การ์ตูนสิทธิมนุษยชน ตอนที่ 5 “ผู้ลี้ภัย”

โดยรายงานของสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ได้ระบุในปี 2022 ว่ามีจำนวนผู้ลี้ภัยโดยประมาณ 32.5 ล้านคนทั่วโลก แต่ทราบหรือไม่ว่าผู้ลี้ภัยเกิดขึ้นได้อย่างไร มีที่มาอย่างไรบ้าง และในบริบทของสากลโลกให้คำนิยามเรื่องผู้ลี้ภัยไว้อย่างไร 

เพียงแค่เหตุการณ์การรัฐประหารสถานการณ์การสู้รบในพม่าตั้งแต่ปี 2021 ส่งผลให้มีผู้ลี้ภัยจำนวนโดยประมาณ 1,330,591 โดยส่วนมากจะลี้ภัยไปยังประเทศเพื่อนบ้านทั้งอินเดีย บังคลาเทศและไทย และในทุกวันนี้จำนวนผู้ลี้ภัยมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้น

การ์ตูนสิทธิมนุษยชนตอนที่ 5 “ผู้ลี้ภัย” 

ผู้ลี้ภัยเป็นหนึ่งประเด็นที่มีหลักจารีตประเพณีสากลระหว่างประเทศรับรองให้สิทธิผู้ลี้ภัยนี้ต้องถูกรับรองตามหลักจารีตสากลแม้ว่าจะไม่มีกฎหมายรองรับในประเทศนั้น  ๆ ก็ตาม ทุกประเทศจะต้องไม่ส่งคนเหล่านี้กลับประเทศ หากนำไปสู่ภัยอันตรายหากส่งผลถึงชีวิตและการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน 

ในทุก ๆ วันนี้ จากสถานการณ์ความไม่สงบทางสงครามในหลายประเทศ เชื่อหรือไม่ว่าพวกเราทุกคนอาจเคยเดินผ่านผู้ลี้ภัยมาแล้วในชีวิตประจำวัน โดยที่ทุกคนอาจจะไม่ได้ตระหนักว่าเค้าเหล่านั้นคือ “ผู้ลี้ภัย” นี่เป็นสิ่งหนึ่งที่เราคงหลีกเลี่ยงไม่ได้ มาร่วมทำความเข้าใจผู้ลี้ภัยเพื่อให้พวกเราสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างเข้าใจเพื่อนมนุษย์กันผ่านการ์ตูนสิทธิมนุษยชนในตอนที่ 5 ผู้ลี้ภัย

“ที่มาของคำว่าผู้ลี้ภัย”

คำว่าผู้ลี้ภัยโดยตามประวัติศาสตร์มาจากภาษาฝรั่งเศสว่า Refugie ในปี 1685 ถูกใช้ครั้งแรกโดยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ส่งผลให้เกิดผู้ลี้ภัยทางการเมืองกลุ่มแรกๆหลังจากการยกเลิกพระราชกฤษฎีกาน็องต์ (The Edict of Nantes) และในช่วงสงครามโลก มีผู้ลี้ภัยจำนวนมากเกิดขึ้นมาจากภัยสงคราม ความขัดแย้งทางการเมืองและชาติพันธุ์ รวมถึงการแย่งชิงทรัพยากร 

“อนุสัญญาผู้ลี้ภัย 1951” และ “พิธีสารเลือกรับ 1967” 

ในบริบทสากลโลกอนุสัญญาผู้ลี้ภัย 1951 ในปัจจุบันได้ถือกลายเป็นหลักจารีตประเพณีสากลที่ทุกประเทศล้วนต้องปฏิบัติตามเพื่อคุ้มครองผู้ลี้ภัยและห้ามส่งกลับหากมีภัยอันตราย ในตอนแรกอนุสัญญาผู้ลี้ภัยถูกออกแบบโดยมีข้อจำกัดเฉพาะบุคคลที่ลี้ภัยตั้งแต่ก่อนวันที่ 1 มกราคม 1951 และถูกจำกัดในโซนยุโรป ต่อมาจึงได้ออกพิธีสารเลือกรับในปี 1967 ในการขยายขอบเขตและยกเลิกข้อจำกัดจากบริบทยุโรปสู่ผู้ลี้ภัยทั่วโลก 

“มองมิติผู้ลี้ภัย ผ่านอาเซียน”

แม้ว่าอนุสัญญาผู้ลี้ภัยจะเป็นอนุสัญญาที่ทั่วโลกต่างให้ความสำคัญและยอมรับเป็นหลักจารีตสากลนั้น แต่ประเทศในอาเซียนนั้นมีเพียงแค่ 2 ประเทศเท่านั้นที่ลงนามได้แก่ ประเทศกัมพูชาและฟิลิปปินส์

ประเทศไทยถึงแม้จะเป็นประเทศที่มีความเกี่ยวข้องกับผู้ลี้ภัยมากที่สุดประเทศหนึ่ง ยกตัวอย่างตั้งแต่เหตุการณ์เขมรแดง สงครามเวียดนามหรือแม้แต่ปัญหาความไม่สงบในพม่า รัฐบาลไทยไม่ว่าในสมัยใดก็ไม่มีเจตนาในการรับรองอนุสัญญาฉบับนี้เลย 

