กลไก UPR (Universal Periodic Review) คืออะไร?
ทุกๆ 4-5 ปี ทุกรัฐบาลทั่วโลกจำเป็นจะต้องเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนที่คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพื่อเข้าสู่กระบวนการ UPR ที่เป็นหนึ่งในกลไกการติดตามและตรวจสอบสถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่สำคัญ กลไก UPR มีที่มาอย่างไร? ทำงานอย่างไร? ประชาชนอย่างเรามีส่วนรวมได้อย่างไรมา? มูลนิธิศักยภาพชุมชนขอเชิญทุกคนมาร่วมเรียนรู้ไปด้วยกันผ่านซี่รีย์การ์ตูนสิทธิมนุษยชนตอนที่ 1 “กลไกตรวจสอบสิทธิมนุษยชน UPR”
Tip
คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ = United Nation Human Rights Council
UPR = Universal Periodic Reviewกลไกสิทธิมนุษยชน UPR (Universal Periodic Review) คือกลไก ”ติดตามและตรวจสอบ” สถานการณ์สิทธิมนุษยชนระหว่างรัฐบาลที่เป็นสมาชิกสหประชาชาติทั้งหมด 193 ประเทศ ทุกรัฐบาลจะต้องเป็นผู้ร่วมตรวจสอบและถูกตรวจสอบในทุกๆ 4 ปีครึ่งจากประเทศสมาชิก (peer to peer) การตรวจสอบจะจัดขึ้นที่คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิซเซอร์แลนด์
กลไก UPR ถูกออกแบบอยู่ภายใต้หลักการ “ความเป็นสากล” “ความเป็นธรรมและเท่าเทียม” “ความเป็นรูปธรรม” “ไม่เลือกปฏิบัติ” และ “ความร่วมมือ” โดยมีจุดประสงค์เพื่อทำงานประเด็นสิทธิมนุษยชนอย่างสร้างสรรค์ ไม่ได้มีจุดประสงค์ไว้เพื่อโจมตีรัฐบาล และต้องมีข้อมูลที่เชื่อถือได้ ไม่ใช้เวลานานเกินไป
UPR มีที่มาอย่างไร?
หลังจากการเกิดขึ้นของปฏิญญาสิทธิมนุษยชนในปี 1945 ทางยูเอ็นได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ โดยมีหน้าที่ให้ข้อเสนอแนะแก่ สภาเศรษฐกิจและสังคม (ECOSOC) หลังผ่านมา 60 ปี คณะกรรมการธิการสิทธิฯ ไม่สามารถแก้ไขปัญหาสิทธิมนุษยชนได้ และผู้ละเมิดในหลายครั้งคือรัฐบาล
โคฟี่ อนันต์เลขาธิการยูเอ็นในขณะนั้นได้ออกแถลงการณ์ “In Larger Freedom” ได้วิจารณ์กลไกของยูเอ็นที่ไม่มีประสิทธิภาพและได้เสนอให้มีการตั้งคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และปรับเปลี่ยนโครงสร้างของยูเอ็น ในท้ายที่สุดคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้ถูกรับรองผ่านการลงมติสมัชชาใหญ่สหประชาชาติฉบับที่ 60/251 ในวันที่ 15 มีนาคม 2006
การเกิดขึ้นของสภาสิทธิมนุษยชน ทำให้มีการเกิดขึ้นของกลไกของ UPR ขึ้นมาด้วยภายใต้คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ประเทศไทยเพิ่งผ่านการทบทวนรอบที่ 3 ไปเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2021
Tip
คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ = Commission on Human Rights
สภาเศรษฐกิจและสังคม = Economic and Social Council (ECOSOC) มติสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ = General Assembly Resolution
ขั้นตอนการทบทวนสถานการณ์สิทธิ UPR สามารถแบ่งได้เป็น 3 ช่วงสำคัญคือ
1. ช่วงก่อนการทบทวน UPR
เป็นช่วงที่รายงานทุกฉบับที่มีความเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์สิทธิในประเทศนั้นๆ จะส่งไปให้กับ สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR) รายงานทั้งหมดจะถูกอัพโหลดสู่เว็ปไซต์ OHCHR
ทุกคนสามารถเข้าไปอ่านได้ก่อนถึงวันทบทวนจริง
2. ช่วงการทบทวน UPR
รัฐที่ถูกทบทวนสถานการณ์สิทธิฯ ต้องไปที่กรุงเจนีวาเพื่อเข้ารับฟังข้อเสนอจากรัฐบาลประเทศอื่นๆ เพื่อนำไปพิจารณาสถานการณ์สิทธิ และจำเป็นจะต้องให้คำตอบกับข้อเสนอ ว่าจะรับหรือไม่รับข้อเสนอเหล่านั้นมาปฏิบัติในประเทศ
3. ช่วงการนำไปปฏิบัติ
รัฐบาลที่ถูกทบทวนจะต้องนำข้อเสนอเหล่านั้นไปปฏิบัติ พัฒนาและแก้ไขภายในประเทศเช่นการออกนโยบาย ออกกฎหมายคุ้มครอง โดยยูเอ็น ภาคประชาสังคม และองค์กรอื่นๆสามารถทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล และรัฐบาลจำเป็นต้องกลับมาเวทีทบทวนอีกครั้งในเวลา 4 ปีครึ่ง
