การ์ตูนสิทธิมนุษยชน ตอนที่ 1: กลไก UPR (Universal Periodic Review) คืออะไร? [Thai Version]

กลไก UPR (Universal Periodic Review) คืออะไร?

 ทุกๆ 4-5 ปี ทุกรัฐบาลทั่วโลกจำเป็นจะต้องเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนที่คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพื่อเข้าสู่กระบวนการ UPR ที่เป็นหนึ่งในกลไกการติดตามและตรวจสอบสถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่สำคัญ กลไก UPR มีที่มาอย่างไร? ทำงานอย่างไร? ประชาชนอย่างเรามีส่วนรวมได้อย่างไรมา? มูลนิธิศักยภาพชุมชนขอเชิญทุกคนมาร่วมเรียนรู้ไปด้วยกันผ่านซี่รีย์การ์ตูนสิทธิมนุษยชนตอนที่ 1 “กลไกตรวจสอบสิทธิมนุษยชน UPR”  

Tip

คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ = United Nation Human Rights Council

UPR = Universal Periodic Review

กลไกสิทธิมนุษยชน UPR (Universal Periodic Review) คือกลไก ”ติดตามและตรวจสอบ” สถานการณ์สิทธิมนุษยชนระหว่างรัฐบาลที่เป็นสมาชิกสหประชาชาติทั้งหมด 193 ประเทศ ทุกรัฐบาลจะต้องเป็นผู้ร่วมตรวจสอบและถูกตรวจสอบในทุกๆ 4 ปีครึ่งจากประเทศสมาชิก (peer to peer) การตรวจสอบจะจัดขึ้นที่คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิซเซอร์แลนด์

กลไก UPR ถูกออกแบบอยู่ภายใต้หลักการ “ความเป็นสากล” “ความเป็นธรรมและเท่าเทียม” “ความเป็นรูปธรรม” “ไม่เลือกปฏิบัติ” และ “ความร่วมมือ” โดยมีจุดประสงค์เพื่อทำงานประเด็นสิทธิมนุษยชนอย่างสร้างสรรค์ ไม่ได้มีจุดประสงค์ไว้เพื่อโจมตีรัฐบาล และต้องมีข้อมูลที่เชื่อถือได้ ไม่ใช้เวลานานเกินไป

UPR มีที่มาอย่างไร?

หลังจากการเกิดขึ้นของปฏิญญาสิทธิมนุษยชนในปี 1945 ทางยูเอ็นได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ โดยมีหน้าที่ให้ข้อเสนอแนะแก่ สภาเศรษฐกิจและสังคม (ECOSOC) หลังผ่านมา 60 ปี คณะกรรมการธิการสิทธิฯ ไม่สามารถแก้ไขปัญหาสิทธิมนุษยชนได้ และผู้ละเมิดในหลายครั้งคือรัฐบาล

โคฟี่ อนันต์เลขาธิการยูเอ็นในขณะนั้นได้ออกแถลงการณ์ “In Larger Freedom” ได้วิจารณ์กลไกของยูเอ็นที่ไม่มีประสิทธิภาพและได้เสนอให้มีการตั้งคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และปรับเปลี่ยนโครงสร้างของยูเอ็น ในท้ายที่สุดคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้ถูกรับรองผ่านการลงมติสมัชชาใหญ่สหประชาชาติฉบับที่ 60/251 ในวันที่ 15 มีนาคม 2006

การเกิดขึ้นของสภาสิทธิมนุษยชน ทำให้มีการเกิดขึ้นของกลไกของ UPR ขึ้นมาด้วยภายใต้คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

ประเทศไทยเพิ่งผ่านการทบทวนรอบที่ 3 ไปเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2021

Tip

คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ = Commission on Human Rights
สภาเศรษฐกิจและสังคม =  Economic and Social Council (ECOSOC) มติสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ = General Assembly Resolution