“UNHCR สำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ”
UNHCR United Nations High Commissioner for Refugees หรือสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เป็นองค์กรระดับสากลที่ถูกแต่งตั้งโดยผ่านที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติผ่าน Resolution 319 (IV) เมื่อปี 1949 โดยมีจุดประสงค์เพื่อทำงานช่วยเหลือผู้ลี้ภัยทั่วโลก นอกจาก UNHCR แล้วยังมีองค์กรด้านสิทธิฯ รวมถึงบุคคลทั่วไปมากมายที่ยังคงให้การช่วยเหลือผู้ลี้ภัยตามหลักสิทธิมนุษยชนและหลักมนุษยธรรม

มีคำนิยามที่เกี่ยวข้องผู้ลี้ภัยมากมายทั้ง คนไร้รัฐ (stateless person) คนผลัดถิ่น (internally displaced person / IDP) ผู้แสวงหาผู้ลี้ภัย (Asylum-seeker) ผู้ลี้ภัย (Refugee) การตั้งถิ่นฐานใหม่ (Resettlement) คำนิยามเหล่านี้แม้จะดูมีความหมายใกล้เคียงกันแต่ก็มีความแตกต่างกันในเชิงบริบทพอสมควร หากเรามีการเข้าถึงคำนิยามที่ถูกต้องจะทำให้สามารถเข้าใจถึงบริบทของสถานะที่คนเหล่านี้กำลังเผชิญอยู่ 

ผู้ลี้ภัย คือ บุคคลที่เดินทางลี้ภัยหลบหนีออกจากประเทศบ้านเกิด เนื่องจากภัยประหัตประหาร ภัยสงคราม การถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมถึงปัญหาความขัดแย้งทางเชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา ความเชื่อและความคิดเห็นทางการเมือง 

อนุสัญญาผู้ลี้ภัย 1951 ได้ถือกลายเป็นหลักจารีตประเพณีที่แม้จะไม่ได้ลงนามในอนุสัญญาก็จำเป็นต้องพึงปฏิบัติตาม โดยหลักการพื้นฐานนี้เรียกว่า Non-Refoulment 

ในประเทศอาเซียนมีเพียงแค่สองประเทศที่ลงนามในอนุสัญญานี้คือ ประเทศกัมพูชาและฟิลิปปินส์

Article Indigenous and Ethnicity: “The Never-Defined Systemic Corruption toward the Indigenous Morgan, Morglan, and Uraklawoi People of Southern Thailand”

Indigenous and Ethnicity are a group of people with diverse beliefs and cultures. In Thailand,... read more

บทความ ชนเผ่าพื้นเมืองและชาติพันธุ์: “การฉ้อโกงอย่างเป็นระบบที่ไม่เคยมีการนิยามต่อชาวมอร์แกน มอร์แกลน และอุรัคลาโวย ในภาคใต้ของประเทศไทย”

ชาติพันธุ์คือกลุ่มคนที่มีความเชื่อและวัฒนธรรมที่หลากหลาย ในความเป็นไทยมีหลายชาติพันธุ์อาศัยอยู่ด้วยกันภายใต้ระบบรัฐของไทย ความเป็นชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมืองมีความแตกต่างกันตั้งแต่รูปแบบการใช้ชีวิต ความเชื่อ รวมถึงสิ่งแวดล้อมรอบข้างที่กลายเป็นส่วนสำคัญของความซับซ้อนในความเป็นมนุษย์  อย่างไรก็ดี ชาติไทยและชาติพันธุ์ ยังเป็นสิ่งที่คลุมเครือในเชิงการจัดสรรอำนาจระหว่างกลุ่มคนที่มีความเชื่อหลากหลาย ในบางครั้งก็ส่งผลถึงความขัดแย้งระหว่างอำนาจและวัฒนธรรมซึ่งเป็นสิ่งที่ประเมินได้ยาก ยังมีชาติพันธุ์หลายกลุ่มที่ยังรู้สึกไม่เป็นส่วนหนึ่ง “การถูกกดขี่ เอาเปรียบ และถูกละเลยจากเจ้าหน้าที่” กลายเป็นข้อสรุปของคำนิยามเกี่ยวกับการทุจริตของกลุ่มชาติพันธ์ุที่ให้ไว้ในบทสัมภาษณ์ ผ่านการลงพื้นที่ พูดคุย และได้พบเจอกับชุมชนชาวแลหลายชุมชนในพื้นที่ภาคใต้ของไทย... read more

Article: Refugees: “Bribes to Live: The Myanmar Heros who Became Refugees in Thailand: A Story of Activism, Defiance, Courage, and, Above All, The Resilience to Confront the Corruption that Transcends The Myanmar-Thai Border”

Since the 2021 military coup in Myanmar, many Myanmar refugees have fled the country to... read more

