การ์ตูนสิทธิมนุษยชน ตอนที่ 2: อนุสัญญาสิทธิมนุษยชน

การ์ตูนซีรีย์สิทธิมนุษยชน ตอนที่ 2 “อนุสัญญาสิทธิมนุษยชน”

ทั่วโลกนี้มีอนุสัญญาระหว่างประเทศอยู่เต็มไปหมด มีใครพอทราบมั้ยว่ามีอนุสัญญาที่มีประเด็นเฉพาะเจาะจงในเรื่องสิทธิมนุษยชนทั้งหมดกี่ฉบับ รัฐบาลและพวกเราจะมีส่วนร่วมกับอนุสัญญาสิทธิเหล่านี้ได้อย่างไรบ้าง? มูลนิธิศักยภาพชุมชนขอเชิญทุกคนมาศึกษาพร้อมกันกับพวกเราผ่านการ์ตูนซีรีย์สิทธิมนุษยชนตอนที่ 2 อนุสัญญาสิทธิมนุษยชน

Tip
อนุสัญญาสิทธิมนุษยชน = International Human Rights Treaty Bodies

อนุสัญญาคืออะไร?

อนุสัญญาคือข้อตกลง สัญญาหรือเอกสารที่มีการลงนามมีลักษณะเป็นทางการระหว่างประเทศ ซึ่งมีข้อ “ผูกมัด” ที่รัฐบาลแต่ละประเทศจะต้องนำไปปฏิบัติ

ลักษณะของอนุสัญญาในภาพกว้างๆจะสามารถแบ่งได้หลักๆเป็นสองช่วงใหญ่คือ

ช่วงแรกก่อนการเกิดสหประชาชาติหรือ UN: ซึ่งอนุสัญญาในช่วงนี้ส่วนใหญ่จะมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับสงคราม อาณานิคม การครอบครองดินแดน การเอาเปรียบอำนาจทางการเมืองและทรัพยากร

ภายหลังการเกิดขึ้นของ UN แล้ว อนุสัญญาหลายฉบับมีทิศทางในการนำไปสู่การสร้างสันติภาพตามหลักการของกฎบัตรสหประชาชาติ (UN Charter)

ปัจจุบันเรามีอนุสัญญาสิทธิมนุษยชนแล้วกี่ฉบับ?

คำตอบ “9 ฉบับ” แต่อย่างไรก็ดี อนุสัญญาสิทธิมนุษยชนบางฉบับยังมีเอกสารเพิ่มเติมเรียกว่า “พิธีสารเลือกรับ” เป็นเนื้อหาเพิ่มเติมจากอนุสัญญาแต่ละฉบับ

ยกตัวอย่างเช่น อนุสัญญาสัญญาสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองที่เริ่มต้นมีอนุสัญญาในปี 1976 แต่มาพร้อมทั้งพิธีสารเลือกรับฉบับที่หนึ่งคือ การอนุญาตให้พลเมืองสามารถยื่นเรื่องโดยตรงไปที่คณะกรรมการอนุสัญญาได้ หากมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยรัฐ (ประเทศไทยไม่ได้ลงนาม) ต่อมาก็มีพิธีสารเลือกรับฉบับที่สอง มีเนื้อหาเกี่ยวกับการยกเลิกโทษประหาร (ประเทศไทยไม่ได้ลงนาม) ฉะนั้นอนุสัญญาเกี่ยวกับสิทธิพลเมืองมีทั้งหมด 3 ฉบับด้วยกัน
1. กติการะหว่างประเทศสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง 1976 (ไทยลงนาม)

2. พิธีสารเลือกรับฉบับที่หนึ่ง กติการะหว่างประเทศสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง 1976 (การยื่นเรื่องร้องเรียนตรงไปที่คณะกรรมการอนุสัญญา) (ไทยไม่ได้ลงนาม)

3. พิธีสารเลือกรับฉบับที่สอง กติการะหว่างประเทศสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง 1991 (การยกเลิกโทษประหาร) (ไทยไม่ได้ลงนาม)
*** ปีที่ถูกบังคับใช้