ขั้นตอนการทบทวนสถานการณ์สิทธิ UPR สามารถแบ่งได้เป็น 3 ช่วงสำคัญคือ​

1. ช่วงก่อนการทบทวน UPR
เป็นช่วงที่รายงานทุกฉบับที่มีความเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์สิทธิในประเทศนั้นๆ จะส่งไปให้กับ สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR) รายงานทั้งหมดจะถูกอัพโหลดสู่เว็ปไซต์ OHCHR

ทุกคนสามารถเข้าไปอ่านได้ก่อนถึงวันทบทวนจริง

2. ช่วงการทบทวน UPR
รัฐที่ถูกทบทวนสถานการณ์สิทธิฯ ต้องไปที่กรุงเจนีวาเพื่อเข้ารับฟังข้อเสนอจากรัฐบาลประเทศอื่นๆ เพื่อนำไปพิจารณาสถานการณ์สิทธิ และจำเป็นจะต้องให้คำตอบกับข้อเสนอ ว่าจะรับหรือไม่รับข้อเสนอเหล่านั้นมาปฏิบัติในประเทศ

3. ช่วงการนำไปปฏิบัติ
รัฐบาลที่ถูกทบทวนจะต้องนำข้อเสนอเหล่านั้นไปปฏิบัติ พัฒนาและแก้ไขภายในประเทศเช่นการออกนโยบาย ออกกฎหมายคุ้มครอง โดยยูเอ็น ภาคประชาสังคม และองค์กรอื่นๆสามารถทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล และรัฐบาลจำเป็นต้องกลับมาเวทีทบทวนอีกครั้งในเวลา 4 ปีครึ่ง

ใครสามารถส่งรายงานได้บ้าง? แบ่งได้เป็นกี่กลุ่ม

การส่งรายงานสามารถแบ่งได้เป็น 3 รูปของรายงาน

1. รายงานรัฐบาล
รัฐบาลทุกรัฐบาลจำเป็นจะต้องต้องรายงาน UPR

2. รายงานขององค์กรยูเอ็น
องค์กรยูเอ็นในหลายๆหน่วยงานสามารถส่งรายงานได้

3. รายงานของภาคประชาชน 

องค์กรภาคประชาชนทั้งหมดสามารถส่งรายงาน เพื่อให้หลายๆประเทศสามารถเข้ามาอ่านรายงานและนำไปเป็นข้อเสนอแนะให้แก่รัฐบาลได้

Tip
สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ = The United Nations High Commissioner for Human Rights (OHCHR)  

การทำงาน UPR จะแบ่งเป็นรอบ Cycle และ session

ในทุกๆรอบ Cycle จะใช้เวลาประมาณ 4 ปีครึ่ง เพื่อทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนทุกประเทศทั่วโลก

ใน 1 cycle จะแบ่ง รอบการทบทวนเป็นรอบเล็กๆเรียกว่า “Session” ประมาณ 12-13 session ต่อ 1 Cycle
โดยใน 1 session จะมีการทบทวนประมาณ 14-16 ประเทศ

ประธานและคณะทำงานจะถูกเปลี่ยนทุกๆ session

***ปัจจุบัน UPR อยู่ในรอบการทำงานของ Cycle ที่ 4 ประเทศไทยจะเข้าสู่กระบวนการทบทวนใน session ที่ 53 ช่วงประมาณเดือน ตุลาคม-พฤศจิกายน 2026  

โดยระหว่างการกระบวนการ UPR รัฐบาลสามารถตอบรับข้อเสนอได้ 3 รูปแบบ

1. ตอบรับข้อเสนอ (Accept) คือการให้คำมั่นสัญญานว่าจะไปปฏิบัติ

2. ชี้แจงรับทราบ (Note) เพื่อชี้แจงรับทราบข้อเสนอแนะ (ไม่ทั้งปฏิเสธและตอบรับ)