บทความ ผู้ลี้ภัย: “สินบนเพื่อความอยู่รอด: วีรชนชาวเมียรมาร์ที่กลายเป็นผู้ลี้ภัยในประเทศไทย: เรื่องราวของการเคลื่อนไหว การท้าทาย ความกล้าหาญ ความยืดหยุ่นในการรับมือกับการทุจริตข้ามพรมแดน เมียนมาร์-ไทย”

ตั้งแต่เหตุการณ์การรัฐประหารในปี 2021 ในเมียนมาร์ มีผู้ลี้ภัยชาวเมียนมาร์ต้องเดินทางอพยพเพื่อลี้ภัยจากเหตุการณ์ความไม่สงบมายังประเทศไทยเพื่อรักษาชีวิตของตัวเอง มีการคาดการณ์ว่ามีประชากรที่เป็นผู้ผลัดถิ่นในประเทศเกือบ 4 ล้านคน และไม่มีการทราบจำนวนแน่ชัดของผู้หนีภัยมายังประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงประเทศไทย   ในความเป็นจริงเมียนมาร์มีปัญหาทางการเมืองมาอย่างยาวนาน 9 แคมป์ผู้ลี้ภัยมากกว่า 40 ปี มีผลกระทบต่อการก่อร่างระบบทุจริตในไทย ผ่านการเอาเปรียบและขูดรีดผู้หนีภัยเหล่านี้  “การใช้กฎหมายเพื่อการขโมยและขูดรีด”... read more

Article Labour: “The Inequivalence of Power: The Struggle of Thai Labour Against the State and the Business Tycoons’s Systemic Corruption”

We all are laborers in one way or another, as long as work exists and... read more

บทความ แรงงาน: “ความต่างชั้นของดุลอำนาจ: การต่อสู้ของแรงงานไทยซึ่งคัดค้านอำนาจรัฐและการทุจริตเชิงระบบ”

พวกเราทุกคนถือเป็นแรงงานไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ตราบเท่าที่มีการเกิดขึ้นของงานและการหมุนเวียนของระบบเศรษฐกิจ ในประเทศไทยแรงงานไทยมากมายต้องพึ่งพาการอยู่รอดด้วยการทำงานมากกว่าเวลาปกติ หรือการทำงานล่วงเวลา เพื่อให้มีรายได้พอเพียงกับการเอาตัวรอดในแต่ละวัน แรงงานหลายคนต้องทำงานอยู่ในสภาวะที่ยากลำบากและไม่สามารถมีชีวิตที่มีเวลาว่างเพื่อทำกิจกรรมอื่นได้  นอกจากสภาวะที่ยากลำบากแล้ว แรงงานหลายคนมักจะต้องพบเจอกับความไม่ยุติธรรมในระบบจ้างงาน ในหลายเคส แม้ว่าจะมีกฎหมายรับรองสิทธิแรงงาน แรงงานหลายคนก็ยังถูกเอาเปรียบ โดยไม่ได้รับค่าจ่าง ทำงานล่วงเวลา การไม่ได้รับสิทธิการคุ้มครองทางสังคมอื่นๆ แม้จะมีกฎหมายที่ซับซ้อนหลายฉบับ แต่แรงงานก็ยังถูกเอาเปรียบอยู่ “การเอาเปรียบทางชนชั้น”... read more

Article: “Youth Political Activists: From Silence to Protest: The Story of Youth Activists Tackling Corruption”

Thailand has a long history of political movements, which have often revolved around the demands... read more

บทความ เยาวชนนักกิจกรรมทางการเมือง: “จากความเงียบงันสู่การประท้วง: เรื่องราวของนักกิจกรรมหนุ่มสาวที่ต่อสู้กับการทุจริต”

ไทยมีประวัติศาสตร์กับการเคลื่อนไหวทางการเมืองมาอย่างยาวนาน ซึ่งวนเวียนอยู่กับการเรียกร้องของคนหนุ่มสาวในหลายรุ่นและการรัฐประหารทางการเมือง การเรียกร้องในแต่ละยุคสมัยมีความคล้ายคลึงที่มักจะวนเวียนอยู่กับการแก้รัฐธรรมนูญ การเรียกร้องสิทธิเสรีภาพและเปลี่ยนผ่านอำนาจทางการเมือง รวมถึงการรัฐประหาร ในยุคปัจจุบัน การเคลื่อนไหวทางการเมืองยังคงเกิดขึ้นเหมือนในประวัติศาสตร์ เส้นแบ่งระหว่าง “คดีความทางการเมือง” และ “เสรีภาพในการแสดงออก” ยังเป็นสิ่งที่แยกได้ยากตามมุมมองทางสังคมที่หลากหลาย มีนักกิจกรรมที่มากมายโดยคดีความหลังการออกมาเรียกร้องสิทธิเสรีภาพของตน “SLAPP” เป็นคนที่มักถูกใช้พูดถึงในกลุ่มนักกิจกรรม ว่าเป็นการปิดปากการแสดงออกทางการเมืองเพื่อเป็นการรักษาผลประโยชน์บางอย่าง  กลุ่มนักกิจกรรมเยาวชนได้ขยายคำนิยามของการทุจริตออกไปอย่างไรบ้าง... read more