Tip
อนุสัญญาขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ = International Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination (CERD)
กติการะหว่างประเทศสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง = International Covenant on Civil and Political Rights (ICCPR)
กติการะหว่างประเทศสิทธิทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม = International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights (ICESCR)
อนุสัญญาสิทธิผู้หญิง = Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination against Women (CEDAW)
อนุสัญญาต่อต้านการซ้อมทรมาน = Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment (CAT)
อนุสัญญาสิทธิเด็ก = Convention on the Rights of the Child (CRC)
อนุสัญญาสิทธิแรงงานข้ามชาติและครอบครัว = International Convention on the Protection of the Rights of All Migrant Workers and Members of their Families (ICPRW)
อนุสัญญาสิทธิผู้พิการ = Convention on the Rights of Persons with Disabilities (CRPD)
อนุสัญญาคุ้มครองบุคคลสูญหาย = International Convention for the Protection of all Persons from Enforced Disappearance (ICPRED)

กระบวนการติดตามและตรวจสอบจะมีกระบวนการคล้ายๆกัน แต่ไม่เหมือนกันทั้งหมด คือ

1. ขั้นตอนการเตรียมรายงาน
2. เตรียมเข้าสู่กระบวนการทบทวน
3. การพิจารณารายงาน
4. สรุปข้อเสนอแนะ (Concluding Observation)
5. การนำข้อเสนอแนะไปปฏิบัติ

โดยภาคประชาชนสามารถส่งรายงานคู่ขนาน (Shawdow Report) ให้กับคณะกรรมการอนุสัญญาได้ และคณะกรรมการอนุสัญญาสามารถนำข้อกังวลของภาคประชาชนไปสอบถามรัฐบาลได้ระหว่างพิจารณารายงาน

ตารางการเปรียบเทียบข้อเหมือนและข้อแตกต่างของอนุสัญญาทั้ง 9 ฉบับ

ตารางการลงนามอนุสัญญาของรัฐบาลอาเซียน (ข้อมูลสิ้นปี 2021)

ลักษณะการลงนามอนุสัญญามี 3 ลักษณะ
1. ลงนาม คือการลงชื่อแสดงเจตจำนงที่จะเป็นภาคีอนุสัญญา และขอเวลากลับไปทบทวนกฎหมายและเงื่อนไขภายในประเทศก่อนที่จะให้สัตยาบัน
2. การให้สัตยาบัน คือการเป็นภาคีกับอนุสัญญา และจำเป็นต้องเข้าสู่กระบวนตรวจสอบของคณะกรรมการอนุสัญญา
3. ภาคยานุวัติ การข้ามไปสู่การให้สัตยาบันเลยโดยผ่านกระบวนการไม่ลงนาม

นอกเหนือจากการทบทวนแล้ว คณะกรรมการอนุสัญญายังสามารถออก “ข้อเสนอแนะทั่วไป” (General Comments) ให้กับประเทศภาคีอนุสัญญาทั้งหมด เพื่อให้นำไปปฏิบัติในประเทศและเป็นข้อเสนอที่ทำให้ประเทศภาคีบรรลุวัตถุประสงค์ของอนุสัญญา

โดยสรุป อนุสัญญาสิทธิมนุษยชนเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศ มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาสิทธิมนุษยชนในประเด็นเฉพาะของแต่ละอนุสัญญา และมีกลไกการตรวจสอบโดยคณะกรรมการอนุสัญญา เมื่อรัฐบาลลงนามอนุสัญญาก็จะมีข้อผูกมัดกับอนุสัญญาและต้องเข้าสู่กลไกการติดตามและตรวจสอบ

ปัจจุบันมีอนุสัญญาสิทธิฯหลักๆอยู่ 9 ฉบับ และภาคประชาชนสามารถส่งรายงานคู่ขนานให้กับคณะอนุสัญญาได้

มูลนิธิศักยภาพชุมชนขอเชิญทุกคนที่สนใจร่วมส่งรายงานให้กับคณะกรรมการอนุสัญญาได้ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของกลไกในการพัฒนาสิทธิมนุษยชนได้