3. ปฏิเสธ (Reject) ปฏิเสธอข้อเสนอ

อย่างไรก็ดีรัฐบาลสามารถให้คำมั่นสัญญาเพิ่มเติมได้ แม้ไม่มีข้อเสนอมาจากรัฐบาลอื่น เรียกว่า “การให้คำมั่นสัญญาโดยสมัครใจ”

นอกจากนี้รัฐบาลยังสามารถส่งรายงานกลางปีได้ โดยสมัครใจเพื่อรายงานผลการทำงานของรัฐบาลในช่วงระหว่างรอบการทบทวน UPR

Tip
การให้คำมั่นสัญญาโดยสมัครใจ = Volunteer Pledges
รายงานฉบับกลาง = Mid-Term Report

ในภาพนี้พยายามแสดงให้เห็นถึงภาพรวมที่เกิดขึ้นของรัฐบาลอาเซียนในช่วง Cycle ที่ 1 และสามารถเห็นการตอบรับข้อเสนอของรัฐบาลอาเซียน ว่าแต่ละรัฐบาลรับไปกี่ข้อเสนอและปฏิเสธไปกี่ข้อเสนอ

ภาพข้างบนนี้ คือภาพแสดงผลการตอบรับข้อเสนอของรัฐบาลอาเซียนในช่วง Cycle ที่ 2 ในช่วงนี้เป็นช่วงรัฐบาลหลายรัฐบาลเลือกเลี่ยงที่จะใช้คำว่า “ปฏิเสธ” โดยเปลี่ยนมาใช้คำว่า “รับทราบ” แทน

ภาพแสดงผลการตอบรับข้อเสนอของรัฐบาลอาเซียนในช่วง Cycle ที่ 3  เนื่องจากประเทศเมียนมาเข้าสู่กระบวนการ UPR ก่อนวันรัฐประหาร (1 กุมภาพันธ์ 2021) จึงทำให้ไม่มีข้อเสนอเกี่ยวกับการรัฐประหารของเมียนม่าในเวที UPR

ในหน้านี้ทางทีมงานพยายามรวบรวมข้อเสนอแนะที่ประเทศอาเซียนประกาศ “ไม่รับ” ข้อเสนอแนะในเวที UPR ในรอบ Cycle ที่ 3 จากข้อมูลตรงนี้จะพอทำให้เราสามารถเข้าใจถึงหลักคิดของรัฐต่อการต่อต้านปฏิเสธแนวคิดด้านสิทธิมนุษยชนในบางประเด็น อย่างไรก็ดีหากดูในภาพรวมรัฐบาลอาเซียนมีแนวคิดและแนวทางเป็นไปในทางอำนาจนิยมมากขึ้น

Tip
อำนาจนิยม = Authoritarianism

โดยสรุปแล้ว

กลไก UPR คือกลไกตรวจสอบสิทธิมนุษยชนในระดับสหประชาชาติ โดยมีลักษณะที่รัฐบาลมีสิทธิตรวจสอบระหว่างกัน (Peer to Peer) แต่อย่างไรก็ดี ภาคประชาชนและประชาชนทั่วไปสามารถมีส่วนร่วมโดยการส่งรายงานสถานการณ์สิทธิฯให้กับยูเอ็น เพื่อให้รัฐบาลต่างๆได้ศึกษาก่อนได้

แม้รัฐบาลจะเป็นตัวแสดงหลักในกระบวนการ UPR มูลนิธิศักยภาพชุมชนอยากขอเชิญชวนให้ประชาชนทุกคนทั้งไทยและอาเซียนมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกลไกนี้ เพื่อให้ทุกคนสามารถเป็นส่วนร่วมของกลไกเพื่อร่วมพัฒนาสิทธิมนุษยชนร่วมกัน

หากคนต้องการติดต่อเพื่อขอความรู้เพิ่มเติม หรือต้องการจัดฝึกอบรมในระดับภาคประชาชน สามารถติดต่อมูลนิธิศักยภาพชุมชนได้ ผ่านทางข้อความของมูลนิธิฯ  

