August 2023
  • May 2020
  • December 2019
  • July 2019
  • May 2019
  • January 2019

Categories

  • Activities
  • ASEAN
  • Democracy Reports
  • Factsheets and Education
  • Human Rights Reports
  • International
  • Others
  • Peace Reports
  • Report and Documentation
  • Statement
  • Thailand

arrow Home
arrow About Us
arrow News and Activities
arrow Report and Documents
arrow Contact

(02) 9466104

pefthailand@protonmail.com
Facebook Twitter Youtube Instagram

Address

1/546 Soi Nuan Chan 16, Bueng Kum, Bangkok 10230

People’s Empowerment Foundation. © 2023. All Rights Reserved