หากคนต้องการติดต่อเพื่อขอความรู้เพิ่มเติม หรือต้องการจัดฝึกอบรมในระดับภาคประชาชน สามารถติดต่อมูลนิธิศักยภาพชุมชนได้ ผ่านทางข้อความของมูลนิธิฯ  

RELATED POSTS

Fight to Decriminalization on Sex Work in Thailand & the Systemic Corruption

“We are not wrong. It is the law that is... read more

Fact-Finding Humanitarian Report

"1,000 - 3,000 is the number of people who have... read more

Open Joint Statement of Condemnation against Min Aung Hlaing’s Act of Using Aung San Suu Kyi as Human Shield from Attacks by Ethnic Military Forces (Thai language inside)

25 Organizations and 44 Individuals signed joint-statement of Condemnation against... read more

ใครคอร์รัปมากกว่ากัน?

ใครคอร์รัปมากกว่ากัน? คำถามนี้คงเป็นคำถามที่ตอบได้ยาก เพราะปัญหาคอร์รัปชั่นนั้นอยู่คู่กับสังคมไทยมาโดยตลอด ทุกสถาบันในสังคมไทยล้วนมีประวัติที่เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชั่นทั้งนั้น แต่การคอร์รัปชั่นจะส่งผลเลวร้ายที่สุดเมื่อผู้มีอำนาจสูงสุดของรัฐเป็นผู้ทำการคอร์รัป คำถามต่อมาที่สำคัญก็คือรัฐบาลประเภทไหนที่คอร์รัปมากกว่ากัน ในบทความนี้จะเป็นผลสรุปของการศึกษาการคอร์รัปชั่นของรัฐบาลโดยเปรียบเทียบผลลัพธ์ระหว่างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งและรัฐบาลเผด็จการที่ได้อำนาจมาจากการรัฐประหาร “การเสียชีวิตของจอมพล สู่การเปิดเผยคอร์รัปชั่น” การเสียชีวิตของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชในปี 1963 ได้นำไปสู่การเปิดเผยทรัพย์สินที่ถูกถือครองอยู่จำนวน... read more

การ์ตูนสิทธิมนุษยชน ตอนที่ 4 “คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน”

การ์ตูนสิทธิมนุษยชน ตอนที่ 4 “คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน” หลายคนอาจจะเคยได้ยินคำว่า “กสม” หรือคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนบ้าง แต่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ถึงหลักการพื้นฐานและที่มาของ กสม และเหตุผลของการตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนในประเทศ โดยคำนิยามของ GANHRI... read more

Recommendations from “Closed Door Workshop on Advancing the Thai-Foreign Policy on Ethnic Groups Along the Thai-Myanmar Border”

Recommendations from “Closed Door Workshop on Advancing the Thai-Foreign Policy... read more

Human Rights Cartoon, Chapter 3 “AICHR, Inter-ASEAN Commission on Human Rights”

Get to know AICHR (ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights),... read more

รากเหง้าปัญหาคอร์รัปชั่นของประเทศไทย

ปัญหาคอร์รัปชั่นเป็นปัญหาที่มักจะได้ยินมาโดยตลอดคู่ขนานกับบริบทการเมืองของไทยทุกยุคทุกสมัย ไม่ว่าในรัฐสภา ตามสื่อ หรือในหลายครั้งนั้นปัญหาคอร์รัปชั่นมักถูกอ้างให้นำไปสู่การรัฐประหารหรือยึดอำนาจ ก็ยังเป็นเรื่องยากที่จะทำความเข้าใจปัญหาบริบทคอร์รัปชั่น การเข้าใจปัญหาคอร์รัปชั่นของไทย จึงจำเป็นจะต้องย้อนไปเข้าใจถึงประวัติศาสตร์ที่มาของรากเหง้าทางวัฒนธรรมของไทย โดยผลการศึกษาหลายฉบับได้อธิบายว่าปรากฏการณ์คอร์รัปชั่นของประเทศไทยแท้จริงแล้วเกิดมาจากรากเหง้าของระบบอุปภัมภ์ ในช่วงของระบอบศักดินา (Feudal System)... read more