Article Indigenous and Ethnicity: “The Never-Defined Systemic Corruption toward the Indigenous Morgan, Morglan, and Uraklawoi People of Southern Thailand”

Indigenous and Ethnicity are a group of people with diverse beliefs and cultures. In Thailand,... read more

บทความ ชนเผ่าพื้นเมืองและชาติพันธุ์: “การฉ้อโกงอย่างเป็นระบบที่ไม่เคยมีการนิยามต่อชาวมอร์แกน มอร์แกลน และอุรัคลาโวย ในภาคใต้ของประเทศไทย”

ชาติพันธุ์คือกลุ่มคนที่มีความเชื่อและวัฒนธรรมที่หลากหลาย ในความเป็นไทยมีหลายชาติพันธุ์อาศัยอยู่ด้วยกันภายใต้ระบบรัฐของไทย ความเป็นชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมืองมีความแตกต่างกันตั้งแต่รูปแบบการใช้ชีวิต ความเชื่อ รวมถึงสิ่งแวดล้อมรอบข้างที่กลายเป็นส่วนสำคัญของความซับซ้อนในความเป็นมนุษย์  อย่างไรก็ดี ชาติไทยและชาติพันธุ์ ยังเป็นสิ่งที่คลุมเครือในเชิงการจัดสรรอำนาจระหว่างกลุ่มคนที่มีความเชื่อหลากหลาย ในบางครั้งก็ส่งผลถึงความขัดแย้งระหว่างอำนาจและวัฒนธรรมซึ่งเป็นสิ่งที่ประเมินได้ยาก ยังมีชาติพันธุ์หลายกลุ่มที่ยังรู้สึกไม่เป็นส่วนหนึ่ง “การถูกกดขี่ เอาเปรียบ และถูกละเลยจากเจ้าหน้าที่” กลายเป็นข้อสรุปของคำนิยามเกี่ยวกับการทุจริตของกลุ่มชาติพันธ์ุที่ให้ไว้ในบทสัมภาษณ์ ผ่านการลงพื้นที่ พูดคุย และได้พบเจอกับชุมชนชาวแลหลายชุมชนในพื้นที่ภาคใต้ของไทย... read more

Article: Refugees: “Bribes to Live: The Myanmar Heros who Became Refugees in Thailand: A Story of Activism, Defiance, Courage, and, Above All, The Resilience to Confront the Corruption that Transcends The Myanmar-Thai Border”

Since the 2021 military coup in Myanmar, many Myanmar refugees have fled the country to... read more

บทความ ผู้ลี้ภัย: “สินบนเพื่อความอยู่รอด: วีรชนชาวเมียรมาร์ที่กลายเป็นผู้ลี้ภัยในประเทศไทย: เรื่องราวของการเคลื่อนไหว การท้าทาย ความกล้าหาญ ความยืดหยุ่นในการรับมือกับการทุจริตข้ามพรมแดน เมียนมาร์-ไทย”

ตั้งแต่เหตุการณ์การรัฐประหารในปี 2021 ในเมียนมาร์ มีผู้ลี้ภัยชาวเมียนมาร์ต้องเดินทางอพยพเพื่อลี้ภัยจากเหตุการณ์ความไม่สงบมายังประเทศไทยเพื่อรักษาชีวิตของตัวเอง มีการคาดการณ์ว่ามีประชากรที่เป็นผู้ผลัดถิ่นในประเทศเกือบ 4 ล้านคน และไม่มีการทราบจำนวนแน่ชัดของผู้หนีภัยมายังประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงประเทศไทย   ในความเป็นจริงเมียนมาร์มีปัญหาทางการเมืองมาอย่างยาวนาน 9 แคมป์ผู้ลี้ภัยมากกว่า 40 ปี มีผลกระทบต่อการก่อร่างระบบทุจริตในไทย ผ่านการเอาเปรียบและขูดรีดผู้หนีภัยเหล่านี้  “การใช้กฎหมายเพื่อการขโมยและขูดรีด”... read more