ใครสามารถส่งรายงานได้บ้าง? แบ่งได้เป็นกี่กลุ่ม
การส่งรายงานสามารถแบ่งได้เป็น 3 รูปของรายงาน
1. รายงานรัฐบาล
รัฐบาลทุกรัฐบาลจำเป็นจะต้องต้องรายงาน UPR
2. รายงานขององค์กรยูเอ็น
องค์กรยูเอ็นในหลายๆหน่วยงานสามารถส่งรายงานได้
3. รายงานของภาคประชาชน
องค์กรภาคประชาชนทั้งหมดสามารถส่งรายงาน เพื่อให้หลายๆประเทศสามารถเข้ามาอ่านรายงานและนำไปเป็นข้อเสนอแนะให้แก่รัฐบาลได้
Tip
สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ = The United Nations High Commissioner for Human Rights (OHCHR)
การทำงาน UPR จะแบ่งเป็นรอบ Cycle และ session
ในทุกๆรอบ Cycle จะใช้เวลาประมาณ 4 ปีครึ่ง เพื่อทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนทุกประเทศทั่วโลก
ใน 1 cycle จะแบ่ง รอบการทบทวนเป็นรอบเล็กๆเรียกว่า “Session” ประมาณ 12-13 session ต่อ 1 Cycle
โดยใน 1 session จะมีการทบทวนประมาณ 14-16 ประเทศ
ประธานและคณะทำงานจะถูกเปลี่ยนทุกๆ session
***ปัจจุบัน UPR อยู่ในรอบการทำงานของ Cycle ที่ 4 ประเทศไทยจะเข้าสู่กระบวนการทบทวนใน session ที่ 53 ช่วงประมาณเดือน ตุลาคม-พฤศจิกายน 2026
โดยระหว่างการกระบวนการ UPR รัฐบาลสามารถตอบรับข้อเสนอได้ 3 รูปแบบ
1. ตอบรับข้อเสนอ (Accept) คือการให้คำมั่นสัญญานว่าจะไปปฏิบัติ
2. ชี้แจงรับทราบ (Note) เพื่อชี้แจงรับทราบข้อเสนอแนะ (ไม่ทั้งปฏิเสธและตอบรับ)
3. ปฏิเสธ (Reject) ปฏิเสธอข้อเสนอ
อย่างไรก็ดีรัฐบาลสามารถให้คำมั่นสัญญาเพิ่มเติมได้ แม้ไม่มีข้อเสนอมาจากรัฐบาลอื่น เรียกว่า “การให้คำมั่นสัญญาโดยสมัครใจ”
นอกจากนี้รัฐบาลยังสามารถส่งรายงานกลางปีได้ โดยสมัครใจเพื่อรายงานผลการทำงานของรัฐบาลในช่วงระหว่างรอบการทบทวน UPR
Tip
การให้คำมั่นสัญญาโดยสมัครใจ = Volunteer Pledges
รายงานฉบับกลาง = Mid-Term Report
ในภาพนี้พยายามแสดงให้เห็นถึงภาพรวมที่เกิดขึ้นของรัฐบาลอาเซียนในช่วง Cycle ที่ 1 และสามารถเห็นการตอบรับข้อเสนอของรัฐบาลอาเซียน ว่าแต่ละรัฐบาลรับไปกี่ข้อเสนอและปฏิเสธไปกี่ข้อเสนอ
ภาพข้างบนนี้ คือภาพแสดงผลการตอบรับข้อเสนอของรัฐบาลอาเซียนในช่วง Cycle ที่ 2 ในช่วงนี้เป็นช่วงรัฐบาลหลายรัฐบาลเลือกเลี่ยงที่จะใช้คำว่า “ปฏิเสธ” โดยเปลี่ยนมาใช้คำว่า “รับทราบ” แทน
ภาพแสดงผลการตอบรับข้อเสนอของรัฐบาลอาเซียนในช่วง Cycle ที่ 3 เนื่องจากประเทศเมียนมาเข้าสู่กระบวนการ UPR ก่อนวันรัฐประหาร (1 กุมภาพันธ์ 2021) จึงทำให้ไม่มีข้อเสนอเกี่ยวกับการรัฐประหารของเมียนม่าในเวที UPR
ในหน้านี้ทางทีมงานพยายามรวบรวมข้อเสนอแนะที่ประเทศอาเซียนประกาศ “ไม่รับ” ข้อเสนอแนะในเวที UPR ในรอบ Cycle ที่ 3 จากข้อมูลตรงนี้จะพอทำให้เราสามารถเข้าใจถึงหลักคิดของรัฐต่อการต่อต้านปฏิเสธแนวคิดด้านสิทธิมนุษยชนในบางประเด็น อย่างไรก็ดีหากดูในภาพรวมรัฐบาลอาเซียนมีแนวคิดและแนวทางเป็นไปในทางอำนาจนิยมมากขึ้น
Tip
อำนาจนิยม = Authoritarianism
โดยสรุปแล้ว
กลไก UPR คือกลไกตรวจสอบสิทธิมนุษยชนในระดับสหประชาชาติ โดยมีลักษณะที่รัฐบาลมีสิทธิตรวจสอบระหว่างกัน (Peer to Peer) แต่อย่างไรก็ดี ภาคประชาชนและประชาชนทั่วไปสามารถมีส่วนร่วมโดยการส่งรายงานสถานการณ์สิทธิฯให้กับยูเอ็น เพื่อให้รัฐบาลต่างๆได้ศึกษาก่อนได้
แม้รัฐบาลจะเป็นตัวแสดงหลักในกระบวนการ UPR มูลนิธิศักยภาพชุมชนอยากขอเชิญชวนให้ประชาชนทุกคนทั้งไทยและอาเซียนมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกลไกนี้ เพื่อให้ทุกคนสามารถเป็นส่วนร่วมของกลไกเพื่อร่วมพัฒนาสิทธิมนุษยชนร่วมกัน
หากคนต้องการติดต่อเพื่อขอความรู้เพิ่มเติม หรือต้องการจัดฝึกอบรมในระดับภาคประชาชน สามารถติดต่อมูลนิธิศักยภาพชุมชนได้ ผ่านทางข้อความของมูลนิธิฯ