Article Labour: “The Inequivalence of Power: The Struggle of Thai Labour Against the State and the Business Tycoons’s Systemic Corruption”

We all are laborers in one way or another, as long as work exists and... read more

บทความ แรงงาน: “ความต่างชั้นของดุลอำนาจ: การต่อสู้ของแรงงานไทยซึ่งคัดค้านอำนาจรัฐและการทุจริตเชิงระบบ”

พวกเราทุกคนถือเป็นแรงงานไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ตราบเท่าที่มีการเกิดขึ้นของงานและการหมุนเวียนของระบบเศรษฐกิจ ในประเทศไทยแรงงานไทยมากมายต้องพึ่งพาการอยู่รอดด้วยการทำงานมากกว่าเวลาปกติ หรือการทำงานล่วงเวลา เพื่อให้มีรายได้พอเพียงกับการเอาตัวรอดในแต่ละวัน แรงงานหลายคนต้องทำงานอยู่ในสภาวะที่ยากลำบากและไม่สามารถมีชีวิตที่มีเวลาว่างเพื่อทำกิจกรรมอื่นได้  นอกจากสภาวะที่ยากลำบากแล้ว แรงงานหลายคนมักจะต้องพบเจอกับความไม่ยุติธรรมในระบบจ้างงาน ในหลายเคส แม้ว่าจะมีกฎหมายรับรองสิทธิแรงงาน แรงงานหลายคนก็ยังถูกเอาเปรียบ โดยไม่ได้รับค่าจ่าง ทำงานล่วงเวลา การไม่ได้รับสิทธิการคุ้มครองทางสังคมอื่นๆ แม้จะมีกฎหมายที่ซับซ้อนหลายฉบับ แต่แรงงานก็ยังถูกเอาเปรียบอยู่ “การเอาเปรียบทางชนชั้น”... read more

Article: “Youth Political Activists: From Silence to Protest: The Story of Youth Activists Tackling Corruption”

Thailand has a long history of political movements, which have often revolved around the demands... read more

บทความ เยาวชนนักกิจกรรมทางการเมือง: “จากความเงียบงันสู่การประท้วง: เรื่องราวของนักกิจกรรมหนุ่มสาวที่ต่อสู้กับการทุจริต”

ไทยมีประวัติศาสตร์กับการเคลื่อนไหวทางการเมืองมาอย่างยาวนาน ซึ่งวนเวียนอยู่กับการเรียกร้องของคนหนุ่มสาวในหลายรุ่นและการรัฐประหารทางการเมือง การเรียกร้องในแต่ละยุคสมัยมีความคล้ายคลึงที่มักจะวนเวียนอยู่กับการแก้รัฐธรรมนูญ การเรียกร้องสิทธิเสรีภาพและเปลี่ยนผ่านอำนาจทางการเมือง รวมถึงการรัฐประหาร ในยุคปัจจุบัน การเคลื่อนไหวทางการเมืองยังคงเกิดขึ้นเหมือนในประวัติศาสตร์ เส้นแบ่งระหว่าง “คดีความทางการเมือง” และ “เสรีภาพในการแสดงออก” ยังเป็นสิ่งที่แยกได้ยากตามมุมมองทางสังคมที่หลากหลาย มีนักกิจกรรมที่มากมายโดยคดีความหลังการออกมาเรียกร้องสิทธิเสรีภาพของตน “SLAPP” เป็นคนที่มักถูกใช้พูดถึงในกลุ่มนักกิจกรรม ว่าเป็นการปิดปากการแสดงออกทางการเมืองเพื่อเป็นการรักษาผลประโยชน์บางอย่าง  กลุ่มนักกิจกรรมเยาวชนได้ขยายคำนิยามของการทุจริตออกไปอย่างไรบ้าง... read more